สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
วัฒนธรรมสร้างคนผ่านคีตดุริยนาฏศิลป์
โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
กระบวนการพัฒนา

         โครงการวัฒนธรรมสร้างคนผ่านคีตดุริยนาฏศิลป์เป็นโครงการที่สร้างแกนนำนักเรียนชมรมนาฏศิลป์และการแสดง โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ จำนวน 30 คน เป็นต้นแบบให้แก่นักเรียนในโรงเรียน เด็กและเยาวชนในชุมชนคลองเตย ตลอดจนนักเรียนในและนอกสังกัดและหน่วยงานอื่น ๆ ที่สนใจในการใช้นาฏศิลป์เพื่อสร้างคุณค่าของตนเอง ไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กล้าคิดกล้าแสดงออก และมีความสามารถติดตัวไปประกอบอาชีพได้ในอนาคตประกอบด้วย 3 กิจกรรม ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการจัดกิจกรรม ดังนี้

          กิจกรรมที่ 1 การจัดหาอุปกรณ์ประกอบการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์

                    1) จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นให้เพียงพอและสอดคล้องกับการฝึกซ้อมและกิจกรรมการแสดง

          กิจกรรมที่ 2 การเรียนการสอนและการฝึกนาฏศิลป์ให้แก่นักเรียนแกนนำและผู้ที่สนใจ

                    1) จัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนด้าน นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์สากล การขับร้องเพลง

และการแสดงพื้นเมือง

                    2)ฝึกซ้อมเพื่อการแสดงโดยเฉลี่ย 56 วันๆ ละ 2 ชั่วโมง

                    3)ฝึกการเสริมสร้างคุณลักษณะที่ดี มารยาททางสังคม และทักษะชีวิตที่จำเป็น

         กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่ศิลปะการแสดง

                    1)เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อฝึกมารยาททางสังคมและการใช้ทักษะชีวิตในเหตุการณ์จริง

                    2)ศึกษา แลกเปลี่ยน และแสดงผลงานในระดับประเทศ 

                    3)ศึกษา แลกเปลี่ยน และแสดงผลงานระดับนานาชาติ (ตามวาระและโอกาสที่เอื้ออำนวย)


ผลจากการปฏิบัติ

การดำเนินโครงการวัฒนธรรมสร้างคนผ่านคีตดุริยนาฏศิลป์ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ถึง  

วันที่ 15 มีนาคม 2565  ได้ดำเนินการตาม กิจกรรมที่ 1 การจัดหาอุปกรณ์ประกอบการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ กิจกรรมที่ 2 การเรียนการสอนและการฝึกนาฏศิลป์ให้แก่นักเรียนแกนนำและผู้ที่สนใจและกิจกรรม  ที่ 3 ปฏิบัติการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่ศิลปะการแสดงโดยในกิจกรรมที่ 2 โดยได้ดำเนินการดังนี้

       กิจกรรมที่ การจัดหาอุปกรณ์ประกอบการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์

          1.เครื่องแต่งกายสำหรับการแสดงของนักเรียนแกนนำประกอบด้วย

                1.1 ชุดการแสดงจัตุรพิศภาค จำนวน 13 ชุด

                1.2 ชุดการแสดงคีตะมวยไทย จำนวน 13 ชุด

                1.3 ชุดการแสดงปอยส่างลอง จำนวน 13 ชุด

                1.4 ชุดการแสดงเพลงพม่าเขว (ช้าง)  จำนวน 6 ชุด

                1.5 ร่มไหมแก้ว 8 คัน

                1.6 ร่มทองจำนวน 8 คัน

                1.7 โคมรำถวายพระพร 13 คู่

                1.8 ถุงใส่ของจากผ้าไทย

                1.9 ชุดโนรา 6 ชุด

1.10  เทริด 2 หัว

           2. การผลิตสื่ออุปกรณ์ประกอบการแสดง ประกอบด้วย 

                2.1 การประดิษฐ์พัด

                2.2การประดิษฐ์ชุดรำถวายพระพร

                2.3 การประดิษฐ์ห้อยหน้าโนรา

                2.4 การประดิษฐ์โคมบัว

                2.5 เสาธงชาติ

                2.6 เสาตุง

                2.7 เสาร่ม

                2.8 ผ้าสไบภาคเหนือ

                2.9 ดอกไม้ประดับศรีษะภาคเหนือ

                2.10ดอกไม้ประดับศรีษะถวายพระพร

                2.11การประดิษฐ์สนับเพลาโนรา