นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์
ป.๑ By
ครูยุวดี นุชทรัพย์ มีช่องทางออนไลน์คือ
๑. เฟซบุ๊ก ครูยุวดี นุชทรัพย์ มีสมาชิกและผู้ติดตามมากว่า ๕,๐๐๐ คน
ใช้เป็นช่องทางโพสต์กิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ได้ทบทวนบทเรียนและเข้ามาเรียนรู้เพิ่มเติมและให้ผู้ปกครองได้ติดตามบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกับนักเรียน
และ PLC
ร่วมกับครูที่ติดตามนำเทคนิค
สื่อ วีสอนไปประยุกต์ใช้
๒.
ไลน์กลุ่มผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ที่ใช้สื่อสารและจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนร่วมกับผู้ปกครอง
นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ ประกอบด้วย ๔
กิจกรรม ดังนี้
๑. กิจกรรมห้องเรียนออนไลน์ สไตล์ JEAB Model By facebook
ครูยุวดี นุชทรัพย์
๒. กิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน Read in the
morning everyday
๓. กิจกรรม Family Line By ครูยุวดี
นวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ประกอบด้วย
๔ กิจกรรม ดังนี้
๑. กิจกรรมห้องเรียนออนไลน์ สไตล์ JEAB Model by facebook ครูยุวดี นุชทรัพย์
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ สามารถทบทวนบทเรียนที่เรียนไปแล้วได้ตลอดเวลา
๒.
เพื่อเป็นช่องทางสื่อระหว่าง ครู
ผู้ปกครอง และนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๓.
เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และผู้ปกครอง
ได้ใช้เวลาเรียนรู้ด้วยกันยามว่าง
๔.
เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมสื่อเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
สู่บุคคลภายนอก
วิธีดำเนินการ
๑. วิเคราะห์มาตรฐาน / ตัวชี้วัด เนื้อหา
จัดทำหน่วยการเรียนรู้สู่การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน
ด้วยรูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ JEAB Model ซึ่งมี ๔ ขั้นตอน ดังนี้
Jolly บทนำเพลินใจ เป็นขั้นแรกของกิจกรรม ใช้การกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
โดยใช้กลวิธีดังนี้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนเป็นการปลุกเร้าความสนใจ
จะต้องทำให้นักเรียนประทับใจ สนุก และอยากเรียนรู้ ข้าพเจ้าจะใช้วิธีที่หลากหลาย
เพื่อไม่ให้นักเรียนรู้สึกว่าซ้ำซาก และเบื่อหน่าย เช่น Brain Gym เกม เพลง นิทาน ปริศนาคำทาย
การใช้คำถาม และ ข่าวเหตุการณ์ เป็นต้น โดยเปิดโอหาสให้นักเรียนฝึกกระบวนการคิด สังเกต
จดจำ การฝึกเป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดทักษะอันจะส่งผลให้คิดเป็น แก้ปัญหาได้
ตัดสินใจกระทำการบนพื้นฐานของเหตุผล ได้อย่างชาญฉลาดในอนาคต
Educating
ความรู้ใหม่น่าศึกษา
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใด ๆ ก็ตาม หากสามารถสร้างความตระหนักในความสำคัญของเรื่องที่จะเรียนได้
จะส่งผลให้นักเรียนกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติกิจกรรมด้วยความเต็มใจ
เพราะเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายต่อชีวิตจริง
ใช้สื่อหลากหลาย กิจกรรมสร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นคุณค่าของเรื่องที่จะเรียนได้ด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการเรียนรู้
Active Learning
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สื่ออย่างหลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้สัมผัสกับแหล่งเรียนรู้หลาย ๆ ประเภท
