สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
โรงเรียนวัดลานบุญ
กระบวนการพัฒนา

1.วางแผน (P)

     1.1 ศึกษานโยบาย จุดเน้น ของโรงเรียน ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ  

     1.2 ศึกษาผลการดำเนินการที่ในปีการศึกษาที่ผ่านมา 

 1.3 ศึกษาบริบทและสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการพัฒนาการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์

   1.4 จัดทำกิจกรรมเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ

2.ดำเนินโครงการ (D)

 2.1 มอบหมายและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

2.2 ดำเนินงานตามแผนที่กำหนด

2.3 ดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น กะละมัง หลอดกาแฟ กระดาษกรอง    สีเมจิก น้ำยาล้างจาน กลีเซอรีน ฯลฯ ในวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

2.4 จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้ “กล่องนักวิทยาศาสตร์น้อย” อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 กิจกรรม หรือปีการศึกษาละ 20 กิจกรรม 2 โครงงาน 2.4 คณะครูนำแผนจัดประสบการณ์ไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และทักษะพื้นฐานทางภาษาต่างประเทศ ให้เด็กมีความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้ต่อในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

2.๕ จัดกิจกรรมการเรียนรู้กับสะเต็มศึกษา (STEM EDUCATION) โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง (Brain-based Learning ; BBL) อย่างน้อยปีการศึกษาละ 10 กิจกรรม

3. ขั้นนิเทศติดตามผล (C)

 นิเทศติดตามการดำเนินงานและอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่กำหนดในกิจกรรม  

 3.1 นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงาน

 3.2 ประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงาน

 3.3 รวบรวมปัญหา แนวทางแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ(ถ้ามี)

4.ขั้นสรุปผลและประเมินผล (A)

  4.1ผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปผลการดำเนินงาน

  4.2.จัดทำรายงานสรุปกิจกรรม นำเสนอฝ่ายบริหาร


ผลจากการปฏิบัติ

1.   ครูผู้สอนอนุบาลสามารถจัดกิจกรรมตามโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีครูวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการอบรมตามโครงการเป็นที่ปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ

2.   นักเรียนอนุบาลมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]