สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
กระบวนการพัฒนา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น (โรลสลัดมัดใจ)  มีแนวทางการดำเนินการดังต่อไปนี้

1. วางแผน (Plan) ประกอบด้วย

    1.1 ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT)  เป็นการวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนดังนี้

        1.1.1 มีแหล่งการเรียนรู้ใกล้โรงเรียน กล่าวคือ โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับชุมชน ทั้งสถานที่และบุคคลในชุมชนสามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้

        1.1.2.ผู้ปกครองและชุมชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ กล่าวคือ มีการเชิญวิทยากรซึ่งเป็นบุคลากรในชุมชนมาร่วมกิจกรรมให้ความรู้และทักษะชีวิตให้กับนักเรียน

    1.2 จัดทำและนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 

    1.3 ประชุมคณะกรรมการเพื่อดำเนินการดังนี้ 

        1.3.1 ชี้แจงรายละเอียดของโครงการและวิธีดำเนินงาน

        1.3.2 วางแผนการดำเนินงาน

2. ดำเนินกิจกรรม (Do)

    2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามระดับชั้นอนุบาล, ป.1 - 2, ป.3 - 4, ป.5 - 6

    2.2 ติดต่อเชิญวิทยากรในชุมชนเพื่อมาถ่ายทอดความรู้

    2.3 จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ป้าย 

    2.4 ดำเนินโครงการตามแผน 

    2.5 ประเมินผลการปฏิบัติการ

    2.6 สรุปผลการดำเนินงาน

    2.7 จัดทำรายงานเป็นรูปเล่มนำเสนอฝ่ายบริหาร

3. การควบคุม กำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน (Check) ประกอบด้วย

    3.1 การควบคุมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังนี้

        3.1.1 เพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

        3.1.2 เพื่อให้นักเรียนได้รับรู้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นและเกิดความภาคภูมิใจ

        3.1.3 เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงและได้ทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ 

        3.1.4 เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

        3.1.5 เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

    3.2 การนิเทศ ติดตาม ตามโครงการ

        เป็นการนิเทศ ติดตาม โดยผู้บริหารของโรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย และคณะกรรมการผู้จัดทำโครงการ

    3.3 ประเมินผลความสำเร็จของการปฏิบัติงาน

        เป็นการประเมินผลความสำเร็จ โดยผู้เข้าร่วมโครงการ

    3.4 การประเมินผลโครงการ

        เป็นการประเมินผลโครงการ โดยผู้บริหารของโรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย และคณะกรรมการผู้จัดทำโครงการ

4. การปรับปรุงและพัฒนา (Act) ประกอบด้วย

        การนำผลการนิเทศติดตาม และประเมินผลตามโครงการไปพัฒนา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง


ผลจากการปฏิบัติ

นักเรียนเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง ทั้งได้ฝึกปฏิบัติจริงและได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้