สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการโรงเรียนส่งเสริมการอ่าน
โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฏร์ผดุงผล)
กระบวนการพัฒนา

๑. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม

          หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  ๒๕๕๑ กำหนดความสำคัญของการอ่านไว้ในสาระที่ ๑  การอ่าน  มาตรฐาน ท ๑.๑ : กำหนดให้ผู้เรียน ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาและมีนิสัยรักการอ่าน                                                     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒ )พ.ศ. ๒๕๔๕ และ(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓  มาตรา ๒๔ ข้อ (๓) กำหนดให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง     ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้  คิดเป็น  รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง   โรงเรียนจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนานักเรียนอย่างเต็มตามศักยภาพและปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียน              จากการดำเนินงานโครงการโรงเรียนรักการอ่านในปีการศึกษา ๒๕๖๒  พบว่า การมีส่วนร่วมชุมชนและการสร้างนิสัยรักการอ่านเป็นจุดที่ต้องพัฒนาต่อในปีการศึกษา ๒๕๖๓ และทางโรงเรียนวัดโพธิ์(ราษฎร์ผดุงผล)  ยังประสบกับปัญหานักเรียนอ่านไม่ออก  อ่านไม่คล่อง เนื่องมาจากนักเรียนขาดการพัฒนาด้านการอ่านอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองไม่สามารถเสริมความรู้ให้กับนักเรียน ไม่มีเวลาสอนอ่านเขียน เพราะส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้าง  กรรมกร รับจ้างทั่วไป จึงมีสภาพเศรษฐกิจไม่ดี  นักเรียนส่วนหนึ่งย้ายติดตามผู้ปกครองมาทำงานในเขตนี้  จะมีปัญหาในการเรียนรู้ที่ไม่ต่อเนื่อง นักเรียนบางคนที่มาเข้าใหม่อ่านไม่ออก  อ่านไม่คล่อง เนื่องจากมีการย้ายกลางคันระหว่างเรียน   นอกจากนี้นักเรียนขาดความต่อเนื่องในการสร้างนิสัยรักการอ่าน   สาเหตุอาจจะเกิดจากการที่ครูและนักเรียนมีกิจกรรมด้านอื่นที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร   การใช้เวลาว่างจึงเป็นการทำกิจกรรมอื่นๆซึ่งทำให้ผู้เรียนไม่มีเวลาว่างที่จะใช้บริการของทางห้องสมุดหรือมุมหนังสือในห้องเรียน   นักเรียนบางส่วนยังมีปัญหาด้านการอ่าน   เนื่องมาจากเป็นนักเรียนที่ขาดความพร้อมทางด้านวุฒิภาวะมีความบกพร่องทางการอ่าน          ทางโรงเรียนวัดโพธิ์(ราษฎร์ผดุงผล) เห็นความสำคัญของการอ่านว่าจะสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ซึ่งนำไปสู้การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  การที่ผู้เรียนจะอ่านได้ อ่านคล่อง ไม่ใช่ทักษะที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่ต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน  การสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนจึงเป็นหน้าที่ของครูและผู้ปกครองทุกคนที่จะช่วยกันส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและมีนิสัยรักการอ่าน   คณะกรรมการโครงการโรงเรียนส่งเสริมการอ่าน จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียนและนอกสถานที่ เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะการอ่านที่ดีขึ้น       

 

๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

.๑  เพื่อฝึกทักษะด้านการอ่านให้กับนักเรียน                                                          

.๒  เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียน                                                  

.๓  เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

 

 

 

         นิยามศัพท์เฉพาะ                                                                                     

         ทักษะด้านการอ่านหมายถึงการอ่านคำพื้นฐานจากหนังสือเรียนภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการรักการ

อ่านหมายถึงพฤติกรรมที่ชอบอ่านหนังสือที่กระทำเป็นประจำโดยแสดงให้เห็นทางพฤติกรรมได้แก่การใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือสมใจทองเรือง (๒๕๓๗ : ๑๘๒๔)

 

๓. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการทำงาน 

.๑  ประชุมคณะกรรมการโครงการโรงเรียนส่งเสริมการอ่านเพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม          

.๒  กำหนดและมอบหมายผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม                                                   

.๓  ดำเนินการจัดกิจกรรมดังนี้                                                                                         

..๑  กิจกรรมการแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกอ่านไม่คล่อง                                           

..๒  กิจกรรมการท่องอาขยาน                                                                     

..๓  กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ                                                                   

..๔  กิจกรรมการผลิตสื่อการอ่านและการเขียน 

.๔  ร่วมกับโครงการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน                    

.๕  ร่วมกับโครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้๘กลุ่มสาระจัดกิจกรรมการอ่าน              

.๖  ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  เช่น  พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง  อ่านหนังสือกับลูก  อ่านหนังสือให้ลูกฟัง  บริจาคหนังสือหรือสนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรม 

๓.๗  ร่วมมือกับคณะครูจัดทำกิจกรรมส่งเสริมอ่านให้กับนักเรียน  ตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๖  ดังนี้ 

          ชั้นอนุบาลศึกษา -  คุ้นเคยในพยัญชนะ 

          ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑     -  สะกดคำนำการอ่าน

          ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒     -  เน้นอ่านคำ ย้ำทุกกาล 

          ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓     -  อ่านคำยาก จากตำรา

          ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔     -  ฝึกอ่านกลอน มากคุณค่า       

          ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕     -  พาแต่งเติมเสริมการอ่าน

          ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖     -  เน้นเห็นค่า คิดวิเคราะห์ เหมาะสถานการณ์                

.๘  ดำเนินงานตามปฏิทินปฏิบัติงาน                                                                         

.๙  ตรวจสอบติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

.๑๐ สรุปผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการเพื่อวางแผนพัฒนาในครั้งต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

๔. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ                                                          

          ๔.๑  การแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออก อ่านไม่คล่อง  นักเรียนพัฒนาทักษะ ด้านการอ่านคิดเป็นร้อยละ ๘๓.๙๓ 

          ๔.๒  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านที่ดีขึ้น  โดยเปรียบเทียบผลการทดสอบการอ่านจากแบบทดสอบการอ่านของสำนักการศึกษา  กรุงเทพมหานคร นักเรียนพัฒนาทักษะด้านการอ่านระดับอ่านคล่องและอ่านได้ ๔๐๐ คน  คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๗๑ นักเรียนอ่านไม่คล่องและอ่านไม่ได้ ๑๘ คน ร้อยละ .๒๙ ได้รับการพัฒนาการอ่านอย่างต่อเนื่อง

๔.๓  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ผ่านการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (Reading  Test : RT)  คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๘๑.๗๗   สูงกว่าระดับประเทศ                              

๔.๔  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓  ผ่านการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT; National  Test)         คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๕๔.๑๕  สูงกว่าระดับประเทศ                                                                   

 

 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]