กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(Ordinary
National Education Test หรือ O-NET) เป็นการทดสอบความรู้ทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้เรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่
6 มัธยมศึกษาปีที่ 3
และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน ทุกสังกัด ดำเนินการโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
(องค์การมหาชน)
ซึ่งเป็นหน่วยงานภายนอกที่ทำหน้าที่ในการประเมินระดับชาติ การทดสอบนี้มีเป็นการวัดและประเมินผลที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 และเป็นส่วนหนึ่งของระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับ
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
เรียกโดยย่อได้ว่า“ สทศ.”
ใช้ ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “NATIONAL INSTITUTE OF
EDUCATIONAL TESTING SERVICE” (PUBLIC ORGANIZATION) เรียกโดยย่อ
ได้ว่า “ NIETS ” จัดตั้งขึ้นเป็นองค์การมหาชนเพื่อให้การทำงานมี
ประสิทธิภาพสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรได้สูงสุด มีความเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับสายการบริหารของหน่วยงานที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ
การจัดการศึกษาจึงมีความเป็นกลาง เป็นสถาบันที่มีการกำหนดหลักการ นโยบาย
มาตรการและเป้าหมาย โครงสร้างการบริหาร และการดำเนินกิจการความสัมพันธ์กับรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบุคลากรการเงิน
การตรวจสอบ และการประเมินผลที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันเพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา
วิจัยและให้บริการ ทางด้านการประเมินผลทางการศึกษา และทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องรวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทาง
การศึกษาในระดับชาติและนานาชาติ การสร้างระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพในโรงเรียน
นับได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดต่อ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ขององค์การให้บรรลุเป้าหมาย
ดังนั้น สามฝ่ายของบุคลกรในโรงเรียนซึ่งประกอบไปด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน
และนักเรียน ต้องเกิดจากการมีทักษะ ความรู้ความสามารถและสามารถเลือกบทบาทที่เหมาะสมตามศักยภาพแต่ละบุคคลในการขับเคลื่อน
องค์การซึ่งหมายถึง “โรงเรียน”ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น
(สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2554) การบริหารจัดการในเชิงวิชาการภายในโรงเรียนย่อมเป็นส่วนที่สำคัญในการส่งเสริมและ
พัฒนาให้นักเรียนในโรงเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
จนสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ได้ในที่สุดอย่างแน่นอน
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary
National Education Test หรือO-NET) นั้นมุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์สอดคล้องกับ Anderson และ Krathwohl (2001)
ที่ได้กล่าวว่า
วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดการศึกษาในหลายสาขาวิชาทั้งสาขาวิทยาศาสตร์
มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะต่างมีความต้องการ “การเรียนรู้สู่การวิเคราะห์”
เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียนแต่ละโรงเรียน
และเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น ผล O-NET ดังกล่าวถือเป็น
กระจกเงาที่ดีที่จะได้นำไปปรับปรุงให้ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน ในปีการศึกษานี้
การสอบโอเน็ตเป็นการสอบที่ให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเองได้ในการเข้าสอบ
แต่ทางโรงเรียนได้สนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมการทดสอบเพราะการสอบครั้งนี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้นักเรียนได้ประเมินความรู้ของตนเองว่าสามารถทำคะแนนได้มากน้อยเพียงใดซึ่งนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ให้ความร่วมมือเข้าสอบจำนวน 736 คน
สภาพทั่วไป
ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
( O-NET ) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ทดสอบ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คือ ภาษาไทย
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เข้าสอบมีจำนวน
๖๗๐ คน
จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (
O-NET ) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
โรงเรียน |
ประเทศ |
ผลต่าง |
ภาษาไทย |
67.79 |
56.20 |
11.59 |
คณิตศาสตร์ |
41.92 |
29.99 |
11.93 |
วิทยาศาสตร์ |
46.92 |
38.78 |
8.14 |
ภาษาอังกฤษ |
59.81 |
43.55 |
16.26 |
จากตารางผล คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
และคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 50 คะแนน 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คือ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้มีกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์นักเรียนสอบได้ 100 คะแนน 10คน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนักเรียนสอบได้ 100 คะแนน 15
