สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการสวนไม้ในเมือง
โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
กระบวนการพัฒนา

๑. ขั้นวางแผน (P) ทุกฝ่ายร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน โครงการสวนไม้ในเมือง

๑. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ฝ่ายบริหาร  คณะครู  พระอาจารย์วัดใหม่อมตรส  คณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อศึกษานโยบายของโรงเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ  ผลการดำเนินโครงการฯ ในปีที่ผ่านมา บริบทและสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการฯ วิเคราะห์ปัญหา และหาข้อสรุปร่วมกัน เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนา และแก้ปัญหา

๒. กำหนดกิจกรรมในโครงการ การดำเนินงานโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของโรงเรียน

และการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนด้านการเรียนการสอนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

           ๓. วางแผนการดำเนินงาน  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โดยคำนึงถึง ความถนัด ความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ ของแต่ละบุคคล โดยการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และการประสานความ

ร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

          ๔. กำหนดแนวปฏิบัติและระยะเวลาการดำเนินงานอย่างชัดเจน โดยคำนึงถึงศักยภาพของบุคลากร

ความต้องการของผู้เรียน ครู ผู้ปกครองและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้

          ๕. ตรวจสอบคณะกรรมการผู้รับผิดชอบกิจกรรมในโครงการ ดำเนินการตรวจสอบ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม แนวปฏิบัติที่กำหนดว่ามีมีความเหมาะสมรัดกุม มีความเป็นไปได้ที่จะทำงานให้สำเร็จ มองเห็นการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มต้น จนงานสำเร็จ

๒.  ขั้นดำเนินการ (D)

               ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนงานโครงการสวนไม้ในเมือง โดยเน้นให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ

วัตถุประสงค์ข้อที่ ๑  เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้ในเรื่องของการเกษตร สร้างจิตสำนึกให้นักเรียน ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนมีความรักและเห็นคุณค่าของพืชพรรณไม้ ไม่คิดทำลายและมีแนวคิดในการอนุรักษ์ต่อไป

โดยผ่านการจัดกิจกรรม

                - กิจกรรมเกษตรสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ เพื่อให้ความรู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รู้จักพืชผักในท้องถิ่น โดยผ่านการจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้

    - กิจกรรมสวนครัวลอยฟ้า

           วัตถุประสงค์ข้อที่ ๓ เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้และการเก็บรักษาเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา    โดยผ่านการจัดกิจกรรม

                - กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ออนไลน์สวนไม้ในเมือง

๓. ขั้นติดตาม (C)        

                ติดตามการดำเนินงาน และคอยอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่โครงการกำหนด โดยยึดวัตถุประสงค์ที่กำหนดผลสำเร็จ ประเมินพฤติกรรมนักเรียนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา ความเอื้ออาทรผู้อื่น ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ และมารยาทที่ดี เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมอันดีงาม ประเมินความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

๔. ขั้นประเมินและรายงานผล (A)

                     ๔.๔.๑ ประชุม รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม และพัฒนาโครงการสวนไม้ในเมือง ของโรงเรียนวัดใหม่อมตรส ในปีการศึกษาต่อไป ( Feedback )             

                     ๔.๔.๒ สรุปการประเมินโครงการฯ

                     ๔.๔.๓ จัดทำรายงานโครงการฯ นำเสนอฝ่ายบริหาร

 


ผลจากการปฏิบัติ

 ผลการดำเนินงาน / ประโยชน์ที่ได้รับ

จากการจัดกิจกรรมโครงการสวนไม้ในเมือง ส่งผลให้ได้รับประโยชน์ดังนี้

๑.  ด้านนักเรียน   นักเรียนโรงเรียนวัดใหม่อมตรส มีการพัฒนาพฤติกรรมที่ดี ดังนี้

                            -  นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรของสถานศึกษา และมีเจตคติที่ดี                          

     ต่อการประกอบอาชีพสุจริต (สัมมาชีพ)  ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน

๒.  ด้านผู้ปกครองและชุมชน

                            -  คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง มีส่วนเข้าร่วมในทุกกิจกรรม ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน  


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]