สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)
โรงเรียนคลองรางจาก
กระบวนการพัฒนา

 ขั้นเตรียมการ

                    ๑ สำรวจสถานที่ภายในโรงเรียนเพื่อดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ 

                    ๒ ประชุมคณะครู เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน

                    ๓ นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

 ขั้นตอนการดำเนินงาน

                    ๑ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะ

                    ๒ ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ เพื่อร่วมกันวางแผน และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ

                    ๓ จัดเตรียมเอกสาร วัสดุที่จำเป็นต้องใช้

                    ๔ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ

                    ๕ ดำเนินการตามแผนงานที่กำหนด ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้

  • กิจกรรมการให้ความรู้การส่งเสริมการแยกขยะ การลดปริมาณขยะด้วยวิธี ๓Rs
  • กิจกรรม “นำฉันกลับไปใช้ใหม่ได้นะ Reuse is so good  
  • กิจกรรมเศษแบ่งปัน
  • กิจกรรม “คืนชีพให้ขยะ” 
  • กิจกรรม “ขยะแลกแต้ม”

                ขั้นสรุปและรายงาน

                    จัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรม

                     สรุปผลการดำเนินงาน/รายงานผลการดำเนินการ

Plan วางแผน

๑) ประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงรายละเอียดและเกณฑ์การดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ

๒) ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับบุคลากรและนักเรียนโรงเรียนคลองรางจาก ได้รับทราบ เพื่อกำหนดกิจกรรมตามความสนใจของนักเรียน ครูและบุคลากรภายในโรงเรียน

๓) คณะกรรมการนำเสนอโครงการโรงเรียนปลอดขยะและกำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ

๔) เสนอโครงการต่อผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อขออนุมัติโครงการโรงเรียนปลอดขยะ

๕) แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ

๖) กำหนดแผนงานและปฏิทินการปฏิบัติงาน

Do ดำเนินกิจกรรม

๑) ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนด

๒) วิเคราะห์และประเมินผลโครงการ

๓) สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินโครงการ

๔) แก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะและพัฒนาต่อยอดการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน

5) วิเคราะห์และประเมินผลโครงการ

Check สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินโครงการเมื่อสิ้นสุดโครงการ   

Action นำผลการประเมินไปพัฒนา



ผลจากการปฏิบัติ
    โรงเรียนได้ดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โดยมีกิจกรรมรองรับโครงการ 5 กิจกรรม นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีการดำเนินการเกี่ยวกับขยะทั้งในและนอกโรงเรียนตลอดจนครัวเรือน ตามมาตรฐานหลัก 3Rs มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการแยกขยะ อย่างถูกวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ทำให้เกิดปริมาณขยะเพิ่ม  เช่น กินอาหารให้หมดไม่เหลือเศษ เป็นการลดการเกิดขยะอินทรีย์  ในส่วนนี้ทางโรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรมคืนชีพให้ขยะ กิจกรรมมาทิ้งกับเรา แลกรางวัลไป กิจกรรมดังกล่าวช่วยส่งเสริมการรู้จักคุณค่าของขยะ สามารถคัดแยกขยะเพื่อจำหน่ายหรือนำมาประดิษฐ์เป็นชิ้นงาน หรือสื่อในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดสามารถลดปริมาณขยะในโรงเรียนได้ ทำให้บริเวณโรงเรียนสะอาดเรียบร้อยมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมยั่งยืน โรงเรียนมีผลผลิตจากการทำกิจกรรม ได้แก่ น้ำหมักชีวภาพที่ใช้ในการเกษตร  สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากการนำขยะมารีไซเคิล  การรู้จักคุณค่าของสิ่งของในการนำกลับมาใช้ใหม่ และ คุณค่าของขยะที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน การทำกิจกรรมดังกล่าวนำไปสู่ความยั่งยืนและต่อเนื่องของการดำเนินงานโรงเรียนปลอดขยะ ซึ่งทางโรงเรียนได้รับรางวัลดีมากระดับประเทศ จากทางหน่วยงาน