อันจะเป็นข้อมูลให้นักเรียนตัดสินใจเลือกปฏิบัติได้อย่างมั่นใจ เช่น เกม เพลง
นิทาน แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ห้องสมุด ผู้รู้ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้สอนต้องเป็นผู้จัด
การเรียนรู้ที่ชาญฉลาด
คอยใช้คำถามกระตุ้นชี้นำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อเหล่านั้น
ได้ด้วยตนเอง
Adding
Knowledge พัฒนาองค์ความรู้สำหรับตน
ขั้นนี้เป็นการฝึกทักษะให้นักเรียน
อ่าน เขียน ทั้งนี้ทั้งสองทักษะต้องพัฒนาควบคู่กันไป
การอ่านเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่นักเรียนจะต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่องทั้งการอ่านในใจและการอ่านออกเสียง
เพื่อเสริมสร้างความสุขในการอ่าน ข้าพเจ้าจึงสร้างวรรณกรรม
ซึ่งเป็นนิทานชุดสระเดี่ยวพาเพลิน จำนวน ๑๘ เล่ม ควบคู่กันไป ประจำหน่วย เนื้อหาในนิทานสนุกสนาน สอดแทรกคุณธรรม
และมีภาพประกอบสวยงาม
จากนั้นสร้างแบบฝึกการเขียนให้สอดคล้องกับเรื่องที่อ่าน ซึ่งทำให้นักเรียน
เรียนรู้อย่างสนุกสนาน รวมทั้งใช้สื่ออื่น
ๆ อย่างหลากหลายทั้งที่ครูเป็นผู้ผลิต และนักเรียนผลิตเอง
Best
Evaluation ประเมินผลหลากหลาย
ดำเนินการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ในการพัฒนา
มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
กำหนดวิธีการวัดประเมินผล เครื่องมือที่ใช้วัด และเกณฑ์การวัดไว้อย่างชัดเจน
ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนการสอน
มีความครอบคลุมทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ
ใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายรูปแบบ
ได้แก่ การประเมินตามสภาพจริง การประเมินโดยใช้แฟ้มพัฒนางาน การประเมินตนเอง
เพื่อนประเมินเพื่อน ครูและผู้ปกครองร่วมกันประเมิน
๒.
นำแผนการจัดการเรียนรู้นำเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติ
๓. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั่วโมงภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่
๑ ตามแผนการจัดการเรียนรู้
๔. ขณะจัดกิจกรรมครูบันทึกภาพกิจกรรม
และผลงานของนักเรียนในชั่วโมงตามขั้นตอน
๕. โพสต์ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน
เขียนแคปชันขั้นตอนการทำกิจกรรม และวิธีประเมินผล สั้น ๆ ง่าย ๆ ลงใน facebook
ส่วนตัว (ครูยุวดี
นุชทรัพย์) ในช่วงเย็นหลังเลิกเรียนทุกวัน โดยมีเพื่อน และผู้ติดตามfacebook จำนวน ๕,๐๐๐ กว่าคน
๖. หลังจากโพสต์ลง facebook ไปแล้ว นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจทั่วไป สามารถเข้าชมได้เพราะตั้งค่าเป็นสาธารณะ
หากมีข้อสงสัยก็สามารถแสดงความคิดเห็น หรือสอบถามได้เช่นกัน
๗. ทำเช่นนี้ทุกวันตลอดปีการศึกษา
๒.
กิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน Read in the
morning everyday
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ได้เตรียมสมองก่อนเรียนในช่วงเช้า โดยการอ่านหนังสือ
๒.
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีนิสัยรักการอ่าน
และนำการอ่านไปใช้ในการเรียนรู้ในสาระอื่น ๆ
๓.
เพื่อให้ผู้ปกครอง และนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และตระหนัก
และเห็นความสำคัญของการอ่านซึ่งเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑. ประชุมผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เพื่อนัดหมายเวลาอ่านหนังสือยามเช้า
ในวันจันทร์ –
วันศุกร์ เวลา ๐๖.๔๕ - ๐๗.๔๕
๒.
