โรงเรียนได้รับงบการสนับสนุนจากการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) จัดอบรมการเรียนการสอนแบบไฮสโคปและสนับสนุนงบประมาณการจัดห้องเรียนตามแนวคิดและนำไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนระดับชั้นอนุบาล
๑ และระดับชั้นอนุบาล ๒
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้
เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน
เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มี ซึ่ง
ในการเรียนเด็กสามารถเลือกเรียนเลือกปฏิบัติจัดกระทำดำเนินการเรียนรู้และประเมินผลงานของตนเอง
วางแผนการทำงาน และดำเนินตามแผนไว้ตามลำดับพร้อมแก้ปัญหาและทบทวนงานที่ทำด้วยการทำงานร่วมกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กๆ
โดยมีคุณครูคอยสนับสนุนให้เด็ก
การเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย
ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
?-
ด้านนักเรียน เด็กรู้จักการสร้างแนวกระบวนการคิด
การวางแผนให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ
หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ
เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร
การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ซึ่งทำให้เกิดกระบวนการช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง
ทำให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้
เด็กสามารถลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด
ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ และเด็กสามารถสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ
เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ
รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
- ด้านครูผู้สอน สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ทุกกิจกรรม เพราะกระบวนการและวิธีการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กเปิดกว้างมีการคิดการปฏิบัติ ตามวงจรของการวางแผน การปฏิบัติ และการทบทวน ( plan-do-review cycle ) เมื่อทำกิจกรรมแล้วเด็กสามารถที่คิดกิจกรรมอื่นต่อเนื่องได้ตามความสนใจระหว่างการทำกิจกรรม ซึ่งครูกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำกิจกรรมต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มในการเลือกและตัดสินใจทำกิจกรรมและใช้เครื่องมือต่างๆ ตามความสนใจของเด็กเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าได้รับการบอกต่อความรู้
-
ด้านโรงเรียน
สามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้แบบ ไฮสโคป (High Scope) ได้เพราะแนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย
ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ
ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ Active
Participatory Learning คือ การให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับคน สิ่งของ
เหตุการณ์ และความคิด ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญในโลกยุคสมัยนี้เป็นอย่างยิ่ง