สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โรงเรียนดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์
โรงเรียนวัดบางนาใน
กระบวนการพัฒนา

วามเป็นมาและความสำคัญ

ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีไทย ดนตรีพื้นเมือง นาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นเมืองเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติไทยซึ่งสามารถสร้างความสุขความภาคภูมิใจให้แก่ผู้บรรเลง ผู้แสดงและผู้ชม นอกจากนี้ยังสามารถนำไปร่วมแสดงกับเครื่องดนตรีสากลได้อย่างสร้างสรรค์
สำหรับความเป็นมาของการจัดโครงการ“อนุรักษ์ดนตรีไทย พื้นเมือง”นั้นสืบเนื่องมาจากการสนองมาตรฐานการศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มาตรฐานการศึกษาในด้านนักเรียน ตามมาตรฐานที่ ๒เด็กมีสุนทรียภาพทางด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหวตัวบ่งชี้ส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจและร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรีเด็กมีความสนใจและร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหวและมาตรฐานที่ ๓ นักเรียนมีความสนใจร่วมกิจกรรมและแสดงออกด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬาตัวบ่งชี้ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสนใจและร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ และนักเรียนมีความสนใจและร่วมกิจกรรมด้านดนตรี/นาฏศิลป์ ผลจากการสนองนโยบายตามมาตรฐานการศึกษาส่งผลให้โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์) มีเอกลักษณ์คือ สืบสานการแสดงดนตรีพื้นบ้าน (โปงลาง) ซึ่งดำเนินการไปได้ด้วยดีและมีประสิทธิภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์) จึงได้จัดโครงการ“อนุรักษ์ดนตรีไทย พื้นเมือง”เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้ ฝึกฝนทักษะการบรรเลงดนตรี การแสดงนาฏศิลป์ ได้แสดงความสามารถในโครงการและกิจกรรมดังกล่าวทั้งภายในและนอกสถานศึกษาซึ่งสามารถสร้างความสุข ความภาคภูมิใจ ได้เห็นคุณค่าและร่วมอนุรักษ์สืบสานเพื่อให้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทยสืบต่อไป

วัตถุประสงค์

1.      เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ ฝึกฝนทักษะด้านดนตรีนาฏศิลป์

          2.  ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออก มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุข

          3.  นักเรียนได้ร่วมอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรี นาฏศิลป์ของไทย

          4.  นักเรียนสามารถบรรเลงผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากลได้

 

เป้าหมาย

    นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 100 เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์ดนตรีไทย พื้นเมือง

 

กระบวนการ

ขั้นเตรียมการ

      ประชุมการทำงาน

ขั้นดำเนินการ  

          1.  เตรียมความพร้อมและซ่อมบำรุงเครื่องดนตรี

          2.  สำรวจความต้องการและพึงพอใจของนักเรียนในการปฏิบัติเครื่องดนตรี

3.      ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง

ขั้นประเมินผล 

- จัดกิจกรรมมหากรรมดนตรีไทยพื้นเมืองโดยให้นักเรียนได้แสดงความสามารถทางด้านดนตรีเพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะคุณครู ผู้บริหาร และผู้ปกครองผลที่เกิดขึ้นตรงตามวัตถุประสงค์

       - คณะผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมเข้าเยี่ยมชมและให้คำแนะนำเพิ่มเติม


ผลจากการปฏิบัติ

ผลสัมฤทธิ์ของงาน 

- นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะด้านดนตรี สามารถต่อยอดเพื่อเป็นกิจกรรมเสริมยามว่าง

       - ได้รับโล่รางวัลโรงเรียนดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์ จากนายกรัฐมนตรี

 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

     1. ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนในการจัดกิจกรรมอย่างดียิ่ง

     2. นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนรู้ ตั้งใจปฏิบัติ  และขยันฝึกซ้อม

     3. การมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และหน่วยงานที่สนับสนุน