สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนวิชูทิศ
กระบวนการพัฒนา

๒.วัตถุประสงค์ 

           1. เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กระดับชั้นปฐมวัย มีประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

           2. เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กระดับปฐมวัย ได้ฝึกการสังเกต รู้จักคิดหาคำตอบด้วยตนเอง

           3. เพื่อวางรากฐานระยะยาวในการสร้างนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

           4. เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์


๓.เป้าหมาย

         ๓.๑ ด้านปริมาณ

               ๓.๑.๑ เด็กระดับปฐมวัยอนุบาล ๑ และ    จำนวน     ห้อง  รวมทั้งสิ้น  171  คน 

               ๓.๑.๒ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยและครูวิทยาศาสตร์จำนวน  ๑๖  คน

         ๓.๒  ด้านคุณภาพ

                ๓.๒.๑ ครูผู้สอนระดับปฐมวัย และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ มีความรู้ความเข้าใจ สามารถใช้สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้สนุกและเหมาะสมกับวัย

                ๓.๒.๒ เด็กระดับปฐมวัย ได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้าน การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ

การสื่อความหมาย กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และการแสดงออกได้เหมาะสมกับวัย

 

๔. ลักษณะโครงการ

          เป็นโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดปีและเป็นโครงการใน กลยุทธ์ที่ ๑ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้มีทักษะในการสังเกต เปรียบเทียบและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

 

๕. แนวทางการดำเนินงาน

          ๕.๑ ขออนุมัติโครงการ

          ๕.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

          ๕.๓ ดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ 

          ๕.๔ จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้“กล่องนักวิทยาศาสตร์น้อย”อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ กิจกรรม 

โดยบูรณาการกับแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

          ๕.๕ บันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พร้อมภาพประกอบตามแบบที่กำหนด

          ๕.๖ สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา เพื่อรับพระราชทานตรา 

“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 


๖. งบประมาณ

          เบิกจ่ายจากงบประมาณโรงเรียนวิชูทิศ

 

๗. ปัญหาและอุปสรรค

          ๗.๑. ครูผู้สอนระดับปฐมวัย ที่ยังไม่ผ่านการอบรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโครงการ อาจยังไม่มีทักษะในการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็ก

 

๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          ๘.๑. ครูผู้สอนระดับปฐมวัย สามารถจัดกิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

          ๘.๒. เด็กปฐมวัย มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์



๙.  การติดตามและประเมินผล

     ๙.๑ ติดตามการปฏิบัติงาน และนิเทศการสอนแก่ครูผู้ผ่านการอบรมตามโครงการเดือนละ    ครั้ง

     ๙.๒ ประเมินจากการสรุปและรายงานผลการปฏิบัติงาน


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินงาน

๑.     ด้านการวางแผนปฏิบัติโครงการ (P)

๑.๑ ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อชี้แจงจุดประสงค์รายละเอียดและวางแผนกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน

 

๒.     ด้านการปฏิบัติกิจกรรม (D)

2.1 คณะกรรมการดำเนินการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อวางแผนกำหนดแนวทางการดำเนินงานและจัดทำปฏิทินการปฏิบัติโครงการ เพื่อจัดกิจกรรมการทดลอง 22 กิจกรรมที่กำหนดไว้

 

๓.     ด้านการตรวจสอบประเมินผล (C)

3.1 จากการจัดโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖4  พบว่าครูผู้สอนระดับปฐมวัย และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ มีความรู้ความเข้าใจ สามารถใช้สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้สนุกและเหมาะสมกับวัย และเด็กระดับปฐมวัยได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้าน การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การสื่อความหมาย กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และการแสดงออกได้เหมาะสมกับวัย ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

 

๔.     ด้านแนวทางแก้ไขและพัฒนา (A)

๔.๑ หากิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนระดับปฐมวัยได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้าน         การสังเกต การสื่อความหมาย กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และการแสดงออกได้เหมาะสมกับวัยมากขึ้น


ปัญหาและอุปสรรค

     การดำเนินการตามแผนงานปฏิทินที่กำหนด แต่อาจมีบางกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ในวันเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นปัญหาที่พบเป็นประจำทุกปี เนื่องจากมีสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน และกิจกรรมหรืองานนโยบายเร่งด่วนต่างๆ แต่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จตามปฏิทินของโครงการทุกครั้ง      

 

ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขหรือพัฒนา

     กำหนดแผนและปฏิทินการปฏิบัติงานของกิจกรรมให้มีความยืดหยุ่น เตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน และโครงการหรืองานนโยบายเร่งด่วนต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป และปัญหาดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก  


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]