สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงงานสะเต็มศึกษา
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดประดู่บางจาก(พ่วงอุทิศ)มีกระบวนการจัดการเรียนรู้บูรณาการโครงงานสะเต็มศึกษาที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนในด้านวิทยาศาสตร์ แนวคิดในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม มาใช้ในเชิงบรูณาการแต่ทั้งนี้ในการบูรณาการจะต้องนำเนื้อหาในรายวิชาอื่นๆ เข้าไปอยู่ในกระบวนการดำเนินการด้วย เช่น ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาต่างประเทศศิลปะการงานอาชีพ สุขศึกษาและพลศึกษา เป็นต้นโดยการส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการปรับหลักสูตรโดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์มีในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเลือกระบวนการสอน เทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาความรู้ของบุคลากรด้วยการอบรมสะเต็มศึกษาเพื่อนำความรู้มาปรับใช้กับผู้เรียนให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่21เน้นการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และนำความรู้ทางเทคโนโลยีไปใช้ในชีวิตจริง

โครงงานสะเต็ม ตามลำดับขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1.ระบุปัญหา/ประเด็นที่สนใจ

เป็นการทำความเข้าใจปัญหาหรือความท้าทาย วิเคราะห์เงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสถานการณ์ปัญหา เพื่อกำหนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งนำ ไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือวิธีการแก้ปัญหา

ขั้นที่ 2.รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง

เป็นการรวบรวมข้อมูลและแนวคิดทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแนวทางแก้ปัญหาและประเมินความเป็นไปได้ข้อดีและข้อจำกัด

ขั้นที่3.ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา/พัฒนา

เป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลและแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องเพื่อการออกแบบชิ้นงาน หรือวิธีการในการแก้ปัญหา/พัฒนาโดยคำนึงถึงทรัพยากรข้อจำกัดและเงื่อนไขตามสถานการณ์ที่กำหนด

ขั้นที่4.วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา/พัฒนา

เป็นการกำหนดลำดับขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานหรือวิธีการ แล้วลงมือสร้างชิ้นงานหรือพัฒนาวิธีการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนา

ขั้นที่5. ทดสอบประเมินผลและปรับปรุง

นำสิ่งที่ได้วางแผนเอาไว้มาทำการทดสอบ ประเมินผลและแก้ไขปรับปรุงให้ได้ผลตามที่วางแผนเอาไว้ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ขั้นที่ 6. นำเสนอผลงาน/การประกวด

เป็นการนำเสนอแนวคิดและขั้นตอนการแก้ปัญหาของการสร้างชิ้นงาน หรือการพัฒนาวิธีการให้ผู้อื่น เข้าใจและได้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อยอดต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 1-6 ได้ศึกษาจัดทำโครงงานสะเต็มศึกษาและนำความรู้ไปจัดทำโครงงานสะเต็มศึกษา เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการอย่างเต็มศักยภาพซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. นักเรียนมีทักษะในการคิดวิเคราะห์  โดยระบุปัญหาที่พบ สามารถอธิบายปัญหาได้อย่างชัดเจน มีการพัฒนาฝึกฝนการแก้ไขและการวิเคราะห์ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ โดยนักเรียนสร้างความคิดเป็นระบบจัดกลุ่มและระดมความคิดใหม่ๆ ระบุขั้นตอนและนำความรู้ไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ

2. นักเรียนมีทักษะกระบวนการสร้างผลงานโครงงาน โครงงานสะเต็มศึกษา ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม การอภิปรายแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

3. นักเรียนมีการจัดทำโครงงานโครงงานสะเต็มศึกษาที่บูรณาการในรายวิชาต่างๆ โดยยึดกระบวนการของ STEM เป็นหลัก ในการผลิตและสร้างสรรค์ผลงาน

4. นักเรียนมีการนำผลงานคือโครงงาน โครงงานสะเต็มศึกษาเข้าร่วมประกวดแข่งขันผลงานและเผยแพร่ผลงาน  พร้อมทั้งนำความรู้และผลงานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

 

ผลที่เกิดต่อโรงเรียน

        เมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practice ส่งผลให้โรงเรียนได้พัฒนาผลงานทางด้านโครงงานที่เน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ โครงงานสะเต็มศึกษาและบุคลากรสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มศึกษาและนำทักษะต่างๆ ไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองในด้านทักษะวิชาการ ความกล้าแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและนำความรู้ด้านเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป

 

บทเรียนที่ได้รับ

        โรงเรียนได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ โครงงานสะเต็มศึกษาเข้ากับในรายวิชา ส่งผลให้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีมาตรฐานได้ดียิ่งขึ้น

 

ปัจจัยความสำเร็จ

        โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ) มีความมุ่งมั่นชัดเจนในเป้าหมายที่จะพัฒนาผลงานของนักเรียนให้ก้าวไปสู่การแข่งขันทั้งภายในและนอกโรงเรียน ครูมีการพัฒนาความรู้และเพิ่มทักษะด้านต่างๆ ไม่เคยหยุดนิ่งด้วยการอบรมกระบวนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ โครงงานสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์การคิดเป็นระบบของนักเรียนส่งเสริมความสามารถและทักษะในการแก้ปัญหาและการสร้างผลงานนักเรียนที่ออกมาในรูปแบบโครงงานสะเต็มมีการดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลงาน เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงานจนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายผลงานที่ไม่ประสบผลสำเร็จนำผลและประสบการณ์มาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

 

 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]