1. เกริ่นนำ
กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต
ปลูกฝังการอ่านอย่างต่อเนื่อง สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเร้าความสนใจ ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ปัญหาการอ่าน เริ่มจากง่ายไปหายาก เริ่มจากหนังสือที่ชอบหรือสนใจนำไปสู่ความแปลกใหม่ของการเรียนรู้
สภาพทั่วไป
ด้วยโรงเรียนวัดแจงร้อนได้เล็งเห็นความสำคัญของการอ่านและสอดคล้องกับนโยบายของกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการอ่านของนักเรียน โดยกำหนดเป้าหมายให้นักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกต้องเป็นศูนย์ จากการทดสอบประเมินสภาพการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของผู้บริหารและครูผู้สอนภาษาไทยในภาคเรียนที่ 1/ ปราก2562ปราฏว่ามีนักเรียนยังอ่านหนังสือไม่ออก ส่งผลทำให้การเรียนไม่ดี ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน
2. ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1. ประชุมชี้แจงให้ครูและบุคลากรเข้าใจถึงความสำคัญของการอ่าน
2. ดำเนินการด้วยวิธีที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนรักการอ่าน โดยจัดนักเรียนที่อ่านไม่ออก อ่านไม่คล่อง
โดยให้ครู 1 คนดูแลนักเรียนซ่อมเสริมการอ่านจำนวน 2-3 คน
3. จัดโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่าน
วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1. เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่คล่อง การอ่านไม่ออกของนักเรียน
2. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สูงขึ้น
3. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในกลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย
เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ นักเรียนโรงเรียนวัดแจงร้อนที่อ่านหนังสือไม่คล่อง อ่านหนังสือไม่ออกลดลง
ร้อยละ 90 ขึ้นไป
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ นักเรียนทุกคนอ่านหนังสือออก และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
2. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart (แผนภูมิ) ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ขั้นที่ 1 คัดกรองนักเรียน
ขั้นที่ 2 ประชุมชี้แจงและมอบหมายให้ครูดูแลนักเรียนที่อ่านไม่ออก/อ่านไม่คล่องอย่างใกล้ชิด
ขั้นที่ 3 ครูดำเนินการสอนอ่านนักเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย
ขั้นที่ 4 ติดตามและประเมินผลเป็นระยะ
ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมเสริม และจัดทำสื่อ นวัตกรรมเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
นักเรียนร้อยละ 90 ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
สามารถสร้างนิสัยรักการอ่านได้