คน
โรงเรียนได้รับรางวัลที่มีผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-net) สูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตลอดระยะเวลา 9 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับเกียรติบัตร เนื่องจากสอบได้ 100 คะแนนเต็มในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
จากผลที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องจากผู้บริหารกำหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอนในกลุ่มแต่ละกลุ่ม ร่วมกำหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ใน ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้น
รวมทั้งจัดทำกำหนดการสอนทุกรายวิชา เพื่อครูได้วางแผนการสอน
ให้ครบตามหลักสูตร เต็มหลักสูตร มีการประชุมวางแผนงานอย่างต่อเนื่อง
โดยใช้กระบวนการ PDCA
ทางด้านครูผู้สอนคือมีการแสวงหาความรู้
คิดหารูปแบบการจัดการเรียนรู้และเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะในการเรียน
ใช้สื่อการสอน นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
สอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาบทเรียน
สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ของผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนมี “แรงจูงใจ” ในการเรียนและการพัฒนาตนเอง
รวมถึงผู้ปกครองให้ความร่วมมือและเห็นความสำคัญในการสอบ
O-NETช่วยสนับสนุน
และส่งเสริมนักเรียนอย่างต่อเนื่องจึงทำให้มีการพัฒนาผลการสอบ
O-NETสูงขึ้นทุกปี
ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
สถานศึกษาในระบบการทำงานโดยใช้หลัก
วงจรเดมมิ่ง
PDCA
(Deming Cycle) โดย
ผลลัพธ์/ผลการดำเนินการ
ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET ) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2562 ทดสอบ
4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คือ
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนทั้งหมด 4,607 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เข้าสอบมีจำนวน ๖๗๐ คน
จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET ) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา
2562 มีคะแนนเฉลี่ยปรากฏ ดังตาราง
ตารางที่
1 รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET )
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา
2562
กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
โรงเรียน |
ประเทศ |
ผลต่าง |
ภาษาไทย |
58.90 |
38.67 |
20.23 |
คณิตศาสตร์ |
44.08 |
32.90 |
11.18 |
วิทยาศาสตร์ |
44.55 |
35.55 |
9.00 |
ภาษาอังกฤษ |
49.52 |
34.42 |
15.10 |
ในปีการศึกษา 2562
คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
6 สูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
และคะแนนเฉลี่ยมากว่า 50
คะแนน 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
นอกจากนี้มีกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์นักเรียนสอบได้ 100 คะแนน 5 คน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนักเรียนสอบได้ 100 คะแนน คะแนน จำนวน 3
คน และคะแนนเต็ม 100 คะแนน 2 กลุ่มสาระ จำนวน 1 คน
จากการดำเนินกิจกรรมเพิ่มผลสัมฤทธิ์ พิชิต โอ เน็ต ( O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
พบว่านักเรียนมีทักษะการวิเคราะห์ขั้นสูง
และได้ฝึกในการทำแบบทดสอบ
ตระหนักถึงความสำคัญ รู้ถึงประโยชน์ในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) โดยจากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ยปรากฏ
ดังตาราง
ตารางที่
2 รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
6 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา
2563
กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
โรงเรียน |
ประเทศ |
ผลต่าง |
ภาษาไทย |
67.79 |
56.20 |
11.59 |
คณิตศาสตร์ |
41.92 |
29.99 |
11.93 |
วิทยาศาสตร์ |
46.92 |
38.78 |
8.14 |
ภาษาอังกฤษ |
59.81 |
43.55 |
16.26 |
ในปีการศึกษา 2563
คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
6 สูงกว่าระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
และคะแนนเฉลี่ยมากว่า 50
คะแนน 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระภาษาอังกฤษ นอกจากนี้มีกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์นักเรียนสอบได้
100 คะแนน
10 คน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนักเรียนสอบได้ 100 คะแนน คะแนน จำนวน 15
คน
เมื่อนำผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาเปรียบเทียบในปี 2562
กับ 2563 ปรากฏ ดังตาราง
ตารางที่ 3 ผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
6 มาเปรียบเทียบกันในปี 2562 กับ 2563
|
ปีการศึกษา 2562 |
ปีการศึกษา 2563 |
||||
กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
โรงเรียน |
ประเทศ |
ผลต่าง |
โรงเรียน |
ประเทศ |
ผลต่าง |
ภาษาไทย |
58.90 |
38.67 |
