สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนแจ่มจันทร์
กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนแจ่มจันทร์ ได้ตระหนักในความสำคัญและเห็นคุณค่าของหลักเศรษฐกิจพอเพียง  ต้องการปลูกฝังให้นักเรียน  เยาวชน  หรือ ประชาชนทั่วไป ได้ทดลองปฏิบัติจริงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จึงได้จัดทำโครงการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน โดยนักเรียนจะได้ศึกษา  เรียนรู้  ฝึกปฏิบัติจริงภายในแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายตามความสนใจ  และสามารถนำประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้  และยังเป็นแหล่งการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนโรงเรียนอื่นๆ ชุมชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

โรงเรียนแจ่มจันทร์ได้น้อมนำแนวพระราชดำริหลักเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านแหล่งเรียนรู้จนได้รับรางวัลสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง” ประจำปี ๒๕๕๙ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านโครงการ กิจกรรมต่างๆ เรื่อยมา ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ นี้ โรงเรียนแจ่มจันทร์ได้จัดทำแหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติมจนถึงปัจจุบันรวมทั้งหมด ๑๗ สถานีแหล่งการเรียนรู้ ( เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้เดิม ๒ สถานี ) ดังนี้

ลำดับ

ชื่อสถานีแหล่งเรียนรู้

1

สถานีโรงเพาะเห็ดภูฏาน

2

สถานีงานปุ๋ยใบไม้หมัก

3

สถานีสวนรักสมุนไพร

4

สถานีกล้วยไทยนานาชนิด

5

สถานีเศรษฐกิจพอเพียง

6

สถานีริมระเบียงสวนแนวตั้ง

7

สถานีรวมพลังคัดแยกขยะ

8

สถานีเพาะพันธุ์กระบองเพชร

9

สถานีรสเด็ดยอดอ่อนพืชผัก

10

สถานีน้ำหมักปุ๋ยจุลินทรีย์

11

สถานีก๊าซชีวภาพร่วมรักษ์

12

สถานีผักออร์แกนิกปลอดสาร

13

สถานีตระกานตาปลาสวยงาม

14

สถานีอร่ามสวนครัวเพลินตา

15

สถานีล้ำค่าผักไฮโดรโปรนิกส์

16

สถานีสมาชิกเพื่อนรักสัตว์เลี้ยง

17

สถานีรายเรียงเพาะพันธุ์ต้นกล้า

 


ผลจากการปฏิบัติ

 จากความร่วมมือของทุกฝ่ายตั้งแต่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู บุคลากร ผู้ปกครองและนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดจนนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานจริง มีการพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนแจ่มจันทร์ได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อพัฒนาควบคู่สู่แนวทางในพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีสู่สถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร