สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
PLC FOR GC Prathom 5-6
โรงเรียนราชบพิธ
กระบวนการพัฒนา

ขั้นตอนในการทำ PLC เราสรุปมาให้เป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ด้วยกัน ดังนี้ครับ
? ขั้นตอนที่ 1 : การสร้างทีม 
? ขั้นตอนที่ 2 : กำหนดปัญหาที่แท้จริง ให้ครูเริ่มจากปัญหาที่ครูเจอบ่อยๆ พบบ่อยๆ 
และเป็นปัญหาที่เด็กๆส่วนใหญ่เป็นกัน และครูยังหาทางแก้ไม่ได้ นั่นคือปัญหาที่เราจะหยิบมาทำได้
? ขั้นตอนที่ 3 : วางแผนการแก้ไข และกระบวนการ ทำการวางแผน แบ่งหน้าที่ของแต่ละคน รวมทั้งหาวิธีการแก้ไข สิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างการทำงานไว้ด้วย
? ขั้นตอนที่ 4 : ลงมือปฏิบัติตามแผน เมื่อวางแผนเสร็จ กระบวนการทำเสร็จ 
? ขั้นตอนที่ 5 : สนทนาสะท้อนผลหลังการปฏิบัติ ขั้นตอนนี้ต้องกลับมาสรุปกันในทีมก่อน แสดงความเห็นร่วมกันว่าปัญหาที่เราเลือกและนำวิธีแก้ไขไปใช้นั้น 


ผลจากการปฏิบัติ

ประเด็นด้านผู้เรียน

- สามารถเลือกเรียนในช่วงเวลาในการเรียนได้ตามต้องการ

- เรียนได้ทุกที่ ตามที่ต้องการเพียงแค่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ในการเข้าถึงสื่อ

- การเรียน เช่น คอมพิวเตอร์PC  โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน เป็นต้น

- สามารถทบทวนความรู้โดยไม่จำกัดเวลา

- การวัดผลและประเมินผลสามารถส่งถึงผู้เรียนโดยตรง  นักเรียนสามารถตรวจสอบผลงาน 

- แก้ไขงานให้ดีขึ้นได้ตามความต้องการ

-  สมาร์ทโฟนที่นักเรียนใช้  เป็นของผู้ปกครอง  หรือสมาร์ทโฟนที่นักเรียนใช้ต้องอาศัยสัญญาณ

อินเทอร์เน็ตจากเครื่องของผู้ปกครองช่วงเวลากลางวันจึงไม่สามารถเรียนได้เพราะผู้ปกครองไปทำงาน 

ประเด็นด้านกิจกรรม

-  ครูสร้างห้องเรียนออนไลน์แบบเรียลไทม์  สามารถเข้าใช้ได้ตลอดเวลา  เช่น Google Classroom เมื่อนักเรียนสะดวก

- ครูจัดทำคู่มือการเรียน  ตารางเรียนลงในห้องเรียนออนไลน์  นักเรียนสามารถตรวจสอบตารางเรียนล่วงหน้า และเตรียมอุปกรณ์ในการเรียนให้พร้อม  เช่น  หูฟัง  สมุดจดบันทึก  เครื่องเขียน

- สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเรียนออนไลน์ได้ตามตารางเรียนที่กำหนด  ระบบGoogleclassroom ครูในแต่ละรายวิชาสามารถจัดทำใบความรู้  ใบงาน  ชุดแบบฝึกต่างๆ เสริมเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ในการพัฒนาตนเอง ตามศักยภาพ

ประเด็นด้านครู

1) ข้อดี/หรือจุดเด่นในการเตรียมการสอน

                   -  สามารถคัดเลือกวิธีการเรียนการสอน  สื่อและเทคโนโลยีรวมถึงแอพลิเคชั่นที่ครูและ                         นักเรียนเข้าถึงได้ง่าย  และเข้าถึงได้มากที่สุด

                   -  สามารถปรับปรุงเนื้อหาให้มีความถูกต้อง  และเหมาะสำหรับนักเรียนในภาวะการแพร่                      ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

2) ข้อดี/หรือจุดเด่นในการใช้สื่อออนไลน์

- นักเรียนสามารถเข้าถึงสื่อได้ง่าย  รวดเร็ว  โดยไม่ต้องติดต่อกันโดยตรง  ทำให้ลดการเสี่ยง        กับติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

-  สื่อออนไลน์  มีความหลากหลาย  น่าสนใจ  ทำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างท้าทายและมุ่งมั่นใน       การทำงาน

-  การนัดหมาย  ใบงาน ส่งไฟล์งาน การวัดผลประเมินผล  ทำได้ง่ายและรวดเร็วโดยผ่าน         แอพพลิเคชั่นต่างๆ  เช่น Zoom , Google Classroom  ซึ่งมีระบบการทำงานแบบ

