๕.๑ เสนอขออนุมัติโครงการ
และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการเกษตรผสมผสาน
ตามแนวพระราชดำริแบบเศรษฐกิจพอเพียง
และวางแผนการปฏิบัติงานประจำปี
๕.๒ ติดต่อประสานกับสำนักงานเกษตรเขตบางแค สำนักงานเกษตรกรุงเทพมหานคร บริษัทเอกชนและหมวดส่งเสริมอาชีพและพัฒนาชุมชน
เพื่อของบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนนักวิชาการมาให้คำแนะนำ
ความรู้ด้านการเกษตรต่าง ๆ และการดำเนินงาน
๕.๓ เสนอขออนุมัติโครงการและกิจกรรม
๕.๔ ชี้แจงทำความเข้าใจกันระหว่าง
นักเรียน ผู้ปกครอง และครูงานเกษตร
๕.๕ นักเรียน-ครู ร่วมกันวางแผนงานและพิจารณาเลือกโครงการและกิจกรรม
๕.๖ เตรียมเรือนเพาะชำ กะบะชำและวัสดุต่าง ๆ
ที่ใช้ปักชำและเพาะเมล็ดพืช เตรียมแปลงปลูกหรือภาชนะปลูก เช่น กระถาง ถุงพลาสติก ปุ๋ย
เพื่อใช้ปลูกพืชต่าง ๆ เตรียมเครื่องมือเกษตรเกี่ยวกับพืชและดิน
๕.๗ ดำเนินการเก็บเศษพืชต่างๆ
เศษอาหารที่เหลือทิ้งเปล่าไว้ทำปุ๋ยหมัก ทำปุ๋ยชีวภาพ ปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อทำปุ๋ยพืชสด
๕.๘ นักเรียน คนสวน
ครูเกษตร ร่วมปฏิบัติงานและดูแลบำรุงรักษาตามโครงการและกิจกรรม
ได้แก่สวนพฤกษศาสตร์และการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
การปลูกผักสวนครัวในแปลงและปลูกมะนาว การปลูกผักสวนครัวในภาชนะ และปลูกพืชแนวตั้ง
การเพาะเห็ดนางฟ้า การเลี้ยงปลาดุกในถังพลาสติกและเลี้ยงกบในโอ่ง การทำปุ๋ยอินทรีย์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (คูคลองบางเชือกหนัง) จนประสบความสำเร็จ
๕.๙ เขียนป้ายชื่อโครงการต่าง ๆ ป้ายชื่อพันธุ์ไม้และการขยายพันธุ์
นำไปปักประจำพืชชนิดต่าง ๆ
๕.๑๐ เขียนรายงานการสรุปผลเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา
๒.
นักเรียนได้รับความรู้และเทคโนโลยีการเกษตร
เคหกิจเกษตร
ธุรกิจเกษตร
การอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับครอบครัวและท้องถิ่น
๓.
นักเรียนได้ทักษะ
ความชำนาญการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
เคหกิจเกษตร
ธุรกิจเกษตร
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยการปฏิบัติจริง