๑. ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรสถานศึกษาและมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรทุกปีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและสอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัด
๒. ศึกษานโยบายของสำนักงานเขตและสำนักการศึกษาเพื่อนำมาประยุกต์กับสถานศึกษา
๓. ประเมินพื้นฐานทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียน และนำมาคัดกรองแยกเป็นกลุ่มระดับดีเยี่ยม ดี พอใช้ และระดับที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
๔. ประชุมครูและผู้บริหารโรงเรียน เพื่อหาแนวทางพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนให้พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
๕. จัดทำแผนการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเอื้อต่อการเรียนรู้ที่นักเรียนจะได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยได้อย่างสม่ำเสมอ เช่น กิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน กิจกรรมการเรียนการสอนแบบอภิปรายกลุ่ม และกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเพื่อนสอนเพื่อน ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีโอกาสได้พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยได้ดียิ่งขึ้นโดยมีครูเป็นผู้คอยแนะนำ
๖.
เมื่อครูผู้สอนได้ประเมินการเรียนการสอนในชั้นเรียนแล้วจึงนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีนักเรียนคนใดบ้างที่มีความสามารถใช้หรือสื่อสารด้านทักษะภาษาไทยโดดเด่น
และนำนักเรียนเหล่านั้นมาฝึกซ้อมเพิ่มเติมจนเกิดทักษะการใช้ภาษาไทยขั้นสูงเพื่อส่งเข้าแข่งขันในโครงการแข่งทักษะการใช้ภาษาไทยของเยาวชน
ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งหน่วยงานสูงสุดและเป็นที่ยอมรับในด้านการใช้ทักษะภาษาไทย
๑ เด็กชายธาวิน เรียงเล็กจำนงค์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับรางวัลชมเชย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ระดับประเทศ ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๑ ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
๒ นายนิติพงศ์ ภูฆัง ตำแหน่ง ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.๑ ได้รับรางวัลผู้ฝึกสอน เด็กชายธาวิน เรียงเล็กจำนงค์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับรางวัลชมเชย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ระดับประเทศประจำพุทธศักราช ๒๕๖๑ ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
๓ โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร) ได้รับรางวัลโรงเรียนที่สนับสนุน เด็กชายธาวิน เรียงเล็กจำนงค์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับรางวัลชมเชย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ระดับประเทศ ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๑ ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
๔ โรงเรียนมีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ (Reading Teat : RT) สูงกว่าหน่วยงานต้นสังกัดและระดับประเทศ
๕ โรงเรียนมีผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ (National Test : NT) สูงกว่าระดับประเทศด้านความสามารถด้านภาษา
๖ โรงเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ (Ordinary Education Test : O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสูงกว่าทุกสังกัด และสูงกว่าระดับประเทศร้อยละ ๑๐.๕๗
๗ เด็กชายวรชิต หล่าคะเนย์ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สอบเข้าโรงเรียนมัธยม วัดหนองแขม นอกเขตพื้นที่บริการได้ลำดับที่ ๑
๘
เด็กหญิงสุพินญา สอาดพระโคน
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สอบเข้าโรงเรียนมัธยม วัดหนองแขม
ในเขตพื้นที่บริการได้ลำดับที่ ๑