การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์
๔.๐ ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น
ซึ่งมีลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนและปัญหาเป็นสำคัญ
เพื่อสร้างให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติในกิจกรรมโครงการที่นักเรียนสนใจ ผลจากกระบวนการเรียนรู้
มีทักษะของการทำงานแบบร่วมเรียนรู้และรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตน
ใช้ความสามารถในการสื่อสาร ถ่ายทอดความคิดผ่านการเขียน อภิปรายโต้แย้ง ให้เหตุผล
แสดงความคิดเห็นและสามารถแสดงทัศนคติ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ปัญหาอย่างหลากหลาย
จนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม
ดังนั้นโรงเรียนวัดท่าข้าม จึงจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดหรือมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และเป็นไปตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างแท้จริงนักเรียนสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นนวัตกรรมจากความสนใจและจัดโอกาสให้นักเรียนได้เผยแพร่ความรู้ที่ลงสู่นวัตกรรม
วัตถุประสงค์
1 เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน
การเขียน และการสื่อสาร
2 เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา
3 เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
4
เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
5
เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
6 เพื่อส่งเสริมการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
แนวทางการดำเนินการ
1
ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางพัฒนา
2
เขียนโครงการและขออนุมัติ
3 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
4 ประชุมวางแผนและมอบหมายงาน
5
ดำเนินงานโดยมีกิจกรรม ดังนี้
- กิจกรรมสะเต็มศึกษา
- กิจกรรมออกแบบนวัตกรรมด้วย ICT
- กิจกรรมนวัตกรรมสร้างสรรค์
- กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้แบบโครงงาน
6 นิเทศกำกับติดตาม ปรับปรุง พัฒนา
7 สรุปประเมินผล รายงาน
ผลจาการดำเนินการ
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ทุกคนเข้าร่วมโครงการก้าวไป Thailand นักเรียนได้เรียนรู้จากการทำโครงาน ได้ลงมือปฏิบัติจริงในโครงงานที่นักเรียนสนใจ มีทักษะการทำงานร่วมกัน รู้จักบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเอง ใช้ความสามารถในการสื่อสาร ถ่ายทอดความคิดผ่านการเขียน อภิปรายโต้แย้งให้เหตุผล แสดงความคิดเห็น มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาจากสถานการ์ปัจจุบัน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จนสามารถสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการและบริบทของชุมชนได้ จากกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
กิจกรรมสะเต็มศึกษา
นักเรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบการบูรณาการความรู้ใน4รายวิชาได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง ซึ่งได้จัดกิจกรรมทุกระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่1 กิจกรรมภาพมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่2 กิจกรรมรถแข่งของเล่นชั้นประถมศึกษาปีที่3 กิจกรรมไข่ตกไม่แตก ชั้นประถมศึกษาปีที่4 กิจกรรมเครื่องดักยุง ชั้นประถมศึกษาปีที่5 กิจกรรมปืนยิงขวดน้ำ และชั้นประถมศึกษาปีที่6 กิจกรรมกล่องรูเข็มอย่างง่าย
กิจกรรมออกแบบนวัตกรรมด้วย ICT
นักเรียนสามารถออกแบบชิ้นงานหรือนวัตกรรมโดยใช้ICTได้ โดยมาการให้นักเรียนออกแบบตามจินตนาการ
กิจกรรมนวัตกรรมสร้างสรรค์
การรวบรวมผลงานนักเรียนจาก กิจกรรมค่ายทักษะชีวิต การเข้าฐานออกแบบนวัตกรรม มีการให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและให้นักเรียนออกแบบอุปกรณ์ทำความสะอาด และให้นักเรียนสร้างอุปกรณ์ในการป้องกันเชื้อโรคโควิด 19 มีฉากกั้นและอ่างล้างมือ
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้แบบโครงงาน
นักเรียนทุกระดับชั้นสามารถเรียนรู้แบบโครงงาน สามารถสร้างสรรค์โครงงานได้เหมาะสมกับวัย มีการนำเสนอโครงงานหน้าเวที โดยมีคณะผู้บริหารและคุณครูให้คำแนะนำโครงงานแต่ละห้อง โครงงานที่มีการจัดทำ ดังนี้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้แก่ โครงงานกล่องดินสอจากไม้ไอติม โครงงานประดิษฐ์กล่องอเนกประสงค์จากกล่องนม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โครงงานที่ใส่ของจากแผ่นซีดี โครงงานโคมไฟจากแผงไข่ โครงงานสำรวจรูปสี่เหลี่ยม โครงงานสิ่งประดิษฐ์จากไม้ไอศกรีม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โครงงานเมจิกบล็อก โครงงานสำนวนชวนคิด โครงงานการทำยูทูปแนะนำ โครงงานโมบายรูปเรขาคณิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โครงงานเสื้อเก่ากระเป๋าใหม่ โครงงานที่ใส่กระดาษชำระจากขวดน้ำ โครงงานโครมไฟจากกระดาษทิชชู โครงการแจกันหลากสี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โครงงานสบู่จากกระดาษสา โครงงานกังหันจากขวดพลาสติกไม่ใช้ไฟฟ้า โครงงานไข่เค็มสมุนไพร โครงงานถังขยะอัตโนมัติ และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โครงงานหมวกจากกล่องนม โครงงานอ่างล้างมือรักสะอาด โครงงานโคมไฟจากฝาขวดน้ำ และโครงงานประดิษฐ์โมบายจากหลอดพลาสติก