สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการผลิตสื่อจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
โรงเรียนนาหลวง
กระบวนการพัฒนา

        โครงการผลิตสื่อจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้ใช้แนวคิดทฤษฎี PDCA เป็นกระบวนการทำงานที่ยั่งยืน เป็นวงจรพัฒนาคุณภาพที่นำมาอกกแบบนวัตกรรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

Plan ขั้นวางแผน

1.      ประชุมครูเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน

2.      ศึกษารายละเอียด ขั้นตอนการประดิษฐ์กล่องดินสอจากกล่องนม

3.      คณะครูแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

Do ดำเนินการตามแผน

1.      ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกล่องดินสอจากกล่องนม

2.      ครูออกแบบขั้นตอนการทำกล่องดินสอจากกล่องนม

คณะครูร่วมจัดกิจกรรมผลิตสื่อ

Check การตรวจสอบ

1.      ครูทดลองใช้สื่อที่ผลิต

            2.ครูนำสื่อไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน

Action การรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา

1.      สื่อไม่มีความแข็งแรง

            2. ครูนำสื่อที่ใช้มาปรับปรับปรุงเพื่อให้เกิดความแข็งแรงในการใช้งานได้จริง


ผลจากการปฏิบัติ

ผลจากดำเนินงาน

1. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน

        1.1 เด็กมีสื่อที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยรู้จักนำสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวมาประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้ง่ายๆได้

1.2 เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และกล้าแสดงออก

        2. ผลที่เกิดขึ้นกับครู

2.1  ครูผลิตสื่อประกอบการเรียนการสอน

2.2  ครูนำเศษวัสดุที่มีอยู่ในโรงเรียนและเศษวัสดุที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์      

2.3  ครูนำสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวมาประดิษฐ์เป็นสื่อการเรียนการสอนง่ายๆได้

2.4  คณะครู ในสายชั้นอนุบาลร่วมจัดกิจกรรมผลิตสื่อเป็นอย่างดี

3. ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน

3.1     ครูมีสื่อการสอนที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนเหมาะกับพัฒนาการเด็ก

3.2     ครูอนุบาลผลิตสื่การเรียนการสอนที่หลากหลายและสามารถนำสื่อการสอนเพื่อพัฒนาเด็กทั้ง 4 ด้าน

4. ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน

4.1 ชุมชนมีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

        4.2 ชุมชนมีความภาคภูมิใจ ศรัทธาต่อโรงเรียน และช่วยกันพัฒนาโรงเรียนเพิ่มขึ้น

        4.3 เป็นศูนย์กลางของชุมชน

        4.4 องค์กรท้องถิ่น เครือข่ายผู้ปกครอง กรรมการโรงเรียน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนกิจกรรมทุกด้าน


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]