หลักการและเหตุผล
โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเมืองมีพื้นที่ในการทำงานเกษตรอย่างจำกัดพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นปูนนักเรียนมีโอกาสในการเรียนรู้การปลูกพืชผักค่อนข้างน้อยการหาแนวทางในการปลูกพืชผักโดยจัดการเรียนการสอนนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร มาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต โครงการสวนเกษตรตามรอยเท้าพ่อจึงเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจ
มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต รักการทำงาน
และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียง มีความสุข
ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เน้นการปฏิบัติจริงจนเกิดความมั่นใจ
ภูมิใจในผลสำเร็จของงาน นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นต่ออาชีพ เห็นความสำคัญของคุณธรรม
จริยธรรม เจตคติที่ดีต่ออาชีพ
เห็นคุณค่าของอาชีพสุจริต และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดความตระหนัก
และฝังรากลึกภายในตนเองอย่างยั่งยืน
อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนชอบรับประทานพืชผักที่มีประโยชน์จำเป็นต่อร่างกายตามวัยของนักเรียน
แนวทางการดำเนินงาน
1
เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
2. ประชุมชี้แจง
และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
3. วางแผน และมอบหมายงานแก่ผู้รับผิดชอบ
4. ดำเนินงานตามโครงการ
5. ติดตามผลการดำเนินโครงการ
6. สรุป และรายงานผลการดำเนินการ
ผลการดำเนินโครงการ
1.
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
และสามารถปฏิบัติงานเกษตรการปลูกพืชผักได้ถึงแม้จะมีพื้นที่ที่จำกัดโดยจัดกิจกรรมตามความเหมาะสมกับวัยตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ป.6
โดยการปลูกผักสวนครัวบริเวณระเบียงอาคารเรียน
การปลูกผักไมโครกรีนริมหน้าต่างในห้องเรียน การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์บนดาดฟ้า
การเพาะเห็ด การเพาะถั่วงอกในขวดน้ำ การเพาะถั่วงอกในกล่องนม ฯลฯ
2.
นักเรียนรู้วิธีการเลี้ยงไส้เดือน สามารถนำปุ๋ยมูลไส้เดือนไปใช้ในการปลูกพืชผักได้
3.
นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ชีวิตที่พอเพียง
4.
นักเรียนได้บริโภคพืชผักที่ไม่มีสารพิษตกค้างไปประกอบอาหารรับประทานที่บ้าน ส่งผลให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดี
5.
นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.
นักเรียนนำความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนเผยแพร่ให้ครอบครัวนำไปประกอบอาชีพได้
7.
นักเรียนมีรายได้จากการขายผัก การขายมูลไส้เดือน
ช่วยลดรายจ่ายของครอบครัว
8.
นักเรียนได้มีทักษะในการทำงานเป็นทีม มีจิตสาธารณะ
9.
ได้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
10.
ได้ผักปลอดสารพิษไปประกอบอาหารในโครงการอาหารกลางวัน
11.
นักเรียนสามารถปฏิบัติงานเกษตรการปลูกพืชสมุนไพรในแปลงดินได้
12.
นักเรียนนำพืชสมุนไพรไปทำสเปรย์สมุนไพรกันยุง
13.
คณะครูในโรงเรียนมีความสนใจนำไปดำเนินการที่บ้านเพื่อใช้ในครัวเรือนและดำเนินการเป็นอาชีพเสริม
14.
ขยายผลการเรียนรู้สู่ชุมชน ผู้ปกครอง
นักศึกษามาขอศึกษาดูงานเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
แนวทางการรักษาผลและพัฒนาที่สูงขึ้น
1.
ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา
2.
หาเทคโนโลยีการปลูกพืชแบบใหม่มาสอนนักเรียนอยู่เสมอ
3. นำพืชผักที่ปลูกไปต่อยอดทำประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการนำมารับประทาน และการจำหน่าย
4. ปลูกผักสวนครัวส่งเข้าโครงการอาหารกลางวันนักเรียน