สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การจัดการเรียนการสอนแบบ On hand ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
กระบวนการพัฒนา

กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. การวางแผนงาน (P)

1.1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ กำหนดปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา

1.2 ประชุม ปรึกษาหารือ ดำเนินการศึกษารูปแบบ แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ On hand

เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน หลักสูตรกรุงเทพฯศึกษา และหลักสูตรสถานศึกษา

1.3 การวางรูปแบบและแนวทางในการดำเนินงาน

2. การดำเนินงาน (D)

          2.1 ครูผู้สอนศึกษาเอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน หลักสูตรกรุงเทพฯศึกษา และหลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐาน ตัวชี้วัด หนังสือเรียน เพื่อจัดทำใบงาน

          2.2 หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ตรวจสอบความความถูกต้องของใบงาน

          2.3 ผู้บริหารตรวจสอบความถูกต้อง และอนุมัติใช้ใบงาน

          2.4 กำหนดปฏิทินการรับส่งใบงานสำหรับนักเรียนแต่ละสายชั้น เพื่อแจ้งไปยังนักเรียนและผู้ปกครอง

3. การติดตามงาน (C)

        3.1 ครูผู้สอนดำเนินจัดกิจกรรมการเรียนเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ควบคู่กับการสอนแบบ On hand มีการติดตาม และประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง อย่างเป็นระบบเดือนละ 2 ครั้ง

          3.2 วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติงาน

       3.3 การประชุมประจำเดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินงานจากครูผู้สอน และสรุปผลการดำเนินงาน ตรวจสอบความสอดคล้อง หรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่

4 การทบทวนการดำเนินงาน (A)

                    4.1 การรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติ

                    4.วิเคราะห์สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา

                    4.การประชุมเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน

                    4.ตรวจสอบความสอดคล้องของแผนการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่ได้


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินงาน

          1. ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์

การจัดการเรียนการสอนแบบ On hand ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษาโดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้ระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 70.36 นักเรียนเอาใจใส่ และเห็นประโยชน์ของการเรียนรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง ตามลำดับดังนี้

                    1. สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลา

                    2. การบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อลดภาระงานให้กับผู้เรียน

                    3. เนื้อหามีความกระชับ เข้าใจง่าย มีตัวอย่างชัดเจน

2. ผลสัมฤทธิ์ของงาน

          2.1. โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบ และบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตรเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา

                2.2. ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักการศึกษา สำนักเขตลาดพร้าว ผู้ปกครอง ผู้เรียน ในการบริหารจัดการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          3. ประโยชน์ที่ได้รับ

                    3.1. โรงเรียนมีการทบทวนหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และทันสมัย

                    3.2. โรงเรียนมีนวัตกรรมที่สามารถใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

                    3.3. การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้า และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ

3.4. ผู้ปกครองและผู้เรียนมีตัวเลือกในการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

3.5. การแก้ปัญหาการจัดการเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.6. ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในการเรียนแบบออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]