สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการรักการอ่าน
โรงเรียนสวัสดีวิทยา
กระบวนการพัฒนา

1. ความเป็นมาวัตถุประสงค์

          การอ่านเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่สำคัญของนักเรียน  และเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างดีที่สุด  ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2553 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ) ซึ่งกำหนดให้สถานศึกษาดำเนินการสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม

          โรงเรียนสวัสดีวิทยา ได้เห็นความสำคัญของการส่งเสริมการอ่าน  ซึ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมได้  และจากการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติแห่งชาติ 2553  (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ) มาตรา 22   การจัดการศึกษา  ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  ทางโรงเรียนจึงส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพของตน  จึงได้ส่งเสริมให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการอ่าน  จึงได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนรักการอ่านอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา 

เพื่อให้โครงการดังกล่าวดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง   และเพื่อส่งผลการพัฒนานิสัยรักการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และส่งเสริมลักษณะนิสัยการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ    โรงเรียนสวัสดีวิทยาจึงจัดโครงการโรงเรียนรักการอ่านขึ้น เพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของนักเรียน

 

2.  เป้าหมาย

          2.1  ครูทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงนิสัยรักการอ่าน รู้จักวิธีการจัดกิจกรรมและสามารถแนะนำผู้อื่นได้  กระตุ้นให้ผู้เรียนค้นคว้าหนังสือโดยผ่านกิจกรรมส่งเสริมการอ่านรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ที่รักการอ่าน

          2.2  ครูบรรณารักษ์ของโรงเรียนมีหน้าที่จัดกิจกรรมต่าง ๆเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านโดยได้รับความร่วมมือจากครูอาจารย์ทุกท่านในโรงเรียน และจัดห้องสมุดให้เป็นระบบเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของห้องสมุด

          2.3  นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมรับความผิดชอบในกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

          2.4  บุคลากรในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานงานพัฒนาการอ่านของผู้เรียน

          2.5  ผู้บริหารในโรงเรียนเป็นผู้สนับสนุนในการดำเนินงานทุกด้าน ให้คำแนะ คำปรึกษา ติดตามผล เพื่อให้งานนั้น ๆ สำเร็จ

3.  แนวทางและมาตรการในการดำเนินงาน

            3.1 ดำเนินการประชุมคณะครูและบุคลากร เพื่อให้เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เกิดแก่คณะครู บุคลากร และผู้เรียน

            3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

            3.3 จัดทำแผนงาน / โครงการ / ปฏิทินปฏิบัติงานและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

            3.4 ดำเนินการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ส่งเสริมการอ่านทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน และห้องสมุด

            3.5 ประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

            3.6 สรุปและรายงานผลการดำเนินการ


ผลจากการปฏิบัติ

เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]