สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
กิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดสู่ความเลิศด้านหมากรุกไทย
โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก สำนักงานเขตบางกอกน้อย จึงได้พัฒนาทักษะการคิดสู่ความเลิศด้านหมากรุกไทยในการพัฒนาเสริมสร้างคุณลักษณะผู้เรียนให้มีทักษะความสามารถด้านการคิดกับจิตนาการแบบมีแบบแผน โดยมุ่งเน้นที่ประโยชน์ต่อผู้เรียนตามหลักการดังกล่าวและเป็นผลประโยชน์ต่อการเรียนรู้ยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการด้านทักษะการคิดเชื่อมโยงกับจินตนาการอย่างมีแบบแผน เพื่อเสริมทักษะทำงานเป็นทีม ใช้ทักษะการสื่อสารที่ดีในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เพื่อพัฒนาทักษะทางการแสดงออกในการเล่นกีฬาหมากรุกไทย เพื่อสร้างมีประสบการณ์ตรงต่อการแข่งขันหมากรุกไทยในเวทีต่างๆ สู่ความเป็นเลิศ เพื่อให้นักเรียนมีความพึงพอใจและมีเจตคติที่ต่อกีฬาหมากรุกไทยที่เป็นกีฬาพื้นบ้านไทย  มีเป้าหมายให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ๑- ๖  มีความรู้ด้านหมากรุกไทยสมารถเล่นได้ นักเรียนมีทักษะการคิดเชื่อมโยงกับจินตนาการอย่างมีแบบแผน ทำงานเป็นทีม ใช้ทักษะการสื่อสารที่ดีในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น กล้าแสดงออกในการเล่นกีฬาหมากรุกไทย มีความมุ่งมั่น สู่ความเป็นเลิศหมากรุกไทยในเวทีต่างๆ และมีความพึงพอใจและมีเจตคติที่ต่อกีฬาพื้นบ้านไทย  มีวิธีการดำเนินงานดังนี้

           1 ดำเนินการขอนำเสนอขอจัดตั้งชมรมหมากรุกไทยและศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อสร้างโอกาสในเวลาว่างของผู้เรียนได้มีเวลาในการเข้าชมรม พัฒนาความรู้ความสามารถ พร้อมนำเสนอให้มีชั่วโมงการเรียนในชั่วโมงลดเวลาเรียนหรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติม

           2 ดำเนินการจัดแผนการดำเนินงานเพื่อนำเสนอแผนการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและที่ประชุมของโรงเรียน โดยนำเสนอปฏิทินการดำเนินกิจกรรมพร้อมแผนการปฏิบัติกิจกรรมในระยะต่างๆ ของการดำเนินงานแก่ที่ประชุม เพื่อขออนุมัติกิจกรรมของชมรม และขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อฝ่ายบริหาร

           3 ดำเนินกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดสู่ความเลิศด้านหมากรุกไทย โดยดำเนินการแบ่งการดำเนินกิจกรรมสำรวจความสามารถนักเรียนของช่วงชั้น แบ่งนักเรียน เป็น 2 ช่วงชั้น ได้แก่ ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 แบ่งกิจกรรมเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาพื้นฐาน  ระยะที่ 2 การพัฒนาทักษะระบบการคิดและการวางแผน ดำเนินการระยะที่ 1 สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ขาดพื้นฐานหรือไม่สามารถเล่นหมากรุกไทยได้ พร้อมกับดำเนินการระยะที่ 2 สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่มีพื้นฐานและสามารถเล่นหมากรุกไทยได้ จัดการแข่งขันเพื่อสร้างแจงจูงใจในฝึกฝนและพัฒนาด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น การออกแข่งขันเพื่อเพิ่มพูนทักษะความสามารถสู่ความเป็นเลิศ ติดตามและประเมินผลแต่ละกิจกรรมพร้อมสรุปกิจกรรมพร้อมเสนอแนะแต่ละกิจกรรมเป็นระยะ

           4 ประเมินกิจกรรมโดยร่วม ประเมินจากการจัดกิจกรรมทั้งกิจกรรม ระยะที่ 1 การพัฒนาพื้นฐาน และกิจกรรม ระยะที่ 2 การพัฒนาทักษะระบบการคิดและการวางแผน และผลลัพธ์ของการพัฒนาการการออกแข่งขันในเวทีต่างๆ

           5 สรุปและรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรมต่อผู้บริหาร โดยรายผลลัพธ์การพัฒนาและผลการดำเนินกิจกรรมตรงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์หรือไม่เพื่อข้อสังเกตและแนะนำเพื่อการพัฒนาในครั้งต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ๑- ๖  มีความรู้ด้านหมากรุกไทยสมารถเล่นได้นักเรียน มีความสามารถเล่นกีฬาหมากรุกไทย ร้อย 70 ของนักเรียนทั้งหมดจากการทดสอบภาคปฏิบัติแสดงออกวิธีการการเล่นอย่างถูกต้อง มีทักษะการคิดเชื่อมโยงกับจินตนาการอย่างมีแบบแผน ทำงานเป็นทีม ใช้ทักษะการสื่อสารที่ดีในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น กล้าแสดงออกในการเล่นกีฬาหมากรุกไทย โดยสังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันรายการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นักเรียนก้าวสู่ความเป็นเลิศหมากรุกไทยในเวทีระดับท้องถิ่น ซึ่งมีผลงานปรากฏ 1 ใน 10 อันดับ ของระดับท้องถิ่น อีกทั้งได้รับเหรียญทอง จากการแข่งขันกีฬานักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร นักเรียนมีความพึงพอใจและมีเจตคติที่ต่อกีฬาหมากรุกไทยซึ่งเป็นกีฬาพื้นบ้านของไทย ร้อยละ 80


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]