1.วางแผน (P)
1.1 ศึกษานโยบาย จุดเน้น ของโรงเรียน ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
1.2 ศึกษาผลการดำเนินการที่ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
1.3 ศึกษาบริบทและสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการพัฒนาการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์
1.4 จัดทำกิจกรรมเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
2.ดำเนินโครงการ (D)
2.1 จัดทำเอกสารการพัฒนานักเรียน การประเมินเพื่อคัดกรองนักเรียน
2.2 เอกสารประกอบการจัดกิจกรรม เอกสารการทดสอบนักเรียนด้านการอ่านการเขียน การคิดวิเคราะห์
2.3ดำเนินกิจกรรมตามวัน/เวลา ที่กำหนด ผ่านกิจกรรม 5 กิจกรรม
1. กิจกรรม 10 นาทีมหัศจรรย์ยามเช้าเพื่อลูกรักการอ่าน
2. กิจกรรมเขียนตามจินตนาการ
3. กิจกรรมแก้ไขปัญหา การอ่าน การเขียน /อัจฉริยะตัวน้อย
4. กิจกรรมพ่อแม่สอนลูก
5. กิจกรรมอาขยานหรรษา
3. ขั้นนิเทศติดตามผล ?
นิเทศติดตามการดำเนินงานและอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่กำหนดในกิจกรรม
3.1 นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงาน
3.2 ประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงาน
3.3 รวบรวมปัญหา แนวทางแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ(ถ้ามี)
4.ขั้นสรุปผลและประเมินผล (A)
4.1ผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปผลการดำเนินงาน
4.2.จัดทำรายงานสรุปกิจกรรม นำเสนอฝ่ายบริหาร
โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียน
การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนทั้งในรูปแบบออนไซต์ (ระดับมัธยมศึกษา)
และรูปแบบออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เพื่อให้นักเรียนมีทักษะด้านการอ่าน
การเขียน และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
และประเมินค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ที่ดี
และมีนิสัยรักการอ่าน