แบบรายงานแนวปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)
“ศิลปะสร้างสรรค์ สร้างสุข ยุคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning”
โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร
1. ความเป็นมาและความสำคัญของแนวปฎิบัติงานที่เป็นเลิศ
ภายใต้พลวัตของข้อมูลข่าวสารและการคมนาคม ในสภาพการณ์ปัจจุบัน ทำให้โลกที่กว้างใหญ่คับแคบลง การเตรียมความพร้อมของประชาชนที่มีคุณภาพของชาติ จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในยุคปัจจุบันที่ตั้งอยู่บนฐานความรู้ ความคิด ที่ต้องอาศัยทักษะในด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้นานาประเทศต่างปรับเปลี่ยนเป้าหมายไปสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ต้องอาศัยการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพของ “คน” การศึกษาจึงมีความสำคัญที่สุดในการสร้างชาติ ระบบการการศึกษาของไทยภายหลังการปฏิรูปการศึกษาได้เริ่มให้ความสำคัญในการส่งเสริมการคิดให้แก่เด็กและเยาวชน ดังปรากฏในเป้าหมายของหลักสูตรของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะว่า การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เข้าใจหลักการ ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานความรู้ทางศิลปะและมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ที่สะท้อนผลถึงทักษะกระบวนการสร้างสรรค์ที่ใช้แนวคิด การตอบสนองของความรู้สึก โดยผ่านสื่อชนิดต่าง ๆ ที่เรียกรวมกันว่า “ผลงานศิลปะ”
การจัดการเรียนรู้ของครูที่เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning นั้นมีเทคนิคการสอนที่หลากหลายเพื่อก่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและเรียนรู้จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันเพื่อให้ได้ฝึกทักษะการคิด โดยมีการวางเงื่อนไขและกติกาในการร่วมกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการทำงานกลุ่ม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตลอดจนทักษะการสื่อสารที่ถือว่ามีความจำเป็นและสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างมาก โดยผู้เรียนจะมีโอกาสนำเสนอสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ขึ้นมาและครูมีเพียงบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ
เพื่อให้การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความสมบูรณ์ ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ผู้เรียนควรได้รับการส่งเสริมให้ได้เรียนรู้ทั้งวิชาที่เป็นศาสตร์และศิลป์ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและขวาอย่างสมดุล โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์) ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวข้างต้นจึงได้มีการประชุมและกำหนดอัตลักษ์ของโรงเรียนว่า “ศิลปะสร้างสรรค์ สร้างสุข”โดยทางโรงเรียนมีนโยบายสร้างเสริม ให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านทัศนศิลป์ ผ่านการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการ บูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่หลากหลายตามธรรมชาติวิชาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถเป็นผู้มีศักยภาพอย่างเหมาะสมในสังคมยุคปัจจุบันสามารถที่จะสื่อสารความรู้ความคิดได้กับคนทั่วประเทศและทั่วโลกผ่านผลงานทางศิลปะ
2. วัตถุประสงค์/เป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่หลากหลายตามธรรมชาติวิชา
2) เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมองทั้งสองซีกอย่างเป็นระบบ ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระ
2.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
2.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
นักเรียนทุกระดับชั้นได้รับการพัฒนาทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ร้อยละ 90
2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1) นักเรียนทุกระดับชั้นมีความพึงพอใจ ที่ได้รับการพัฒนาสมองสองซีก โดยใช้ทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning
๒) โรงเรียน ผู้ปกครอง/ชุมชน มีความพึงพอใจต่อผลการพัฒนาทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning
3. กระบวนการการดำเนินการ วิธีการและนวัตกรรมที่เป็น Best Practice
3.1 กลุ่มเป้าหมายในการทำ Best Practice ไปใช้ใด้แก่ นักเรียนทุกระดับชั้น คุณครูทุกคน/นักเรียนและครูแกนนำที่มีความสามารถพิเศษโดดเด่น
3.2 ขั้นตอนในการพัฒนา Best Practice
3.2.1 ประชุมสร้างความตระหนักถึงแนวทางการพัฒนาผู้เรียน โดยการพัฒนาสมองสองซีก ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระ โดยวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง
3.2.2 ผู้บริหารและคณะครูเข้ารับการอบรมและพัฒนาทักษะเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และ การเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างคุณภาพโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ (สนับสนุนโดยมูลนิธิชิน โสภณพนิช)
