วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
(Best
Practice)
กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทยได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา
จนกล่าวได้ว่าเป็นวิถีพุทธ ซึ่งหมายถึง กระบวนการพัฒนา การเรียนรู้ทั้งในด้านความประพฤติ
(ศีล) จิตใจ (สมาธิ) และปัญญา (ปัญญา) เพื่อความเจริญงอกงามในทุกขั้นตอนของชีวิต
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกิน อยู่ ดู ฟัง ในชีวิตประจำวันที่มี สติสัมปชัญญะคอยกำกับ
เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนจนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป
วิถีทางวัฒนธรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย พระธรรมเป็นองค์ความรู้ที่มุ่งสอนให้ผู้ที่ได้ศึกษาเข้าใจในธรรมชาติของโลกและชีวิตที่แท้จริง
และสามารถดำรงชีวิต ได้อย่างเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติมีความสุข สังคมโดยส่วนรวมก็มีความสงบร่มเย็น พระสงฆ์คือผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในฐานะผู้นำคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสั่งสอนแก่พุทธศาสนิกชน
และเป็นผู้ที่จะนำองค์กรศาสนาไปสู่วิถีพุทธได้อย่างแท้จริง
โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา เป็นสถานศึกษาที่มุ่งเน้นให้นักเรียนทุกคนมีความรู้
คู่คุณธรรม นอกจากนี้ยังปลูกฝัง นักเรียนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร มีความมานะอดทน รู้จักรับผิดชอบ
จากสภาพการณ์ปัจจุบัน สังคมไทยมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุอย่างรวดเร็ว
นักเรียนได้รับ การมอมเมาจากสังคมในทุกรูปแบบ ตามสื่อต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหากับเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ จำเป็นอย่าง
ยิ่งที่ต้องปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ที่เป็นหัวใจสำคัญสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานปัญหาสังคมอีกแนวทางหนึ่ง
รวมถึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้คิดดี ทำดี เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพ
อยู่ร่วมสังคมได้อย่างมีความสุข
ในการนี้โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา จึงได้กำหนด โครงการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียนขึ้น โดยยึดแนวทางของโรงเรียนวิถีพุทธ มาประยุกต์ใช้ในกิจกรรม การเรียนการสอนและการบริหารจัดการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนในโรงเรียน โดยการให้นักเรียนเดิน อย่างมีสติ และนั่งสมาธิก่อนเข้าเรียน การนั่งสมาธิเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ผู้ที่ฝึกฝนย่อมได้รับประโยชน์ อเนกอนันต์ แม้จะไม่สามารถฝึกฝนจนบรรลุถึงธรรมชั้นสูงได้ แต่อย่างน้อยที่สุดก็ช่วยให้จิตสงบ และเป็นสุขมากขึ้น นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติธรรม ในวันสำ คัญทางพระพุทธศาสนา โดยนำนักเรียนไปทำบุญในวันพระทุกสัปดาห์ที่ตรงกับวันศุกร์ สวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์สุดสัปดาห์ กิจกรรมเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ การสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ ตลอดทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ประสานงานระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ซึ่งวัดเป็นองค์กรที่ให้การอบรมบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรมเยาวชนร่วมกันกับโรงเรียน ชุมชน อย่างแยกออกจากกันไม่ได้
วัตถุประสงค์และประโยชน์ของ Best
Practice
๑.
นักเรียนเป็นคนดีมีคุณธรรมอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีสุข
มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่สถานศึกษากำหนด
๒.
บุคลากรทุกคนในโรงเรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน
มีความสามัคคี กลมเกลียว
และเป็นกัลยาณมิตรแก่กันและกันโดยใช้วิถีพุทธช่วยกล่อมเกลา
๓.
ผู้บริหาร คณะครู นักเรียน ตลอดทั้งบุคลากรในโรงเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชนและสังคม
๔.
โรงเรียนได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ปกครองและชุมชน
กลุ่มเป้าหมายที่นำ
Best
Practice ไปใช้
๑.
นักเรียนโรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา
๒. คณะครู และผู้บริหารโรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา
๓.
ผู้ปกครองและชุมชน
ขั้นตอนการพัฒนา Best Practice
๑.
ศึกษาแนวทางในการปฏิบัติ ความสำคัญ และการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวทางวิถีพุทธ เพื่อส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรม และสร้างความตระหนักให้กับนักเรียนและบุคลากรทุกคน
๒.
ประชุมเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ นักเรียน
คณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓.
สืบค้นข้อมูลและประสานงานกับพระวิทยากรในท้องถิ่นที่มีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน
โรงเรียนวิถีพุทธ
๔.
นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมการสวดมนต์ไว้พระตอนเช้า สวดมนต์ยาวทุกวันศุกร์ กิจกรรมค่ายคุณธรรม
กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น
๕.
ดำเนินการประเมินตนเองในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
๖.
ปรับปรุงและพัฒนาวิธีการดำเนินงานจากผลการประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมตามแนวทางวิถีพุทธ
ของโรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลาประสบผลสำเร็จนั้น มีขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้
๑.
ผู้บริหารและคณะครูศึกษาแนวทางการปฏิบัติกิจกรรม
สืบค้นข้อมูลประสานงานกับพระวิทยากร เพื่อนำมาปรับใช้ในการจัดกิจกรรม
และมีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และชุมชน
๒.
ผู้บริหารและคณะครูประชุมเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมตามแนวทางวิถีพุทธ และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม
๓.
ดำเนินกิจกรรมตามโครงการกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งได้แก่
- โรงเรียนทำกิจกรรมหน้าเสาธงได้แก่ กิจกรรมการระลึกถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การเชิญธงชาติ กิจกรรมน้องไหว้พี่
- กิจกรรมการนั่งสมาธิก่อนเข้าเรียนในช่วงบ่าย
-
กรรมการสวดมนต์ และร้องเพลงค่านิยมหลัก
12 ประการ ก่อนนักเรียนกลับบ้าน
-
กิจกรรมนักเรียนสวดมนต์ยาว ทำนองสรภัญญะ แผ่เมตตา สมาทานศีล สงบนิ่ง ในวันศุกร์
และมีตัวแทนนักเรียนไปร่วมทำบุญที่วัดชัยพฤกษมาลา
ในวันศุกร์ที่ตรงกับวันพระ
-
กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ เช่น
กิจกรรมวันวิสาขบูชา กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาและกิจกรรมเวียนเทียนถวายเทียนวันเข้าพรรษา
และกิจกรรมวันมาฆบูชา
-
กิจกรมการเข้าค่ายคุณธรรม
-
กิจกรรมเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
องค์ความรู้/ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการนำ Best Practice ไปใช้
จากการประเมินการดาเนินกิจกรรม
ตามแนวทางวิถีพุทธ ก่อให้เกิดองค์ความรู้และประสบการณ์ ตามกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน
ดังนี้
๑.
ผู้บริหาร มีการส่งเสริมการจัดโครงการทางพระพุทธศาสนา
๒.
ครู ได้รับการพัฒนาและฝึกจิต
สามารถนาไปอบรม สั่งสอนนักเรียนในชั้นได้
๓.
นักเรียน ได้ฝึกฝนสมาธิช่วยให้จิตสงบ
ส่งผลให้จิตใจผู้ทาสมาธิผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์สงบ จึงช่วยให้หลับสบายคลายกังวล
ช่วยพัฒนาให้มีบุคลิกภาพดีขึ้น กระปรี้กระเปร่า สง่าผ่าเผย มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
รู้สึกควบคุมอารมณ์จิตใจได้ดีขึ้น เหมาะสมกับกาลเทศะ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเล่าเรียน
เกิดความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
๔. ผู้ปกครองและชุมชน ผู้ปกครองเกิดความภาคภูมิใจในตัวนักเรียน มีการสนับสนุนการเรียนและกิจกรรมต่าง ๆของนักเรียน มีการประสานงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเห็นคุณค่าของวัสดุที่มีในท้องถิ่น และการนำมาใช้อย่างคุ้มค่า
กระบวนการกลั่นกรอง
ตรวจสอบ Best Practice เพื่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ
กระบวนการในการตรวจสอบ
Best
Practice ของโรงเรียนวัดชัยพฤษมาลา เพื่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ ใช้หลักการวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming
Cycle) P-D-C-A ดังนี้
1.
PLAN (P) เป็น
วางแผนขั้นตอนการทำงานทั้งหมดเกี่ยวกับโครงการทางพระพุทธศาสนา มาจัดเรียงลำดับความสำคัญ กำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ/กิจกรรม และเป้าหมายของโครงการ มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินการจัดทำเป็นเอกสาร กำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการ มีผู้รับผิดชอบ
ผู้ตรวจสอบโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู
นักเรียน กรรมการสถานศึกษาและชุมชน
2. D0 (D) เป็นการดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ ขั้นตอนวิธีการต่างๆ ที่เตรียมไว้ใน PLAN นำมาปฏิบัติ โดยศึกษาถุงวิธีการที่ดีที่สุดเอาใช้ให้เกิดประโยชน์ และได้ผลดีที่สุด มีการประชุมชี้แจง แนะนำ อบรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ได้ตามแผนที่วางไว้ และต้องมีการเก็บข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญในระหว่างปฏิบัติงาน เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานในครั้งต่อๆ ไป เพื่อนำไปแก้ไข ปรับปรุง ข้อบกพร่องในการทำงานในครั้งต่อไป
3. Check
(C) ตรวจสอบการทำงานที่ได้ทำไปแล้วจากขั้นตอน D0 ว่าเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่
หรือตามมาตรฐานหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือไม่อย่างไร โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ในการตรวจสอบ ได้แก่
ตรวจสอบระยะเวลาตามเป้าหมาย
คุณภาพของงานที่ดำเนินการ
วิธีการหรือขั้นตอนต่างๆ
ที่ดำเนินการ
แล้วนำมาประมวลผล
สรุปเป็นข้อมูลรายงาน
เพื่อจะนำมาใช้ในการปรับปรุง
และแก้ไขในการดำเนินงานครั้งต่อไป
4.
Acti0n
(A)
หากมีข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบในขั้นตอน Check
จะได้รีบหาวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก
และดำเนินการพัฒนา ปรับปรุง ในระบบการดำเนินงานนั้นๆ ถึงแม้ว่าการตรวจสอบจะไม่พบข้อบกพร่อง
แต่ก็ต้องมีการพัฒนางานและปรับปรุงงานอยู่เสมอ เพื่อให้การดำเนินงานนั้นดีขึ้นกว่าเดิม
มีการขยายผล Best Practice ให้กับหน่วยงานอื่น
๑.
การให้นักเรียนได้ถ่ายทอดความรู้และทักษะที่ตนเองฝึกปฏิบัติให้แก่ผู้ปกครองนักเรียน
๒.
การนำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกสมาธิ เจริญปัญญาในวันสำคัญทางศาสนาร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