เตรียมนิทานชุดสระเดี่ยวพาเพลินจำนวน ๑๘ เล่มเพื่อใช้ในการอ่าน ซึ่งครูยุวดี
นุชทรัพย์
เป็นผู้แต่งเนื้อเรื่องด้วยตนเอง
ดังนี้
เล่มที่ ๑ นิทานสระอา
เรื่อง นิทานของมาม่า
เล่มที่ ๒ นิทารสระอู
เรื่อง รถตู้คันหรูของคุณปู่
เล่มที่ ๓ นิทานสระอี เรื่อง ผีตานี
เล่มที่ ๔ นิทานสระโอ
เรื่องเหตุเกิดจากส้มโอ...ตอนแรก
เล่มที่ ๕ นิทานสระโอะ
เรื่อง เหตุเกิดจากส้มโอ...ตอนจบ
เล่มที่ ๖ นิทานสระอุ
เรื่อง อ้วนฉุ ตุ๊ต๊ะ อุ้ยอ้าย
เล่มที่ ๗ นิทานสระอะ
เรื่อง มะลิร้อยมาลัย
เล่มที่ ๘ นิทานสระอิ
เรื่อง มะลิลิงน้อยช่างคิด
เล่มที่ ๙ นิทานสระเอ
เรื่อง เล่นต้องเต
เล่มที่ ๑๐ นิทานสระออ
เรื่อง ดินสอวิเศษ
เล่มที่ ๑๑ นิทานสระเออ
เรื่อง สองเกลอเจอแม่มด
เล่มที่ ๑๒ นิทานสระอึ
เรื่อง อึ่งอ่างกลับใจ
เล่มที่ ๑๓ นิทานสระอือ
เรื่อง กระบือของตาลือ
เล่มที่ ๑๔ นิทานสระแอะ
เรื่อง แกะและแพะ
เล่มที่ ๑๕ นิทานสระแอ
เรื่อง แมวลายจุดสีแดง
เล่มที่ ๑๖ นิทานสระเออะ
เรื่อง มาเป็นหนอนหนังสือกันเถอะ
เล่มที่ ๑๗ นิทานสระเอะ
เรื่อง แม่มดชิตาเกะ
เล่มที่ ๑๘ นิทานสระเอาะ
เรื่อง วัวสามตัวกับเจ้าเงาะ
นิทานทุกเล่มสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
และมีความสนุกสนาน อีกทั้งยังมีภาพประกอบที่สวยงาม
๒.
เตรียมบทอ่านที่สอดแทรกความรู้ และเหตุการณ์ปัจจุบัน เช่นภาวะโลกร้อน เทศกาลลอยกระทง การรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้า สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 และโรคติดต่อโควิด-19 เป็นต้น
๓.
เมื่อนักเรียนมาอ่านหนังสือตามเวลาที่นัดหมายกับครูเป็นรายบุคคล
ครูบันทึกสถิติการอ่านลงในสมุดบันทึกของครู เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนานักเรียน
นอกจากนี้ยังติดสัญลักษณ์ในบันทึกการอ่านให้นักเรียนทุกคน
เพื่อเป็นการเสริมแรง
๔. ออนไลน์ทางเฟซบุ๊กส่วนตัว
ครูยุวดี นุชทรัพย์ และทางไลน์กลุ่มผู้ปกครอง
โดยจัดทำเป็นคลิปการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ในตอนเช้าของทุกวัน
๓. กิจกรรม Family Line By ครูยุวดี
วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารอย่างรวดเร็วกับผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
กับครูประจำชั้น
๒. เพื่อเป็นช่องทางการเรียนรู้ที่ง่าย สะดวก
และรวดเร็ว ระหว่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ กับครู
๓.
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีนิสัยรักการอ่าน
และนำการอ่านไปใช้ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ชั้นตอนการดำเนินงาน
๑.
ประชุมผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เพื่อประชุม และบอกประโยชน์ของการมีไลน์กลุ่ม
ห้อง ป. ๑
๒. เมื่อผู้ปกครองมีมติเห็นด้วย
ก็ดำเนินการจัดตั้งไลน์กลุ่มห้อง ป. ๑ ซึ่งมีครูประจำชั้นเป็นแอดมิน และมีกติกาอยู่ว่า ทุกเรื่องที่ส่งในไลน์กลุ่มต้องเป็นไปในเชิงบวก
และสร้างสรรค์
๓.
เมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยในการบ้านหรือกิจกรรมที่ทำ ก็สามารถส่งคำถามเพื่อถามครูได้แม้ว่านักเรียน
จะกลับบ้านไปแล้ว
๔.
