สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
คัดลายมือ
โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
กระบวนการพัฒนา

1. เกริ่นนำ

กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต

           ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติที่ใช้สื่อสารทำความเข้าใจระหว่างกัน  ซึ่งนอกจากจะใช้สื่อสารกันแล้ว  ยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความงดงามและมีคุณอย่างยิ่ง ในปัจจุบันภาษาไทยเป็นภาษที่ใช้สื่อสารกันมากที่สุด  แต่เยาวชนยังขาดทักษะการเขียน  การคัดลายมือถือเป็น การฝึกเขียนตัวอักษรให้ถูกต้องตามหลักการเขียนตัวอักษรไทย  ซึ่งต้องคำนึงถึงความถูกต้องและสวยงามของตัวอักษรประกอบด้วย  ช่องว่างระหว่างตัวอักษร  ขนาดตัวอักษรที่สม่ำเสมอกัน  การวางพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์ให้ถูกต้อง  ถือว่าเป็นขั้นตอน

ที่พัฒนามาจากการฝึกเขียนตัวอักษร

          ทางโรงเรียนวัดสุทธาโภชน์ได้เห็นความสำคัญของการคัดลายมือ  จึงนำมาเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียน  และได้ดำเนินการฝึกคัดลายมือมาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ  จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการคัดลายมืองามตามแบบไทย

 

วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

๑.      เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการคัดลายมือ  สามารถเขียนภาษาไทยได้ถูกต้องสวยงาม

๒.      เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการมีลายมืองามตามอักขระวิธี

๓.      เพื่อพัฒนาลายมือนักเรียนให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน

 

เป้าหมาย

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 493 คน
          ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม  มีความรู้มีทักษะและตระหนักถึงความสำคัญของการคัดลายมือ

                       นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการฝึกคัดลายมืองามตามแบบไทย

2. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart (แผนภูมิ) ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ขั้นที่ ประชุมวางแผน

          - ประชุมวางแผนโครงการ

          - จัดทำปฏิทิน

          - แต่งตั้งคณะกรรมการ

          - เสนอโครงการ

ขั้นที่ การดำเนินการ

 2.1 กำหนดรูปแบบตัวอักษร

          - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 เป็นแบบหัวกลมตัวเหลี่ยม

          - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 เป็นแบบหัวกลมตัวกลม

          - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปี่ 3 แบบตัวอาลักษณ์

2.2 ครูแต่ละสายชั้นฝึกคัดลายมือ

แนวทางคัดลายมือตามแบบตัวอักษรของกระทรวงศึกษาธิการ

จุดมุ่งหมายของการคัดลายมือ

          ๑. เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือ ตา ให้คล่องแคล่วในการเขียน

          ๒. เพื่อเขียนตัวอักษรไทยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ อยางประณีต สะอาดเป็นระเบียบ ชัดเจน รวดเร็ว และอ่าน   เข้าใจง่าย

          ๓. เพื่อให้เกิดความชํานาญจากการคัดไปสู่การเขียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

          4. เพื่อให้เกิดสมาธิการทํางาน มีวินัยในตนเอง รับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้สําเร็จ

ลักษณะการนั่งที่ถูกวิธีก่อนฝึกคัดลายมือต้องฝึกให้นักเรียนนังอย่างถูกวิธีก่อนฝึกคัดลายมือ ดังนี้

          ๑. นักเรียนต้องหันหน้าเข้าหาโต๊ะ การนังเอียงอาจทําให้หลังคด

          ๒. แขนทั้ง ๒ ข้างวางอยูบนโต๊ะ ประมาณ  ๓ ใน ๔ ของความยาวระหวางศอกกับข้อมือพาดไว้กับ

ขอบโต๊ะ หากไม่ทําเช่นนี้ อาจทําให้กระดูกสันหลังคด

          ๓. กระดาษต้องวางไว้หน้าผู้เขียน การวางกระดาษไม่ตรง ทําให้ผู้เขียนต้องเอียงคอ สายตาทํางาน

มาก อาจทําให้กระดูกสันหลังคด

          ๔. ส่วนล่างของกระดาษทํามุมกบขอบโต๊ะ  ๓๐ องศา

          ๕. แขนของมือที่เขียนต้องทํามุมที่เหมาะสมกับตัวอักษร ข้อศอกต้องไม่กางออกหรือแนบตัวมากเกินไป

          ๖.การวางมือ ฝ่ามือควํ่าลง มืองอทํามุม ๔๕ องศากบข้อมือ นิ้วกลาง รองรับดินสอหรือปากกานิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือจะประคองดินสอ หรือปากการ่วมกับนิ้วกกลาง มือจะพักอยูบนนิ้วนางและนิ้วก้อย

          7. จับดินสอหรือปากกาพอเหมาะ ไม่แน่นเกินไป นิ้วที่จับโค้งเล็กน้อย

          8. ในขณะที่คัดลายมือ แขน มือ และนิ้วจะต้องเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กัน

          9. การเคลื่อนไหวของดินสอหรือปากกาในขณะที่คัดแบ่งออกไปเป็ นหน่วยๆ แต่ละหน่วยมีระยะหยุดเป็นระยะ ไม่เคลื่อนไหวติดต่อกนโดยตลอด

2.3 ประกวดคัดลายมือในโรงเรียน

                        -วันแม่

                        -วันพ่อ

                        -วันภาษาไทย

                        -วันสุนทรภู่

2.4 ประกวดคัดลายมือกับหน่วยงานอื่น

2.5 ประกวดคัดลายมือในระดับชั้นเรียนภายในโรงเรียน

2.6 ตรวจสอบและประเมินผล

                        -นิเทศ

                        -ติดตาม

                        -รางวัลประกวดแข่งขัน

2.7 วิเคราะห์สรุปผลรายงานโครงการ

                        -เขียนรายงานสรุปโครงการ

 


ผลจากการปฏิบัติ

3.  ผลการดำเนินการ

          -  นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการคัดลายมือ

          -  นักเรียนมีการพัฒนาทักษะการคัดลายมือดีขึ้น

          -  นักเรียนพัฒนารูปแบการคัดลายมือได้ถูกต้องตามรูปแบบที่โรงเรียนกำหนดให้

          -  นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง

ผลที่เกิดต่อโรงเรียน

          เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนแล้วได้ส่งตัวแทนนักเรียนเข้าร่วมประกวดการคัดลายมือตามหน่วยงานต่างๆ และได้รับรางวัลส่งผลให้โรงเรียนมีชื่อเสียง

 

4. บทเรียนที่ได้รับ

          -  นักเรียนมีความภาคภูมใจในผลงานการคัดลายมือของตนเอง  และนำไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นได้

          -  ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการคัดลายมือ  โดยการดูแลเอาใจใส่การคัดลายมือและให้การสนับสนุน

          - นักเรียนมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น

 

5.  ปัจจัยความสำเร็จ

          นักเรียน  ครู  ผู้ปกครอง  ผู้บริหาร  ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคัดลายมืออย่างต่อเนื่องส่งผลให้เป็นเอกล้กษณ์ของโรงเรียนวัดสุทธาโภชน์

 

6.  การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ และ/หรือรางวัลที่ได้รับ

                ๑. จัดป้ายนิเทศน์ผลงานนักเรียนที่ได้รับรางวัล

          ๒. มอบประกาศนียบัตรนักเรียนที่ได้รับรางวัลในกิจกรรมหน้าเสาธง

          ๓. ประกาศยกย่องในสื่อออนไลน์

          4. นำผลงานการคัดลายมือไปร่วมงานนิทรรศกาลเครือข่าย