20.23 |
67.79 |
56.20 |
11.59 |
คณิตศาสตร์ |
44.08 |
32.90 |
11.18 |
41.92 |
29.99 |
11.93 |
วิทยาศาสตร์ |
44.55 |
35.55 |
9.00 |
46.92 |
38.78 |
8.14 |
ภาษาอังกฤษ |
49.52 |
34.42 |
15.10 |
59.81 |
43.55 |
16.26 |
จากตารางพบว่าในปีการศึกษา
2563 คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 กลุ่มสาระ คือ
กลุ่มสาระภาษาไทย กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ
แผนภูมิเปรียบเทียบคะแนน O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย สำนักงานเขต
สายไหม กรุงเทพมหานคร
มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ระดับสังกัด และระดับประเทศ
** ทุกกลุ่มสาระ
ปัจจัยเกื้อหนุน/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ผ่านทุกปีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก
1. ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวางแผน
ร่วมกันดำเนินการ ร่วมกันตรวจสอบ ร่วมกันนิเทศ
ติดตามผลการดำเนินการพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง
ตลอดจนมีการรายงานผลการพัฒนานักเรียนเป็นระยะๆ
เพื่อนำมาใช้พัฒนานักเรียนครูผู้สอนสร้างความตระหนักและสร้างแรงจูงใจในการเรียน
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพื่อให้ผู้เรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยอธิบายให้เห็นความสำคัญของการเรียนและการสอบ
O-NET โดยบอก5 เหตุผล
ว่าทำไมเราจะต้องสอบโอเน็ตกัน คือ 1. วัดระดับความรู้ขั้นพื้นฐาน
อาจจะมีใครหลายๆ คนที่เห็นว่าสอบโอเน็ตไม่ได้มีความสำคัญอะไรมากเท่าไหร่
เพราะสอบไปยังไงก็ไม่ได้ใช้อยู่ดี แต่ใครจะไปรู้ว่าวันหนึ่งเราอาจจะต้องใช้คะแนนโอเน็ตในการพัฒนาด้านการศึกษา
2. สอบเพียงครั้งเดียวในชีวิต เมื่อนักเรียนอยู่ในระดับชั้น ป.6
ซึ่งเราสามารถสมัครสอบได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ถ้าเราขาดสอบก็เท่ากับจะไม่มีสิทธิ์กลับมาสอบใหม่อีกแล้ว ซึ่งไม่เหมือนกับการจัดสอบ
GAT/PAT หรือ 9 วิชาสาขา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๖ ที่เราสามารถสมัครสอบได้เรื่อยๆ คือถ้าเราสอบไม่ทันในครั้งแรกของปีการศึกษา
เราก็สามารถสมัครสอบได้ในครั้งที่สองหรือสมัครในปีถัดไปก็ได้ ๓. การสอบโอเน็ตถึงเป็นการช่วยโรงเรียนของเรา เพราะอย่างที่รู้กันว่าการสอบโอเน็ตนั้นเป็นการสอบเพื่อวัดมาตรฐานของโรงเรียน
ว่าในแต่ละโรงเรียนมีคุณภาพในการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด
ด้วยความที่ข้อสอบของโอเน็ตเป็นฉบับเดียวกันทั่วทั้งประเทศ
จึงทำให้สามารถวัดผลคะแนนของโรงเรียนต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น แนวทางในการดำเนินการเพื่อยกระดับการสอบวัดผลคุณภาพการศึกษา
๑.มีการประชาสัมพันธ์ แจ้งผลการดำเนินการเป็นระยะ และมีการมอบเกียรติบัตรแก่
นักเรียนและห้องเรียนที่มีคะแนนสูง
๒.ครูผู้สอนรู้จักแสวงหาความรู้
คิดหารูปแบบการจัดการเรียนรู้และเทคนิควิธีการสอนที่
หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะในการเรียน
อีกทั้งใช้สื่อการสอน นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
สอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาบทเรียน
สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ของผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนมี “แรงจูงใจ” ในการเรียนและการพัฒนาตนเอง
3. ผู้บริหารสถานศึกษาในด้านการบริหารจัดการและการส่งเสริมสนับสนุนของผู้บริหาร
และควรกล่าวถึงผู้ปกครองนักเรียนด้วย เช่น ผู้ปกครองให้การสนับสนุน
ช่วยเหลือสถานศึกษาในทุกด้าน มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็งแนวทางในการบริหารจัดการโดยกำหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอนในกลุ่มแต่ละกลุ่ม ร่วมกำหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ในปีการศึกษา 2561 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 กำหนดการสอนทุกรายวิชา ทำทุกคน :
เพื่อครูได้วางแผนการสอน ให้ครบตามหลักสูตร เต็มหลักสูตร มีการพัฒนาครู เพื่อให้คำปรึกษา
แนะนำในการปฏิบัติงานด้านวิชาการ หรือการนิเทศภายใน จัดทำแผนการนิเทศ
แนวทางการพัฒนาให้ยั่งยื่น
แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้ยั่งยืนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพื่อให้ผู้เรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดำเนินการพัฒนาต่อดังนี้
1.
ดำรงกิจกรรมเติมการสอนให้เข้มข้น เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 8
กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ในเวลาเรียนปกติ
แต่จะมีการวิเคราะห์และคัดกรองผู้เรียนเป็นกลุ่มๆโดยแต่ละกลุ่มจะใช้เทคนิควิธี สื่อการสอนและแรงจูงใจที่แตกต่างกัน
ตลอดจนมีการเพิ่มความเข้มข้นในเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้นและจะมีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบและขั้นตอนจากง่ายไปหายาก
2.
เลือกเทคนิคและวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตลอดจนสื่อ เครื่องมือวัดและประเมินผล
ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ(สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม)