ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศมีแนวคิดในการพัฒนาดังนี้
1. การพัฒนาด้านความรู้
1.1
บูรณาการความรู้ในทุกกลุ่มสาระ
1.2
โครงการสำนึกพลเมือง
1.3 โครงการโรงเรียนอีโคสคูล
2.
การพัฒนาด้านทักษะ/ปฏิบัติ
2.1
โครงการผ่องพลอยรักษ์สิ่งแวดล้อม (ผลิต EM Ball และน้ำหมักชีวภาพ)
2.2
โครงการเปิดโลกแหล่งเรียนรู้ (สวนเกษตร บ้านลุงแดง)
3.
การพัฒนาด้านเจคติ
3.1
โครงการธนาคารความดี
3.2
โครงการจิตสาธารณะ
3.3 โครงการผ่องพลอยลดใช้พลังงาน
ขั้นตอนการดำเนินการพัฒนาตามกรอบการพัฒนา
เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายของนักเรียนคุณภาพ
ครูและผู้บริหารคุณภาพ ในโรงเรียนคุณภาพ ตามนโยบาย ของกรุงเทพมหานคร โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์จึงวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโดยการมีส่วนร่วมจากผู้บริหาร
คณะครู บุคลากรในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน
ซึ่งกรรมการทั้ง 4 ฝ่าย เป็นผู้มีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
เพื่อร่วมกันค้นหา จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน
(Weakness)
โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threats)
และนำข้อมูลที่ได้มากำหนดวิสัยทัศน์
อันเป็นเข็มทิศในการนำทางการดำเนินงานของโรงเรียนเพื่อบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องและสนองตอบนโยบายการบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
ตรงตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชน
และโรงเรียนสามารถดำเนินการได้ตามบริบทของโรงเรียน จากนั้นกำหนดเป้าหมาย
และพันธกิจ ตลอดจนยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นแนวทางวิธีการที่โรงเรียนจะดำเนินการภายใต้โครงการและกิจกรรมต่อไป ซึ่งผลการวิเคราะห์ SWOT ปรากฎดังนี้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ( SWOT Analysis )
จุดแข็ง (Strength)
๑.
ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกล
๒.
ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม และบริหารงานโดยใช้หลักธรรมมาภิบาล
๓.
ผู้บริหารส่งเสริม สนับสนุนครู บุคลากร และนักเรียน
ในการพัฒนาตนเองให้เกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพ
๔.
ผู้บริหารมีความยุติธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย
๕.
ครูมีความรู้ ความสามารถที่หลากหลาย
นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสื่อสารและการจัดการเรียนการสอน
๖.
ครูมีความสามัคคี ทำงานเป็นทีม
๗.
ครูสอนได้ตรงตามวิชาเอก
๘.
ครูมีความเสียสละ รักองค์กร อุทิศตนเพื่อส่วนรวม
๙.
ครูมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ
๑๐.
โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
๑๑.
โรงเรียนมีการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและมาตรการความปลอดภัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
๑๒.
นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม
๑๓.
นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่าน
๑๔.
นักเรียนมีความสามารถด้านดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ กีฬาและนันทนาการ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่ดี มีความกล้าแสดงออก
๑๕.
นักเรียนมีความสามารถด้านเทคโนโลยี ใช้คอมพิวเตอร์เป็น แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
๑๖.
โรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนที่มีการคมนาคมสะดวก
๑๗.
โรงเรียนมีแหล่งวิทยาการทางการศึกษา
ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
๑๘.
โรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนที่มีการคมนาคมสะดวก
จุดอ่อน(Weaknesses)
๑. ครูบางส่วนไม่นำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน
๒. โรงเรียนมีพื้นที่จำกัด เป็นอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน
๓. นักเรียนบางส่วนขาดความรับผิดชอบ
ไม่กระตือรือร้นในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ
๔. นักเรียนบางส่วนใช้เทคโนโลยีในทางที่ไม่เหมาะสม
โอกาส(Opportunities)
๑.
ชุมชนมีส่วนร่วมให้การสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
๒.
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร ในการจัดห้องคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
๓.
โรงเรียนได้รับงบประมาณจากกรุงเทพมหานคร
และเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ
๔.
กรุงเทพมหานครให้การสนับสนุนงบประมาณจัดการศึกษาตามนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
12
อุปสรรค(Threats)
๑. ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง
ไม่มีเวลาในการสนับสนุนการศึกษาหรือมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโรงเรียน
๒. ผู้ปกครองบางส่วนขาดความพร้อมในการอบรมเลี้ยงดูบุตร
ครอบครัวแตกแยก
๓. ปัญหาการย้ายถิ่นของผู้ปกครองในการประกอบอาชีพทำให้การเรียนของนักเรียนไม่ต่อเนื่อง
๔. การจราจรโดยรอบโรงเรียนหนาแน่นทำให้ไม่สะดวกในการเดินทาง
๕. ผู้ปกครองบางส่วนมีปัญหาด้านค่าใช้จ่าย
ทำให้ไม่สามารถสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนของบุตรหลานเท่าที่ควร
๖. ระเบียบการบริหารด้านงบประมาณ มีขั้นตอนมาก ไม่เอื้ออำนวยในการปฏิบัติงาน
๗. นโยบายเรียนฟรีของกรุงเทพมหานคร
ทำให้ผู้ปกครองส่งบุตรมาเรียนเกินอัตรากำลังต่อห้องเรียน
๘. โรงเรียนมีงานที่ได้รับมอบหมาย ภารกิจจากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานภายนอกมากมีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินงาน
1. โรงเรียนมีการพัฒนาด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ ของโรงเรียน “นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดีของสังคม มีองค์ความรู้ ก้าวทันเทคโนโลยี มีความเป็นไทยรู้เท่าทันสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคม”
2. ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี
ในการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน ร้อยละ 90
3. ครูมีการพัฒนาการเรียนการสอนด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม
ร้อยละ 100