สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
กิจกรรมรักการออม
โรงเรียนคลองลำเจียก
กระบวนการพัฒนา

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐให้ดำเนินไปในทางสายกลาง เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งภายในสภาวการณ์ปัจจุบัน นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้เงินอย่างไม่เห็นคุณค่า ไม่มีเหตุผล ฟุ่มเฟือย ลุ่มหลงในค่านิยมทางวัตถุ และเทคโนโลยีทั้งที่ยังไม่สามารถหารายได้ด้วยตนเอง จึงส่งผลให้พ่อแม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูมากขึ้น นอกจากนั้นนักเรียนขาดการเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต จึงทำให้เมื่อถึงเวลาจำเป็นที่จะต้องใช้เงินไม่สามารถหาเงินได้ ทำให้พ่อแม่ต้องเดือดร้อน

โรงเรียนคลองลำเจียก ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการบูรณาการกับหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และจัดให้มีโครงการธนาคารโรงเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารออมสิน สาขาเดอะคริสตัล จัดตั้งธนาคารโรงเรียน เป็นธนาคารจำลอง ที่ดำเนินการโดยนักเรียนในโรงเรียนมีครูผู้รับผิดชอบ และพนักงานธนาคารออมสินเป็นที่ปรึกษา มีนักเรียนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน โดยนักเรียนผู้ปฏิบัติงานในธนาคารโรงเรียน เป็นนักเรียนที่มีความประพฤติดี มีความรับผิดชอบ มีความละเอียดรอบคอบ มีมนุษยสัมพันธ์ดี ซึ่งเจ้าหน้าที่ของธนาคารโรงเรียนประกอบด้วยนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติงาน ทำหน้าที่ผู้จัดการ พนักงานการเงิน พนักงานบัญชี พนักงานติดต่อ และพนักงานลงรายการ

ธนาคารโรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักบริหารจัดการการใช้เงิน มีทักษะและเป้าหมายที่ชัดเจนในการออม เห็นคุณค่าของการออม มีทักษะในการบริหารงบประมาณ รู้จักคุณค่าของเงินและสิ่งของ มีวิธีคิดที่จะพิจารณาในการใช้เงิน รู้จักการออม รู้จักกระบวนการออมเงิน สามารถนำกระบวนการต่างๆดังกล่าวข้างต้นไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสมกับวัย รู้จักการใช้เงินให้เป็นประโยชน์มากที่สุด อันจะส่งผลให้การดำเนินชีวิตในอนาคตเป็นคนที่มีคุณภาพ

ขั้นวางแผน (Plan)

1.     นำเสนอกิจกรรมต่อผู้บริหาร

2.     จัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงขอบข่ายการทำงานและจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน

3.     มอบหมายผู้รับผิดชอบ 

ขั้นดำเนินงาน (Do)

ช่วงที่ 1 ภาคเรียนที่ 1/2563

1. รับสมัครเจ้าหน้าที่ธนาคารโรงเรียนจำนวน 12 คน

2. อบรมเจ้าหน้าที่ธนาคารโรงเรียนประกอบด้วยนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติงาน ทำหน้าที่ผู้จัดการ

พนักงานการเงิน พนักงานบัญชี พนักงานติดต่อ และพนักงานลงรายการเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

ประชาสัมพันธ์วันและเวลาเปิดทำการของธนาคารโรงเรียนให้นักเรียนทุกคนได้รับทราบ

3. นิเทศการทำงานธนาคารโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมธนาคารโรงเรียน ให้นักเรียนทุกคนรู้ถึงวัตถุประสงค์ กิจกรรมธนาคารโรงเรียน (รับฝาก-ถอน)

5. จัดซื้อวัสดุ  อุปกรณ์ เพื่อใช้ในกิจกรรมของธนาคารโรงเรียน

6. ดำเนินการกิจกรรมธนาคารโรงเรียน (รับฝาก-ถอน) ตามปฏิทินการทำงานของธนาคารโรงเรียน

ช่วงที่ 2 ภาคเรียนที่ 2/2563

1. ทบทวนความรู้เจ้าหน้าที่ธนาคารโรงเรียนประกอบด้วยนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติงาน ทำหน้าที่

ผู้จัดการ พนักงานการเงิน พนักงานบัญชี พนักงานติดต่อ และพนักงานลงรายการเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

2. ประชาสัมพันธ์วันและเวลาเปิดทำการของธนาคารโรงเรียนให้นักเรียนทุกคนได้รับทราบ

3. นิเทศการทำงานธนาคารโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ประชาสัมพันธ์โครงการธนาคารโรงเรียน ให้นักเรียนทุกคนรู้ถึงวัตถุประสงค์ และกิจกรรม

ส่งเสริมการออม โดยกิจกรรมจะแบ่งเป็น 2 กิจกรรม คือ

1. สัปดาห์รักการออม

2.กิจกรรมธนาคารโรงเรียน (รับฝาก-ถอน)

5. ดำเนินการกิจกรรมธนาคารโรงเรียน (รับฝาก-ถอน) ตามปฏิทินของธนาคารโรงเรียน

6. ดำเนินการสัปดาห์รักการออม

7. มอบรางวัลให้แก่นักเรียนที่มีนิสัยรักการออม

8. รายงานยอดเงินฝาก  ถอน ทุกเดือนให้กับธนาคารออมสินสาขาเดอะคริสตัล

ขั้นตรวจสอบ (Check)

1.     จัดทำเอกสาร รายงานสรุปผลกิจกรรม และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารสถานศึกษาว่าสำเร็จตามแผนและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานหรือไม่  สาเหตุของปัญหาและอุปสรรค  

ขั้นการปรับปรุงพัฒนา (Act)

คณะกรรมการฯนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาประชุมวางแผนในการดำเนินงานการปรับปรุงพัฒนา ในปีการศึกษาต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

1. นักเรียนมีนิสัยรักการประหยัด อดออม รู้จักการใช้จ่ายเงิน

2. นักเรียนมีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น

3. นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

4. นักเรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีความรับผิดชอบ มีความสามัคคีกัน

5. นักเรียนมีความรู้ในด้านการบริหาร การบริการ และการทำงานอย่างมีขั้นตอน

6. มีการพัฒนางานในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]