ทิศทางการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560-2564) ได้กำหนดจุดเน้นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเตรียมคนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัยให้มีภูมิคุ้มกันเพื่อเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเสริมสร้างศักยภาพของคนในทุกมิติ
ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง
มีสติปัญญาที่รอบรู้ และมีจิตใจที่สำนึกในคุณธรรมจริยธรรม มีความเพียร
และรู้คุณค่าความเป็นไทย อีกทั้งได้มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไทยสู่ความสมดุล
และยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ให้เข้มแข็งและมีพลังเพียงพอในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประเทศ
โดยเฉพาะการพัฒนาคนหรือทุนมนุษย์ให้เข้มแข็ง
พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโลกในยุคศตวรรษที่ 21 และการเสริมสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพโครงสร้างของสังคมให้เข้มแข็ง
ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพคน การเสริมสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมไทย โดยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
ในอันที่จะยกระดับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้ได้มาตรฐานสากลและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา
ตลอดจนการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย
ดังนั้นระบบการศึกษาในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาของชาติให้มีคุณภาพตามที่สังคมปรารถนา
โดยจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
คุณลักษณะของบุคคลให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศได้
ซึ่งการจัดการศึกษาทุกระบบ คือ การเตรียมเยาวชนสำหรับอนาคตที่มีศักยภาพ
การให้การศึกษาที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
จึงต้องให้นักเรียนสามารถใช้ความรู้ในชีวิตจริง สามารถคิดวิเคราะห์
และแก้ปัญหาเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันในอนาคต
โรงเรียนบ้านบางกะปิได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถ โดยให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาเพื่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันได้อย่างมีความสุข ดังนั้นโรงเรียนบ้านบางกะปิจึงได้มุ่งพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ โรงเรียนจึงได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนขึ้นอย่างชัดเจน ครอบคลุมทั้งการพัฒนาด้านสติปัญญา (IQ) และอารมณ์ (EQ) โดยมุ่งหวังให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลกับผู้เรียนอย่างสูงสุด เน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ มีสุขภาพแข็งแรง มีจิตใจที่แจ่มใส มีสุนทรียภาพ อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข และเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษะตรงตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นโรงเรียนบ้านบางกะปิจึงได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาผู้เรียน ด้วย “รูปแบบการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Banbang-kapi Genius Model)” กล่าวคือ มุ่งพัฒนาผู้เรียนด้าน IQ โดยส่งเสริมให้เป็นคนเก่งอย่างรอบด้าน ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบ Child Centered Education และมุ่งเน้นการปรับพื้นฐานนักเรียนใน 3 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ด้วยเชื่อว่าจะเป็นเครื่องมือไปสู่การเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมุ่งพัฒนาผู้เรียนด้าน EQ ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สังคมปรารถนา ผ่านโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการมาร์ชชิ่งความดี เป็นต้น
รูปแบบการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนบ้านบางกะปิ สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร (Banbang-kapi Genius Model) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 2 การจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และองค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาขอบข่ายงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนบ้านบางกะปิ
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
มีระดับผลการเรียนอยู่ในระดับ 2.5 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 70
2.
คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ผลการประเมิน RT NT ของนักเรียนอยู่ในระดับตั้งแต่ระดับพอใช้ ขึ้นไป
4.
นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 100
5. นักเรียนได้รับรางวัลจากการเข้าประกวดเข่งขันกับหน่วยงานต่าง
ๆ