3.2.3 ผู้บริหารและคณะครูนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติวิชาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยเน้นการบูรณาการวิชาศิลปะ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
3.2.4 คณะครูนำความรู้เรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning มาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละวิชา ตามธรรมชาติวิชาของตนเอง โดยมีการนำเอาวิชาศิลปะมาบูรณาการข้ามกลุ่มสาระด้วย/ครูและนักเรียนแกนนำที่มีความสามารถพิเศษ ใช้เวลาว่างฝึกฝนทักษะเพิ่มเติม
3.2.5 ครูและนักเรียนได้รับการพัฒนาสมองทั้งสองซีก โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning พร้อมกับการบูรณาการวิชาศิลปะ
3.2.6 จัดแสดงผลงานของทุกกลุ่มสาระ ในนิทรรศการวิชาการประจำปีของโรงเรียน/นักเรียนและครูกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ นำผลงานไปร่วมประกวดแข่งขัน
3.2.7 นักเรียนและผู้ปกครองประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมดังกล่าว
3.2.8 ผู้บริหารและคณะครู นำผลที่ได้รับ ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนาและปรับใช้ต่อไป
ผังการดำเนินงาน
(FLOW CHART)
“ศิลปะสร้างสรรค์ สร้างสุข ยุคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning”
4.การตรวจสอบคุณภาพ Best Practice วิธีการ การประเมินความพึงพอใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ประกอบด้วย คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ผลการตรวจสอบคุณภาพ 4.1 ความพึงพอใจของคณะครูที่ได้เข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรม มีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 100 4.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่ได้เข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรม มีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 100 4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้เข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรม มีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 100
5. แนวทางในการนำ Best Practice ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 5.1 คุณครูสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5.2 นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะทางศิลปะและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 5.3 ครูสามารถนำองค์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ไปใช้ในการฝึกฝนนักเรียนในการเข้าร่วมประกวดแข่งขันประเภทต่าง ๆ
6. ปัจจัยความสำเร็จของ Best Practice 6.1 ความร่วมมือของผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองและหน่วยงานภายนอกที่สนับสนุน ส่งเสริม 6.2 มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเหมาะสม 6.3 ผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของกิจกรรมและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
7. บทเรียนที่ได้รับ โรงเรียนมีนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาสมองสองซีก โดยใช้ทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของโรงเรียนคือ “ศิลปะสร้างสรรค์ สร้างสุข” |
8. ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา Best Practice
8.1 ผลสำเร็จเชิงปริมาณ
8.1.1 นักเรียนทุกระดับชั้นได้รับการพัฒนาทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ร้อยละ 100
8.2 ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ
8.2.1 นักเรียนทุกระดับชั้นมีความพึงพอใจ ที่ได้รับการพัฒนาสมองสองซีก โดยใช้ทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning
8.2.2 โรงเรียน ผู้ปกครอง/ชุมชน มีความพึงพอใจต่อผลการพัฒนาทักษะทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning
8.2.3 ผู้บริหาร คณะครู และนักเรียนได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลต่าง ๆ จากหน่วยงานภายนอก
9. การเผยแพร่ผลงาน
9.1 หนังสือการดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง CCE ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โครงการเสริมสร้างคุณภาพโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ
9.2 สูจิบัตรงานแสดงนิทรรศการศิลปะภาพวาด ๒๕๖๓ “The Heart of Giving”
9.3 นิทรรศการ ศิลปะภาพวาด ๒๕๖๓ “The Heart of Giving” ณ หอศิลป์ กรุงเทพมหานคร
9.4 นิทรรศการภาพวาด โครงการกล้าใหม่ใฝ่รู้ ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า
9.5 การนำเสนอการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ณ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
9.6 การนำเสนอการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามแนวทาง CCE ณ โรงแรม อเล็กซานเดอร์
9.7 การจัดแสดงผลงานทางวิชาการ นิทรรศการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2563
9.8 เฟซบุ๊ค โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)