สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การเขียนโปรแกรมผา่นเว็บแอพพลิเคชั่น Scratch เพื่อพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้ง
โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
กระบวนการพัฒนา

 ขั้นตอนการเตรียมการ

1. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรสาระเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุงพ. ศ. 2560 หลักสูตรโรงเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 2. ศึกษาเทคนิคการสอนในแต่ละเรื่องควรมีวิธีการสอนแบบใดและควรใช้สื่อช่วยสอนชนิดใด

          3. ศึกษาวิธีการสร้างและออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์

 4. ศึกษาวิธีการสร้างแบบฝึกทักษะและสื่อบทเรียนออนไลน์

 

4.ขั้นดำเนินการ

1. จัดทำแผนการสอน แบบฝึกทักษะและบทเรียนออนไลน์ขึ้นมาใช้สอดแทรกในหน่วยการเรียนตลอดภาค ใช้แหล่งเรียนเรียนรู้ที่หลากหลาย

2. จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีและรูปแบบที่ออกแบบ (การเขียนโปรแกรม Scratch ผ่านแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ https://scratch.mit.edu/ )

3. สร้างเครือข่ายโดยให้ความรู้กลุ่มสาระอื่นๆในการจัดการเรียนรู้

5. ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล

1. ใช้แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนและคำถามหลังกิจกรรม

2. ประเมินจากการปฏิบัติกิจกรรม

3. ประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้แบบทดสอบวัดตัวชี้วัดทางการเรียน

4. แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์สาระเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ

6. ขั้นการปรับปรุงพัฒนา

1. ปรับปรุงนวัตกรรมให้เนื้อหามีความเหมาะสมและน่าสนใจมากขึ้น

2 .ปรับปรุงนวัตกรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์สาระเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551

3. นำข้อเสนอแนะในการนำไปใช้และการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไปจากนวัตกรรมเดิมไปพัฒนา

4. ปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยนำข้อเสนอแนะและข้อความปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับนวัตกรรมที่ปรับปรุง

5. ขยายเครือข่ายและจัดทำบูราณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้และขยายสู่หน่วยภายนอก


              

                     


ผลจากการปฏิบัติ

 ผลการดำเนินการ

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการ

เรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณเพิ่มขึ้น


 2. ผู้เรียนมีทักษะการเขียนโปรแกรมสแคชและทักษะด้านโค้ดดิ้งสามารถสร้างชิ้นงานออกมาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามบริบทของผู้เรียน

 3. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์สาระเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ

 4 .โรงเรียนมีสื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อและต่อยอดความรู้ได้ด้วยตนเอง