ครูจัดกิจกรรมทบทวนบทเรียนให้นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้ผู้ปกครองใช้ทบทวนให้บุตรหลาน ขณะอยู่ที่บ้าน
๕
ครูจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้นักเรียนทางไลน์ในช่วงวันหยุด
และปิดภาคเรียน เช่นอ่านหนังสือให้ฟัง
แล้วให้นักเรียนอ่านตาม
จากนั้นส่งบทอ่านที่เป็นนิทานไปให้
เมื่ออ่านจบก็ส่งแบบฝึกหัดไปให้ทำ
และเมื่อนักเรียนคนใดทำเสร็จก็ส่งมาทางไลน์
ครูจะตรวจคำตอบให้ทางไลน์แล้วส่งกลับไปในไลน์กลุ่มทุกคน
๖ หนังสือนิทาน
และบทอ่านที่ส่งให้นักเรียนทางไลน์ จะเป็นบทอ่านที่ครูยุวดี นุชทรัพย์ เขียนขึ้นเอง
ส่วนนิทานก็เป็นนิทานที่แต่งขึ้นเอง ชื่อนิทานชุดสระเดี่ยวพาเพลิน จำนวน ๑๘ เล่ม
ซึ่งเผยแพร่ให้ครูทั่วประทศนำไปใช้มาตลอดระยะเวลา ๑๐ ปี ทั้งนี้นิทานทุกเรื่อง และบทอ่านทั้งหมด ใช้คำที่อยู่ในคำพื้นฐานของ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และความสนุกสนาน ไว้ทุกเรื่อง รวมทั้งมีภาพประกอบที่น่าสนใจ ดึงดูดความสนใจของเด็ก
๔. กิจกรรม PLC ออนไลน์ By ครูยุวดี นุชทรัพย์
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเผยแพร่กิจกรรมห้องเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่
๑ โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
๒.
เพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษาฝึกสอน
ครูผู้ช่วย
และผู้ที่สนใจทั่วไปนำวิธีการสอนวิชา ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่
๑ โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ ที่ประสบผลสำเร็จไปทดลองใช้กับห้องเรียนอื่น ๆ บ้าง
๓. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำ PLC ออนไลน์ ระหว่างเพื่อนครูทั้งในและนอกโรงเรียน ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ ทั้งนี้เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ และมีทัศนคติเชิงบวกต่อกัน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑.
โพสต์นำเสนอการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
๑ เผยแพร่ใน เฟซบุ๊ก ครูยุวดี นุชทรัพย์
โดยเริ่มทำการโพสต์กิจกรรมของห้องเรียน ป. ๑ ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๘ จนถึงปัจจุบัน
โดยการวางกรอบการนำเสนอ กำหนดหน่วยการเรียนรู้ ออกแบบเทคนิควีการสอน เตรียมสื่อการสอน เกม
เพลง กิจกรรม และเตรียมเนื้อหาโพสต์ลงเฟซบุ๊กทุกวัน ซึ่งมีเพื่อนและผู้ติดตามมากกว่า ๕,๐๐๐ คน
ในแต่ละโพสต์ประกอบไปด้วย
- คลิปการสอน ตามรูปแบบ JEAB Model (Jolly บทนำเพลินใจ , Educating ความรู้ใหม่น่าศึกษา , Adding Knowledge
พัฒนาองค์ความรู้สำหรับตน ,
Best Evaluation ประเมินผลหลากหลาย)
- ผลิตสื่ออ่าน เขียน ภาษาไทย มีทั้งสื่อที่ครูผลิต และสื่อที่นักเรียนผลิต
- เผยแพร่เทคนิควิธีสอน
๒.
หลังจากโพสต์ไปแล้วครูจากทั่วประเทศสามารถแชร์บทเรียนไปสอนนักเรียนของตนเองได้
หรือผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ก็สามารถแชร์ไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ทางการศึกษาได้เช่นกัน
ผลที่ได้จากการทำนวัตกรรมห้องเรียนออนไลน์ By ครูยุวดี นุชทรัพย์ ทั้ง ๔ กิจกรรม ทำให้ครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ร่วมมือกัน เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกคนให้เรียนรู้ และพัฒนาทักษะการอ่านได้เต็มตามศักยภาพ ทำให้ได้เผยแพร่ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือสู่สังคมออนไลน์ นอกจากนี้ยังส่งผลให้นักเรียน และผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการอ่านซึ่งเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ ทำให้นักเรียนและผู้ปกครองใช้เวลาว่างในการทบทวนบทเรียนหรือเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยกัน ทางช่องทางออนไลน์ ๒ ช้องทางคือ เฟซบุ๊ก และไลน์กลุ่มผู้ปกครอง ซึ่งทั้ง ๒ ช่องทาง เป็นการสื่อสาร ๒ ทาง สามารถสนทนาโต้ตอบกันได้ตลอดเวลา สำคัญการเผยแพร่ บรรยากาศ และกิจกรรมออนไลน์
ทำให้มีการทำ PLC ออนไลน์ในวงกว้าง
ซึ่งมีครูจากทั่วประเทศนำเทคนิควิธีสอน และสื่อการสอน ไปประยุกต์ใช้