สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)
โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

                    ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย เห็นความสำคัญของการดำเนิน          โครงการโรงเรียน

          ปลอดขยะ (โรงเรียนส่งเสริมสิ่งแวดล้อม) จึงได้ดำเนินโครงการโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ประกอบด้วย     คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้ปกครอง คณะครู บุคลากรทุกท่าน และนักเรียน โดยดำเนินการตามขั้นตอนวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) ดังต่อไปนี้

          ๑. วิเคราะห์สภาพองค์กรและสภาพปัญหา ( SWOT Analysis ) โดยการมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดนโยบาย

          ๒. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์การดำเนินงานจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

          ๓. จัดทำแผนแม่บทในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการขยะของโรงเรียน ประกอบด้วย นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ แผนงานและโครงการ/กิจกรรม

          ๔. ประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง นโยบายการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะ        (โรงเรียนส่งเสริมสิ่งแวดล้อม)

          ๕. จัดทำโครงการ/คำสั่งมอบหมายงาน และดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนงาน

          ๖. นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานโดยจัดให้มีการรายงานผลเป็นระยะๆ เพื่อปรับปรุงการดำเนินการ

          ๘. ประสานความร่วมมือกับภาครัฐบาล ภาคเอกชน ชุมชน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากร นักเรียนในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสิ่งแวดล้อม

          ๙. ผู้บริหารสนับสนุน ให้คำปรึกษา ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการจัดสถานที่ แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น ตั้งศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอย แหล่งเรียนรู้การจัดการขยะแต่ละประเภท การดำเนินการโดยใช้หลัก3Rs  แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

                    ๑๐. รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา เพื่อนำผลมาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง       การดำเนินงาน


ผลจากการปฏิบัติ

โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วยได้ดำเนินการโรงเรียนปลอดขยะตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ จนถึงปัจจุบัน๒๕๖๓ เป็นระยะเวลา ๑๐ ปี ได้ดำเนินงานโดยผ่านกิจกรรม การส่งเสริมการเรียนรู้ กิจกรรมการลดปริมาณขยะด้วยหลัก ๓Rs กิจกรรมการคัดแยกขยะ กิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนขยะ และการให้ความรู้ผ่านฐานการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการการคัดแยกขยะและการจัดการขยะอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ทั้งในโรงเรียนทำให้โรงเรียนมีความสะอาด ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมีปริมาณที่น้อย และนักเรียนมีนิสัยรักสะอาด ยังนำความรู้เรื่องการคัดแยกขยะไปทำที่บ้าน ทำให้ปริมาณขยะในชุมชนลดลงอีกด้วย

ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศโรงเรียนปลอดขยะ (Zero