สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
กระบวนการพัฒนา

1.บทนำ

กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต

การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test หรือ O-NET) เป็นการทดสอบความรู้ทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้เรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน ทุกสังกัด ดำเนินการโดยสถาบันทดสอบทาง การศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายนอกที่ทำหน้าที่ในการประเมินระดับชาติ การทดสอบนี้มีเป็นการวัดและประเมินผลที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเป็นส่วนหนึ่งของระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อได้ว่าสทศ.ใช้ ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “NATIONAL INSTITUTE OF EDUCATIONAL TESTING SERVICE” (PUBLIC ORGANIZATION) เรียกโดยย่อ ได้ว่า “ NIETS ” จัดตั้งขึ้นเป็นองค์การมหาชนเพื่อให้การทำงานมี ประสิทธิภาพสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรได้สูงสุด มีความเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับสายการบริหารของหน่วยงานที่มีหน้าที่      ความรับผิดชอบ การจัดการศึกษาจึงมีความเป็นกลาง เป็นสถาบันที่มีการกำหนดหลักการ นโยบาย มาตรการและเป้าหมาย โครงสร้างการบริหาร และการดำเนินกิจการความสัมพันธ์กับรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบุคลากรการเงิน การตรวจสอบ และการประเมินผลที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ให้บรรลุตามวัตุถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันเพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัยและให้บริการ ทางด้านการประเมินผลทางการศึกษา และทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องรวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทาง การศึกษาในระดับชาติและนานาชาติ การสร้างระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพในโรงเรียน นับได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดต่อ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ขององค์การให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้น สามฝ่ายของบุคลกรในโรงเรียนซึ่งประกอบไปด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และนักเรียน ต้องเกิดจากการมีทักษะ ความรู้ความสามารถและสามารถเลือกบทบาทที่เหมาะสมตามศักยภาพแต่ละบุคคลในการขับเคลื่อน องค์การซึ่งหมายถึง โรงเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2554) การบริหารจัดการในเชิงวิชาการภายในโรงเรียนย่อมเป็นส่วนที่สำคัญในการส่งเสริมและ พัฒนาให้นักเรียนในโรงเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น จนสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ได้ในที่สุดอย่างแน่นอน

 การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test หรือO-NET) นั้นมุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์สอดคล้องกับ Anderson และ Krathwohl (2001) ที่ได้กล่าวว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดการศึกษาในหลายสาขาวิชาทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะต่างมีความต้องการ การเรียนรู้สู่การวิเคราะห์ เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียนแต่ละโรงเรียน และเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น ผล O-NET ดังกล่าวถือเป็น     กระจกเงาที่ดีที่จะได้นำไปปรับปรุงให้ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน นอกจากนี้ผลคะแนนสอบที่นักเรียนได้รับ             จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักเรียนเอง เพราะสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไป    ส่วนผู้ปกครองก็จะได้ใช้เป็นแนวทางแก้ไข และสนับสนุนบุตรหลานให้กระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในแนวทางที่ดี และทางโรงเรียนยังสามารถนำผลการสอบของนักเรียนแต่ละคนไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องต่อความสนใจ ความต้องการเรียนรู้      เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียนต่อไปในอนาคต  

 

สภาพทั่วไป

ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศ เรื่อง การใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2555 ให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษาและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ในสัดส่วน 80 : 20 และตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปรับสัดส่วนการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2556 ให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษาและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ในสัดส่วน 70 : 30 ในปีการศึกษา 2557 และให้ใช้สัดส่วน 50 : 50 ในปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป รวมทั้งประกาศกระทรวงศึกษาธิการล่าสุด ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม 2559 เรื่องการปรับสัดส่วนการใช้ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) เป็น 70 : 30  จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่า ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) มีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนและสถานศึกษา อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของผู้เรียนตลอดจนนำไปสู่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา                                                                              

ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET ) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560  ทดสอบ 4  กลุ่มสาระการเรียนรู้คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ         โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา 2560 มีนักเรียนทั้งหมด 4,271 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เข้าสอบมีจำนวน 681 คน  จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET ) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา  2560 มีคะแนนเฉลี่ยปรากฏ ดังตาราง


ตารางที่ 1 รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET )

             ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา  2560

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

โรงเรียน

ประเทศ

ผลต่าง

ภาษาไทย

53.69

46.58

7.11

คณิตศาสตร์

49.00

37.12

11.88

วิทยาศาสตร์

44.93

39.12

5.81

ภาษาอังกฤษ

50.13

36.34

13.79

ในปีการศึกษา 2560 คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และคะแนนเฉลี่ยมากว่า 50 คะแนน 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ นอกจากนี้มีกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์นักเรียนสอบได้ 100 คะแนน 10 คน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนักเรียนสอบได้ 100 คะแนน 3 คน

จากการประเมินโรงเรียนของคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)มีข้อเสนอแนะในการประเมิน พบว่ามาตรฐานด้านผลการจัดการศึกษา สถานศึกษาควรมีการร่วมมือในการวางแผนและดำเนินการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ให้สูงขึ้น เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้กลุ่มภาษาต่างประเทศให้สูงขึ้นโดยการจัดกิจกรรมให้ต่อเนื่องและจริงจัง มีความเป็นระบบที่ชัดเจน  ควรมีการวิเคราะห์จัดกลุ่มผู้เรียนให้ชัดเจนเพื่อให้มีการสอนเสริมให้ครอบคลุมและต่อเนื่องในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับพอใช้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบ 0-net

จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET )และการประเมินคุณภาพการศึกษา โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย เห็นความสำคัญ ผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET จึงจัดทำ Best Practices โดยใช้หลัก วงจรเดมมิ่ง PDCA (Deming Cycle)           เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น เตรียมความพร้อม  และสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียนในการสอบ

ลักษะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

สถานศึกษาในระบบการทำงานโดยใช้หลัก วงจรเดมมิ่ง PDCA (Deming Cycle) โดย

1.    Plan วางแผนงาน กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการ  ขั้นตอน อย่างชัดเจน

2.    Do ดำเนินการตามแผนงานที่ได้วางไว้ ตามลำดับขั้นตอน

3.    Check ตรวจสอบ นิเทศ  ติดตามอย่างต่อเนื่อง  เมื่อพบปัญหา  ได้วิเคราะห์สาเหตุ

และวางมาตรการแก้ไข

4.     Action มีการดำเนินการปรับปรุงพัฒนา  เพื่อเอื้อในการเกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น

 

วัตถุประสงค์

1.   เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ป.6 จากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สูงขึ้น

2.   เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ป.6 จากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สูงกว่าระดับประเทศ

3.   เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียนในการทดสอบที่เน้นทักษะการวิเคราะห์ขั้นสูง                และสร้างความคุ้นเคยในการทดสอบ 

4.   เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญ  และประโยชน์ในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน       (O-NET) 

เป้าหมาย

เชิงปริมาณ

1.      นักเรียนได้รับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากทดสอบระดับชาติ โดยใช้หลัก วงจรเดมมิ่ง PDCA (Deming Cycle) ร้อยละ 100

2.      นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากทดสอบระดับชาติเพิ่มขึ้น

        

 เชิงคุณภาพ

1.      นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความสนใจ  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน 

และการศึกษาต่อมากขึ้น

2.      นักเรียนมีความมั่นใจมากขึ้น มีผลการทดสอบสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ดำเนินการ 2 ระยะ

ระยะที่ 1 คือ ดำเนินการพัฒนาเพื่อต่อยอด

ขั้นที่ 1  ขั้นวางแผน (Plan)

1.1   ประชุมครูผู้สอนสายชั้นประถมศึกษาปีที่1-5 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

เพื่อร่วมกันวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมาย นักเรียนในการส่งเสริมพัฒนาทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น โดยในแต่ละชั้น นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ความสามารถในการอ่านออกของผู้เรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  วัดคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพมหานคร

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วัดคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพมหานคร

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วัดคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพมหานคร

        กำหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนร้อยละ  70 ได้ระดับ  3 ขึ้นไป

1.2   ประชุมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -5 เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

1.3   ส่งเอกสารประชาสัมพันธ์แจ้งผู้ปกครองให้เข้าใจจุดประสงค์เพื่อพัฒนานักเรียนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

กำหนดระยะเวลาพัฒนานักเรียน 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 กิจกรรมเติมการสอนให้เข้มแข็ง  สอนตามปกติ เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ และทักษะ   กระบวนการในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

ระยะที่  2 กิจกรรมเสริมวิชาการให้เข้มข้น ทดสอบความรู้เดิมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ทราบ ดำเนินการสอนซ่อมเสริม  ทดสอบความรู้หลังจากการสอนซ่อมเสริมและแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง

1.4  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

          1.5  รู้จักนักเรียนรายบุคคลและคัดกรองนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้

และคิดวิเคราะห์ไม่เป็น กลุ่มอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องและคิดวิเคราะห์ไม่เป็น และกลุ่มอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดวิเคราะห์เป็น

         

 

1.6 ศึกษาหลักสูตรและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

              -  ทฤษฎีการสอนของกาเย่  ซึ่งมีแนวคิดว่าการเรียนรู้มีลำดับขั้นและผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เนื้อหา

                  จากง่ายไปหายาก

              - แนวคิดของบลูม ซึ่งกล่าวถึงธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความแตกต่างกัน

                 ผู้เรียนจะสามารถเรียนเนื้อหาในหน่วยย่อยต่างๆ ได้ โดยใช้เวลาเรียนที่แตกต่างกัน

    - ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์ บุคคลเรียนรู้ด้วยการกระทำ โดยมีตัวเสริมแรงเป็นตัวการ

               - ทฤษฎีลองผิดลองถูกของธอร์นไดด์ สรุปเกณฑ์การเรียนรู้คือ

                    กฎความพร้อม หมายถึง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำ

                    กฎผลที่ได้รับ  หมายถึง  การเรียนรู้จะเกิดขึ้น เพราะบุคคลกระทำซ้ำ และยิ่งทำมาก 

                                                   ความชำนาญจะเกิดขึ้นได้ง่าย

          1.7 ออกแบบวิธีการหรือนวัตกรรม ที่ใช้ในการสอนและการออกข้อสอบในแต่ละระดับชั้น

 

ขั้นที่ 2  ดำเนินการตามแผน (Do)

2.1 สร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรมที่ออกแบบไว้

2.2 ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาตามเครื่องมือที่สร้าง ดังนี้              

            2.2.1 กิจกรรมเติมการสอนให้เข้มข้น    เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในเวลาเรียนปกติ แต่จะมีการวิเคราะห์และคัดกรองผู้เรียนเป็นกลุ่มๆโดยแต่ละกลุ่มจะใช้เทคนิควิธี 

สื่อการสอนและแรงจูงใจที่แตกต่างกัน  ตลอดจนมีการเพิ่มความเข้มข้นในเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้นและจะมีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและขั้นตอนจากง่ายไปหายาก (สอดคล้องกับทฤษฎีการสอนของกาเย่)  โดยมีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมดังนี้

             1. ดำเนินการคัดกรองนักเรียน และจัดกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถ ในการเรียนรู้(สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม)

             2. เลือกเทคนิคและวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนสื่อ  เครื่องมือวัดและประเมินผล

ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ(สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม)

             3. จัดทำแนวทางการพัฒนาผู้เรียนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดหาสื่อ  นวัตกรรม ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม

            4. ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาหรือแผนการจัดการเรียนรู้และมีการเสริมแรง

โดยการชมเชยผู้ที่เรียนรู้ได้ดีและคอยให้กำลังใจคนที่เรียนรู้ช้ากว่าคนอื่น(สอดคล้องกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์)

            5. ดำเนินการวัดผลและประเมินผลทุกระยะ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลต่อไป

      

  2.2.2  กิจกรรมเติมวิชาการให้เข้มแข็ง  

 1. ทดสอบความรู้เดิมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง

โดยใช้ข้อสอบที่ครูร่วมกันจัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อสอบ ในปีก่อนและออกข้อสอบคู่ขนานกับแนวการออกข้อสอบในปีที่สอบ

 

2.  ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมให้นักเรียนทั้งในและนอกเวลาเรียนตามที่โรงเรียนกำหนดเป็นจุดเน้นหรือดำเนินการเป็นปกติอยู่แล้ว เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน   กิจกรรมสอนซ่อมเสริม   กิจกรรมติวเตอร์   กิจกรรมท่องคำศัพท์   กิจกรรมท่องอาขยาน   กิจกรรมท่องสูตรคูณ   กิจกรรมเขียนเรื่องจากภาพ   กิจกรรมเขียนเรียงความ  เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินการซ้ำๆ บ่อยๆเพื่อให้เกิดความชำนาญ (สอดคล้องกับกฎผลที่ได้รับของธอร์นไดด์)

3. ทดสอบความรู้หลังการสอนซ่อมเสริมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง

4. นำผลคะแนน มาวิเคราะห์และเติมเต็มส่วนที่ขาดหาย และแนะนำประสบการณ์ในการสอบ      แก่นักเรียน

 

ขั้นที่ 3  การตรวจสอบ (Check)

        3.1  ผู้บริหารนิเทศ  กำกับ  ติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

        3.2  ให้ครูชั้นรายงานผลการดำเนินงานทุกสิ้นเดือน

        3.3  สำรวจความพึงพอใจของครู  ผู้ปกครอง  และนักเรียน

ขั้นที่ 4  การรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action)

4.1     ครูวิชาการสรุปรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนละชั้น ให้ผู้บริหารทราบ

          4.2  นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อที่จะได้นำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

                 ต่อไป

ระยะที่ 2 คือ เติมเต็มต่อยอด

ขั้นที่ 1  ขั้นวางแผน (Plan)

1.4   ประชุมครูผู้สอนสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

     เพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และสร้างความ   

     ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1.5   ประชุมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของการสอบ O-NET

1.6   ส่งเอกสารประชาสัมพันธ์แจ้งผู้ปกครองให้เข้าใจจุดประสงค์เพื่อพัฒนานักเรียนร่วมกัน

กำหนดระยะเวลาพัฒนานักเรียน 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 กิจกรรมเติมการสอนให้เข้มแข็ง  สอนตามปกติ เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ และทักษะ   กระบวนการในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

ระยะที่  2 กิจกรรมเสริมวิชาการให้เข้มข้น ทดสอบความรู้เดิมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ทราบ ดำเนินการสอนซ่อมเสริมในช่วงเช้า ของภาคเรียนที่ 2  ทดสอบความรู้หลังจากการสอนซ่อมเสริมและแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง

 

1.4  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

          1.5  รู้จักนักเรียนรายบุคคลและคัดกรองนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้

และคิดวิเคราะห์ไม่เป็น กลุ่มอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องและคิดวิเคราะห์ไม่เป็น และกลุ่มอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดวิเคราะห์เป็น

          1.6 ศึกษาหลักสูตรและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

              -  ทฤษฎีการสอนของกาเย่  ซึ่งมีแนวคิดว่าการเรียนรู้มีลำดับขั้นและผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เนื้อหา

                  จากง่ายไปหายาก

              - แนวคิดของบลูม ซึ่งกล่าวถึงธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความแตกต่างกัน

                 ผู้เรียนจะสามารถเรียนเนื้อหาในหน่วยย่อยต่างๆ ได้ โดยใช้เวลาเรียนที่แตกต่างกัน

    - ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์ บุคคลเรียนรู้ด้วยการกระทำ โดยมีตัวเสริมแรงเป็นตัวการ

               - ทฤษฎีลองผิดลองถูกของธอร์นไดด์ สรุปเกณฑ์การเรียนรู้คือ

                    กฎความพร้อม หมายถึง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำ

                    กฎผลที่ได้รับ  หมายถึง  การเรียนรู้จะเกิดขึ้น เพราะบุคคลกระทำซ้ำ และยิ่งทำมาก 

                                                   ความชำนาญจะเกิดขึ้นได้ง่าย

          1.7 ออกแบบวิธีการหรือนวัตกรรม ที่ใช้ในการสอนและการออกข้อสอบ ก่อนเรียนเสริม O-NET

 

ขั้นที่ 2  ดำเนินการตามแผน (Do)

2.1 สร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรมที่ออกแบบไว้

2.2 ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาตามเครื่องมือที่สร้าง ดังนี้              

            2.2.1 กิจกรรมเติมการสอนให้เข้มข้น    เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในเวลาเรียนปกติ แต่จะมีการวิเคราะห์และคัดกรองผู้เรียนเป็นกลุ่มๆโดยแต่ละกลุ่มจะใช้เทคนิควิธี 

สื่อการสอนและแรงจูงใจที่แตกต่างกัน  ตลอดจนมีการเพิ่มความเข้มข้นในเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้นและจะมีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและขั้นตอนจากง่ายไปหายาก (สอดคล้องกับทฤษฎีการสอนของกาเย่)  โดยมีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมดังนี้

             1. ดำเนินการคัดกรองนักเรียน และจัดกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถ ในการเรียนรู้(สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม)

             2. เลือกเทคนิคและวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนสื่อ  เครื่องมือวัดและประเมินผล

ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ(สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม)

             3. จัดทำแนวทางการพัฒนาผู้เรียนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดหาสื่อ  นวัตกรรม ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม

            4. ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาหรือแผนการจัดการเรียนรู้และมีการเสริมแรง

โดยการชมเชยผู้ที่เรียนรู้ได้ดีและคอยให้กำลังใจคนที่เรียนรู้ช้ากว่าคนอื่น(สอดคล้องกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์)

            5. ดำเนินการวัดผลและประเมินผลทุกระยะ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลต่อไป

 

        2.2.2  กิจกรรมเติมวิชาการให้เข้มแข็ง  

 1. ทดสอบความรู้เดิมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง

โดยใช้ข้อสอบที่ครูร่วมกันจัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อสอบ O-NET ในปีก่อนและออกข้อสอบคู่ขนานกับแนวการออกข้อสอบในปีที่สอบ

