สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)
โรงเรียนวัดหัวลำโพง
กระบวนการพัฒนา

 1 .แต่งตั้งกรรมการในการดำเนินงานขับเคลื่อน กระบวนการ PLC

  2.  มอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานกระบวนการPLC จับคู่Model Teacher และ Buddy Teacher

  3.  กำหนดปฏิทินปฏิบัติงานแผนการประชุม PLC โรงเรียนวัดหัวลำโพง

              3.1 สำรวจข้อมูลของโรงเรียน 

1. ต้นทุนที่มี

2. วัตถุประสงค์  ความต้องการ

3. วางแผนการทำงาน

          4. ร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น

    3.2 กำหนดวัตถุประสงค์  ความต้องการในการพัฒนา

1.    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น O-net ผ่านทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

2.    นักเรียนอ่านเขียนคล่อง

3.    นักเรียนมีระเบียบวินัย

4.    ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยนำสื่อเทคโนโลยีที่มีมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ

5.    นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่

     4. จัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียน SLC (School as Learning Community)  โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์

                    1. กำหนดวัน เวลาสำหรับ การทำ Lesson Study ของแต่ละคู่และการประชุมระดับ

          2. Model Teacher และ Buddy Teacher เล่าแผน และแลกเปลี่ยนมุมมองและการเรียนรู้ระหว่างกัน 
          3. สังเกตชั้นเรียน โดยคู่ Buddy Teacher  ผู้บริหาร  ผู้เชี่ยวชาญจากคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล    

          4. การสะท้อนคิด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ผลที่เกิด บทเรียน สิ่งที่ต้องการทำต่อไป  ข้อเสนอแนะ

          5. จัดกิจกรรม Symposium เพื่อถอดบทเรียน สะท้อนคิด  สรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู  พัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ  


ผลจากการปฏิบัติ

1.               สถานศึกษาได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก  นางสาวอารีวรรณ  เพชรเลิศ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนวัดหัวลำโพง พร้อมด้วยตัวแทนครูเข้าร่วมเสวนา สร้างโรงเรียนแห่งความหวังด้วย SLC ประสบการณ์การทำงาน 4 ปี ในหัวข้อความก้าวหน้าของโรงเรียนวัดหัวลำโพงและโรงเรียนพุทธจักรวิทยา หลังนำแนวคิด SLCมาประยุกต์ใช้เป็นเวลากว่า 3 ปี   เนื่องในงานเทศกาลมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 14 EDUCA 2021 Online Festival

2. ผู้บริหารให้การสนับสนุนแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีการนิเทศติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับครูและผู้เชี่ยวชาญ  จนกิจกรรมประสบความสำเร็จ

3.ครูมีความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้น มีความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจอย่างแข็งขัน

          4. ครูเกิดการร่วมมือ  รวมพลังของทุกฝ่ายในการพัฒนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพของผู้เรียน

5 ครูรับทราบข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่จำเป็นต่อวิชาชีพได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อการปรับปรุงพัฒนางานวิชาชีพของตนได้ตลอดเวลา เกิดแรงแนวทางที่จะสร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนรู้ให้นักเรียนต่อไป

6. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  มีระเบียบวินัย  มีนิสัยรักการอ่านสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]