สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School
โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
กระบวนการพัฒนา

กระบวนการทำงาน

ส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School โดยผ่านกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้

1.จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล1 – ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องการจัดการขยะทั้ง 4 ประเภท อย่างมีประสิทธิภาพ (กิจกรรมการคัดแยกขยะขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป ขยะอันตราย การนำกลับไปใช้ประโยชน์ หรือการจัดการที่ถูกหลักสุขาภิบาล การเก็บรวบรวม ข้อมูลปริมาณขยะที่รวบรวมได้) ขยะในโรงเรียนแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ โดยการคัดแยกและทิ้งชนิดของขยะแต่ละประเภทลงในถังขยะที่ถูกต้อง  ประเภทของขยะ ที่ทิ้งกันอยู่ทั่วไปมี 4 ประเภท ได้แก่

https://sites.google.com/site/55181750021n/_/rsrc/1425515529624/kar-khad-yaek-khya-hi-thuk-withi/2.jpg?height=191&width=320https://sites.google.com/site/55181750021n/_/rsrc/1425515693980/kar-khad-yaek-khya-hi-thuk-withi/11.jpg?height=200&width=89 1.1 ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจากการรับประทาน และการประกอบอาหาร สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้ จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดมีประมาณ 35 % ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีเขียว เพื่อจะนำไปทำปุ๋ยหมัก

 

                              

                            

https://sites.google.com/site/55181750021n/_/rsrc/1425515837239/kar-khad-yaek-khya-hi-thuk-withi/12.jpg?height=200&width=95https://sites.google.com/site/55181750021n/_/rsrc/1425515807083/kar-khad-yaek-khya-hi-thuk-withi/4.jpg?height=182&width=3201.2 ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำไปขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 34 % ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีเหลือง เพื่อจะถูกนำไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่

 

 

 

1.3 ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล เช่น ซองบะหมี่สำเร็จรูป เปลือกลูกอม ถุงขนม ถุงพลาสติก  จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ประมาณ 28 %  ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีน้ำเงิน เพื่อจะถูกนำไปฝังกลบรอการย่อยสลาย

https://sites.google.com/site/55181750021n/_/rsrc/1425515925892/kar-khad-yaek-khya-hi-thuk-withi/13.jpg?height=200&width=88https://sites.google.com/site/55181750021n/_/rsrc/1425515954300/kar-khad-yaek-khya-hi-thuk-withi/8.jpg?height=158&width=320

 

1.4 ขยะพิษ หรือขยะมีพิษที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น กระป๋องยาฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 3 % ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีแดง เพื่อจะนำไปกำจักอย่างถูกวิธี

https://sites.google.com/site/55181750021n/_/rsrc/1425516047369/kar-khad-yaek-khya-hi-thuk-withi/14.jpg?height=200&width=89https://sites.google.com/site/55181750021n/_/rsrc/1425516078816/kar-khad-yaek-khya-hi-thuk-withi/9.jpg?height=180&width=320                                             

 

 

 

          ซึ่งกิจกรรมการจัดการขยะทั้ง ประเภทมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. ปลูกจิตสำนึกและให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะก่อนทิ้งแก่บุคลากรและนักเรียน

2. เพื่อให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

3. เพื่อให้ความรู้เรื่องการ รีไซเคิลขยะ

2.ดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงาน

2.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมคัดแยกขยะ

2.2 จัดกิจกรรมโดยแบ่งเป็นฐานความรู้ ทั้งหมด 3 ฐาน ได้แก่

          ฐานที่ 1 เรียนรู้การคัดแยกขยะจากสื่อ cai  ดูวีดีโอ เรื่อง สภาพปัญหาขยะและวิธีการแก้ไข พร้อมการพูดคุยและตอบคำถาม


  
        ฐานที่ 2  ช่วยกันคัดช่วยกันแยกขยะ นักเรียนสามารถเรียนรู้ในการคัดแยกขยะได้ถูกต้อง โดยการลงมือปฏิบัติจริง สามารถบอกความหมายถังขยะ 4 สี และแยกขยะ ประเภทได้

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ฐานที่ 3  ระดมคิดเขียนคำขวัญสร้างจิตสำนึกในการทิ้งขยะ  นักเรียนช่วยกันการเขียนคำขวัญเสริมสร้างจิตสำนึกในการทิ้งขยะให้ถูกที่ ลดปริมาณขยะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


3. การดำเนินกิจกรรมการคัดแยกขยะโดยใช้หลัก ๓Rs ผ่านกิจกรรมดังนี้

3.1 กิจกรรมการลด การใช้ซ้ำ และการคัดแยกนำกลับมาใช้ประโยชน์ (๓Rs)