2.  ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมให้นักเรียนทั้งในและนอกเวลาเรียนตามที่โรงเรียนกำหนดเป็นจุดเน้นหรือดำเนินการเป็นปกติอยู่แล้ว เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน   กิจกรรมสอนซ่อมเสริม   กิจกรรมติวเตอร์   กิจกรรมท่องคำศัพท์   กิจกรรมท่องอาขยาน   กิจกรรมท่องสูตรคูณ   กิจกรรมเขียนเรื่องจากภาพ   กิจกรรมเขียนเรียงความ  เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินการซ้ำๆ บ่อยๆเพื่อให้เกิดความชำนาญ (สอดคล้องกับกฎผลที่ได้รับของธอร์นไดด์)

ดำเนินการสอนซ่อมเสริมในช่วงเช้า เวลา 07.20 - 08.20 .  ภาคเรียนที่ 2  

วันอาทิตย์เวลา 08.-30 - 14.30 .  ภาคเรียนที่ 2

3. ทดสอบความรู้หลังการสอนซ่อมเสริมของนักเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  และแจ้งผลให้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง โดยใช้ข้อสอบ Pre O-NET ของสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

4. นำผลคะแนน Pre O-NET ของสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร มาวิเคราะห์และเติมเต็มส่วนที่ขาดหาย และแนะนำประสบการณ์ในการสอบแก่นักเรียน

 

ขั้นที่ 3  การตรวจสอบ (Check)

        3.1  ผู้บริหารนิเทศ  กำกับ  ติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

        3.2  ให้ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายงานผลการดำเนินงานทุกสิ้นเดือน

        3.3  สำรวจความพึงพอใจของครู  ผู้ปกครอง  และนักเรียน

ขั้นที่ 4  การรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action)

4.2     ครูวิชาการสรุปรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   ให้ผู้บริหารทราบ

          4.2  นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อที่จะได้นำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

                 ต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

ผลลัพธ์/ผลการดำเนินการ

          จากการจัดทำ Best Practices โดยใช้หลักวงจรเดมมิ่ง PDCA (Deming Cycle) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET โดยมีวัตถุประสงค์

1.   เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ป.6 จากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สูงขึ้น

2.   เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ป.6 จากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สูงกว่าระดับประเทศ

3.   เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียนในการทดสอบที่เน้นทักษะการวิเคราะห์ขั้นสูง                และสร้างความคุ้นเคยในการทดสอบ 

4.   เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญ  และประโยชน์ในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน       (O-NET

จากการดำเนินกิจกรรม พบว่านักเรียนมีทักษะการวิเคราะห์ขั้นสูง และได้ฝึกในการทำแบบทดสอบ  ตระหนักถึงความสำคัญ รู้ถึงประโยชน์ในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)โดย จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา  2561 มีคะแนนเฉลี่ยปรากฏ ดังตาราง

 

 

 

ตารางที่ 2 รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)

            ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา  2561

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

โรงเรียน

ประเทศ

ผลต่าง

ภาษาไทย

          63.14

55.90

7.24

คณิตศาสตร์

52.21

37.50

14.71

วิทยาศาสตร์

45.40

39.39

6.01

ภาษาอังกฤษ

53.28

39.24

14.04

                 ในปีการศึกษา 2561 คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และคะแนนเฉลี่ยมากว่า 50 คะแนน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ   นอกจากนี้มีกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์นักเรียนสอบได้ 100 คะแนน 40 คน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนักเรียนสอบได้ 100 คะแนน 16 คน นักเรียนได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน ทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 3 คน

 

เมื่อนำผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาเปรียบเทียบในปี 2560 กับ 2561ปรากฏ ดังตาราง

 

ตารางที่ 3 ผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)

             ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาเปรียบเทียบกันในปี 2560 กับ 2561

 

 

ปีการศึกษา 2560

ปีการศึกษา 2561

กลุ่มสาระการเรียนรู้

โรงเรียน

ประเทศ

ผลต่าง

โรงเรียน

ประเทศ

ผลต่าง

ภาษาไทย

53.69

46.58

7.11

63.14

55.90

7.24

คณิตศาสตร์

49.00

37.12

11.88

52.21

37.50

14.71

วิทยาศาสตร์

44.93

39.12

5.81

45.40

39.39

6.01

ภาษาอังกฤษ

50.13

36.34

13.79

53.28

39.24

14.04

           จากตารางพบว่าในปีการศึกษา 2561 คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ

ขั้นพื้นฐาน(O-NET)ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงขึ้นจากปีการศึกษา 2560


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]