สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
สถานศึกษาปลอดภัย
โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
กระบวนการพัฒนา

โครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนวัดตรีทศเทพ สำนักงานเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

4.กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน(วิธีปฎิบัติที่เป็นเลิศ )

          การดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนวัดตรีทศเทพ โดยใช้รูปแบบวิธีการ ปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ได้ดำเนินการตามกระบวนการบริหารจัดการที่ปรับประยุกต์ขึ้น โดยใช้วงจร PDCA หรือ Deming Cycle เป็นกิจกรรมพื้นฐาน

ในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน ๔ ขั้น คือ Plan (วางแผน) DO (ปฏิบัติ)Check (ตรวจสอบ) และ Action (การปรับปรุง) โดยมีขั้นตอนดังนี้

เป็นส่วนประกอบของวงจรที่มีความสำคัญ การวางแผนเป็นจุดเริ่มต้น ของ

งาน และเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำงานในส่วนอื่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล มีการดำเนินงานการดังนี้

 1. ผู้บริหาร สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อรับทราบนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ สถานศึกษาปลอดภัย

 2. วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกัน รวมทั้งผลการดำเนินโครงการสถานศึกษา

ปลอดภัยในปีการศึกษาที่ผ่านมา มาร่วมกันออกแบบนวัตกรรมหรือ วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ กำหนดนโยบายความปลอดภัยในสถานศึกษาเป็นลายลักษณ์อักษรและมีการประกาศนโยบายให้เห็นได้ชัดเจน

 3. จัดทำแผนงานและงบประมาณดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานศึกษาที่ชัดเจน

 4. ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เตรียมพร้อมสู่การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและ

คณะทำงาน

ขั้นตอนที่ 2 D : Do (ปฏิบัติ)

1. จัดทำกฎระเบียบหรือคู่มือ/แนวทางว่าด้วยความปลอดภัยในสถานศึกษาที่เหมาะสม

 2. อบรมบุคลากรทุกระดับ ทั้ง ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้าง ให้มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษาตามแผนงานที่กำหนด

3. อบรมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่บุคลากรในสถานศึกษา

4. ดำเนินการเพื่อรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานศึกษา

5. สำรวจ หรือตรวจสอบความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

6. ติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว หรือการต่อสายดินในสถานศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ

7. จัดทำระบบป้องกันและให้ความรู้เรื่องการป้องกันอัคคีภัยในสถานศึกษา เช่น สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ถังดับเพลิง เป็นต้น รวมทั้งการตรวจสอบและบำรุงรักษาที่ชัดเจน

8. จัดทำโครงการความร่วมมือกับสถานีดับเพลิงและกู้ภัยภูเขาทอง ให้ความรู้แก่นักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา ฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นในสถานศึกษาทุกปีการศึกษา

9. การฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมหนีไฟในสถานศึกษาประจำปี

10. จัดให้มีห้องพยาบาล พื้นที่ ปลอดภัย (safe zone) และอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในสถานศึกษา พร้อมผู้รับผิดชอบ

11. กำหนดมาตรการป้องกันการเกิดโรคระบาด โควิด-19 หรือโรคติดต่อให้กับบุคลากร และมีการเผยแพร่ให้ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันการเจ็บป่วย หรือโรคอันเนื่องจากการทำงานในสถานศึกษา

12. จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือ สำหรับนักเรียนและบุคลากร แยกชาย – หญิง ที่พอเพียง

13. มีน้ำดื่มที่สะอาด ที่ล้างหน้า ล้างมือที่ถูกสุขลักษณะและพอเพียงเพื่อให้บุคลากรได้ใช้ก่อนการ

รับประทานอาหาร และหลังรับประทานอาหาร

14. จัดที่รับประทานอาหารและที่พักที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ เช่น ระบบแสงสว่าง ระบบระบาย

อากาศ ระดับความดังของเสียง เป็นต้น

15. พัฒนา ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัยในสถานศึกษา

16. กำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยสำหรับการเรียนการสอนเกี่ยวกับสารเคมี ในสถานศึกษาที่เหมาะสม

และปลอดภัย

17. จัดให้มีช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะด้านความปลอดภัย ในสถานศึกษาจากครู

นักเรียน/ผู้ปกครองและมีการพัฒนาไปปรับปรุงแก้ไข

18. จัดเก็บข้อมูลสถิติเหตุหรือการเจ็บป่วยในสถานศึกษา และการวางแผนป้องกันที่เหมาะสม

19. การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในสถานศึกษารูปแบบต่างๆ

ที่เหมาะสม

๒0. มีหนังสือ ตำรา หรือมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า และการเรียนรู้ของบุคลากรตามมาตรฐานของ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)

๒1. กำหนดมาตรการดูแลเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง เช่น การจัดระบบจราจร การสวมหมวกกันน็อค

๒2. มีการสร้างความร่วมมือและกิจกรรมดำเนินการระหว่างชุมชน ผู้ปกครองและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา ตำรวจนครบาลชนะสงคราม มาให้ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร โทษของยาเสพติด ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 (ประชาธิปไตย) มาให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อ  ไข้เลือดออก และการล้างมือ 7 ขั้นตอน

23. มีชมรมหรือกลุ่มนักเรียนเพื่อดำเนินการด้านปลอดภัยในสถานศึกษา

 ขั้นตอนที่ 3 C : Check (ตรวจสอบ) หมายถึง การตรวจสอบดูว่าเมื่อปฏิบัติงานตามแผน หรือการ แก้ปัญหางานตามแผนแล้ว ผลลัพธ์เป็นอย่างไร สภาพปัญหาได้รับการแก้ไขตรงตามเป้าหมายที่กลุ่มตั้งใจหรือไม่ มีขั้นตอนดังนี้

 1. ประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยกับครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง

 ขั้นตอนที่ 4 A: Action (การปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสม) เป็นการกระทำภายหลังที่กระบวนการ ๓ ขั้นตอนตามวงจรได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ทั้งนี้มีการดำเนินการดังนี้

 1. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัย ต่อสาธารณชนและผู้เกี่ยวข้องทราบ

 2. ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาการดำเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 3. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ

 4. เผยแพร่สู่สาธารณะ และผู้เกี่ยวข้องทราบ?



ผลจากการปฏิบัติ

ได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยปีที่ 3 ตามภาพประกอบ 1-2


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]