เรียลไทม์และช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย Google Meet , Google from ,

Google drive เป็นต้น นอกจากนั้น         ยังสามารถสื่อสารผ่านแอพลิเคชั่น Line ซึ่งเป็น

ช่องทางที่นักเรียนผู้ปกครองเข้าถึงได้ง่ายและมากที่สุด

-  ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติลดใช้กระดาษ  โดยให้    

  นักเรียนทำแบบฝึกหัด  แบบทดสอบผ่านระบบออนไลน์  จากโปรแกรมออนไลน์

  Google froom  ซึ่งรวมอยู่ในห้องเรียนออนไลน์  Google Classroom

3) ข้อดี/หรือจุดเด่นในการสอนนักเรียน

- การวัดผลและประเมินผลสามารถส่งถึงผู้เรียนโดยตรง  นักเรียนสามารถตรวจสอบผลงาน 

แก้ไขงานให้ดีขึ้นได้ตามความต้องการ

4) ข้อดี/หรือจุดเด่นในการพัฒนาตนเอง

          - สามารถใช้สื่อการสอน  สร้างรูปแบบการสอนด้วยตนเอง   

                    - สามารถเลือกใช้สื่อ และแนะนำสื่อที่เหมาะสมกับนักเรียน

                   - สามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้อื่นผ่านแอพลิเคชั่นต่างๆ  เช่น youtube  facebook  Line                  เป็นต้น

5) ปัญหา/อุปสรรค

                   - สัญญาณอินเทอร์เนตระบบ WIFI  ในโรงเรียนมีคุณภาพต่ำ  สัญญาณไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่        

            ในโรงเรียน  จึงต้องใช้สัญญาณจากโทรศัพท์มือถือเมื่อต้องมาปฏิบัติงานที่โรงเรียน  ทำให้มี     

            ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น  

ประเด็นด้านสื่อการสอน

เตรียมการได้ง่าย

ครูสามารถเพิ่มนักเรียนได้โดยตรงหรือแชร์รหัสเพื่อให้นักเรียนเข้าชั้นเรียนได้ การตั้งค่าใช้เวลาเพียงครู่เดียว ผ่านบัญชีอีเมล์ Google Apps for Education

ประหยัดเวลา

กระบวนการมอบหมายงานเรียบง่าย ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ทำให้ครูสร้าง ตรวจ และให้เกรดงานได้ในที่เดียวกัน ช่วยจัดระเบียบนักเรียน

สามารถดูงานทั้งหมดของตนเองได้ในหน้างาน และเนื้อหาสำหรับชั้นเรียนทั้งหมดจะจัดเก็บอยู่ในโฟลเดอร์ภายใน Google ไดรฟ์โดยอัตโนมัติ

สื่อสารกันได้ดีขึ้น

Classroom ทำให้ครูส่งประกาศและเริ่มการพูดคุยในชั้นเรียนได้ทันที นักเรียนสามารถแชร์แหล่งข้อมูลกันหรือตอบคำถามในสตรีมได้

ประหยัดและปลอดภัย

Google Classroom ไม่มีโฆษณา ไม่ใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของนักเรียนในการโฆษณา และให้บริการฟรีสำหรับโรงเรียน

ใช้ได้ทุกอุปกรณ์

สามารถเข้าถึง Google Classroom ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์

ประโยชน์ของ Google Classroom สำหรับอาจารย์/คุณครู

สามารถจัดเก็บไฟล์งานให้อย่างเป็นระบบ ภายใต้ Folder “Classroom”  สามารถสร้างเทมเพลต Assignment และทำสำเนาให้กับนักเรียนนักศึกษาแต่ละคนสั่งงานและกำหนดวันส่งการบ้านได้  ตรวจงาน และให้คะแนนสะดวก ประหยัดเวลา

เช็คได้ว่าใครยังไม่ส่งงาน

ประเด็นด้านบรรยากาศการสอน

              ครูสร้างห้องเรียนออนไลน์  Google Classroom  และจัดการเรียนการสอนแบบเรียลไทม์ โดยนักเรียนสามารถศึกษาความรู้ในทุกรูปแบบ  ผ่านการสร้างรูปแบบการเรียนรู้ของครู  มีการวัดผลประเมินผลออนไลน์  นักเรียนสามารถพัฒนาปรับปรุงผลงานได้   ตั้งค่าการใช้งานได้ง่ายดาย     โดยผู้สอนสามารถเพิ่มผู้เรียนได้โดยตรงหรือแชร์รหัสเพื่อให้ผู้เรียนเข้าชั้นเรียนได้ การตั้งค่าใช้เวลาเพียงครู่เดียว  โดยนักเรียนสามารถเข้าถึงได้ทุกคน


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]