               เป็นกิจกรรมตามนโยบายการลดปริมาณขยะของโรงเรียน ลดการใช้ภาชนะที่ทำจากโฟม  แก้วพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง ถุงพลาสติกที่ใส่ของใช้ใส่ขนม เปลี่ยนมาเป็นใช้ถ้วย ชาม จาน แก้ว ที่ใช้แล้ว ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

               3.1.1 กิจกรรมการคัดแยกขยะ และนำกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า

                      3.๑.1.๑ กิจกรรมการใช้ขวดพลาสติกมาทำสวนเกษตรรีไซเคิล

                      3.๑.1.๒ กิจกรรมการใช้วัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่น

                      3.๑.1.๓ กิจกรรมการใช้ขวดน้ำพลาสติกมาเป็นขวดบรรจุผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน และน้ำยาชีวภาพ

               3.๑.๒ กิจกรรมการแยกขวดน้ำพลาสติกไปจำหน่ายให้ร้านรับซื้อ

                      3.1.2.1 กิจกรรมนำถุงนมทำงานประดิษฐ์

                      3.1.2.กิจกรรมนำกล่องนมทำงานประดิษฐ์

                      3.1.2.กิจกรรมนำกระดาษลังทำงานประดิษฐ์

3.๒ กิจกรรมการจัดการขยะอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อโรงเรียน

     3.๒.๑ มีแผนการดำเนินโครงการด้านการจัดการขยะอินทรีย์ภายในโรงเรียน

     3.๒.๒ มีการอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการขยะอินทรีย์ เช่น การทำปุ๋ยหมัก และการทำน้ำหมักชีวภาพ

     3.๒.๓ มีการศึกษาดูงานให้ความรู้ด้านการจัดการขยะอินทรีย์

     3.๒.๔ มีการลดขยะอินทรีย์ เช่น การรับประทานอาหารกลางวันให้หมด ตักอาหารให้พอทาน

               3.๒.๕ มีกิจกรรมการแปรรูป หรือการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ เช่น

                      3.๒.๕.๑ กิจกรรมนำเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์

                      3.๒.๕.๒ กิจกรรมการนำไปทำน้ำหมักจุลินทรีย์

                      3.๒.๕.๓ กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

                      3.๒.๕.๔ กิจกรรมการทำน้ำยาล้างจานชีวภาพ

3.๓ กิจกรรมการจัดการขยะรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์แก่โรงเรียน

                ๓.3.1 มีแผนการดำเนินโครงการด้านการจัดการขยะรีไซเคิลภายในโรงเรียน

                ๓.3.2 มีการอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการขยะรีไซเคิล

                       ๓.3.๒.๑ การอบรมนักเรียนหน้าเสาธง เรื่องการคัดแยกขยะรีไซเคิล

                       ๓.3.๒.๒ เชิญวิทยากรจากสำนักงานเขตสวนหลวงให้ความรู้กับนักเรียน เรื่องการคัดแยกขยะรีไซเคิล

               ๓.๓.3 สนับสนุนครู และบุคลากรไปศึกษาดูงาน เรื่อง ขยะรีไซเคิล ที่สำนักงานเขตสวนหลวง

               ๓.3.4 มีการลดขยะรีไซเคิลเช่นการใช้ภาชนะใช้ซ้ำในโรงอาหารของโรงเรียน

               ๓.3.5 มีกิจกรรมดำเนินงานเกี่ยวกับ ขยะรีไซเคิล

                       ๓.3.๕.๑ กิจกรรมธนาคารขยะ

                       ๓.3.๕.๒ กิจกรรมตลาดนัดมือสอง

                       ๓.3.๕.๓ กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล

 

๔. กิจกรรมการจัดการขยะทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์แก่โรงเรียน

              ๔.๑ มีการคัดแยกขยะทั่วไปอย่างชัดเจน และเป็นระบบ

              ๔.๒ มีกิจกรรมการลดขยะทั่วไป เช่น การกำหนดมาตรการห้ามนำโฟม และถุงพลาสติกเข้ามาในโรงเรียน

              4.3 กิจกรรมการคัดแยกขยะทั่วไป และนำกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า

                   4.3.1 กิจกรรมนำถุงนมทำงานประดิษฐ์

                  4.3.2 กิจกรรมนำกล่องนมทำงานประดิษฐ์

                  4.3.3 กิจกรรมนำขวดน้ำทำงานประดิษฐ์


ผลจากการปฏิบัติ

 1. บุคลากรและนักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

  2. มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี 

 3. นักเรียนมีรายได้เสริมจากการขายขยะ 

 4. สภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน สะอาด น่าอยู่ 

 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]