1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 มาตรา 24 ข้อ (3) กำหนดให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดความสำคัญของการอ่านไว้ในสาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 : กำหนดให้ผู้เรียน ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาและมีนิสัยรักการอ่าน และผลการประเมินภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) รอบที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับคุณภาพต้องปรับปรุง โรงเรียนจึงได้ดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมการอ่านในปีการศึกษา 2561 พบว่า มีผลการประเมินในภาพรวมคิดเป็น ร้อยละ94.37 ควรมีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและการสร้างนิสัยรักการอ่านในปีการศึกษา 2562
ทางโรงเรียนวัดโพธิ์(ราษฎร์ผดุงผล) ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านว่าจะสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ซึ่งนำไปสู้การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การที่ผู้เรียนจะอ่านได้ อ่านคล่อง ไม่ใช่ทักษะที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่ต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน การสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนจึงเป็นหน้าที่ของครูและผู้ปกครองทุกคนที่จะช่วยกันส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและมีนิสัยรักการอ่าน คณะกรรมการโครงการโรงเรียนส่งเสริมการอ่าน จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียนและนอกสถานที่ เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะการอ่านที่ดีขึ้น
2.1 เพื่อฝึกทักษะด้านการอ่านให้กับนักเรียน
2.2 เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียน
2.3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
ทักษะด้านการอ่านหมายถึงการอ่านคำพื้นฐานจากหนังสือเรียนภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการรักการ
อ่านหมายถึงพฤติกรรมที่ชอบอ่านหนังสือที่กระทำเป็นประจำโดยแสดงให้เห็นทางพฤติกรรมได้แก่การใช้เวลาว่าง
ในการอ่านหนังสือสมใจทองเรือง (2537 : 18– 24)
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการทำงาน
3.1 ประชุมคณะกรรมการโครงการโรงเรียนส่งเสริมการอ่านเพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม
3.2 กำหนดและมอบหมายผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม
3.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมดังนี้
3.3.1 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกอ่านไม่คล่อง
3.3.2 กิจกรรมการท่องอาขยาน
3.3.3 กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ
3.3.4 กิจกรรมผลิตสื่อการอ่านการเขียน
3.4 ร่วมกับโครงการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
3.5 ร่วมกับโครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้๘กลุ่มสาระจัดกิจกรรมการอ่าน
3.6 ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง
อ่านหนังสือกับลูก อ่านหนังสือให้ลูกฟัง บริจาคหนังสือหรือสนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรม
3.8 ดำเนินงานตามปฏิทินปฏิบัติงาน
3.9 ตรวจสอบติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
3.10 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานผู้บริหาร
๔. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
โครงการโรงเรียนส่งเสริมการอ่าน มีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดร้อยละ 85 เนื่องจากสถานศึกษามีการบริหารจัดการที่เป็นระบบและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพด้านการอ่านของนักเรียน ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน โดยดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการ วางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน พัฒนานักเรียนให้มีทักษะด้านการอ่าน และนิสัยรักการอ่าน ติดต่อประสานงานกับชุมชนขอความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ กำกับติดตามการดำเนินงาน รายงานผลการดำเนินงานเพื่อนำไปทบทวน ปรับปรุงแก้ไข ในปีการศึกษาถัดไปนักเรียนมีทักษะด้านการอ่าน และนิสัยรักการอ่าน คิดเป็นร้อยละ 94.24 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลการประเมินการอ่าน RT คิดเป็นร้อยละ86.62 สูงกว่าทุกระดับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสอบ O - NET ผ่านทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้