การจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ตามโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ใช้แนวคิดทฤษฎี PDCA เป็นกระบวนการทำงานที่ยั่งยืน
เป็นวงจรพัฒนาคุณภาพที่นำมาอกกแบบนวัตกรรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
Plan
1. ระบุความเป็นมา
-ศึกษาลักษณะปัญหา
หรือ ทักษะพฤติกรรมความสามารถของผู้เรียนจากการประเมินตามสภาพจริง
และวิเคราะห์สภาพปัญหาและเก็บข้อมูลด้านต่างๆ
2. ศึกษาการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ตามโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย
แห่งประเทศไทย
-
ศึกษารายละเอียดของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2560/หลักการจัดกิจกรรม
-
ศึกษาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ปฐมวัย/การเรียนรู้ในโรงเรียน
- ศึกษานวัตกรรม เช่น รูปแบบการสอน วิธีสอน เทคนิคการสอน เช่น ชุดกิจกรรม ระบุขั้นตอนการทำ
Do
3. พัฒนา
ปรับปรุง แก้ไข
-
ออกแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ตามโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย
-
ดำเนินการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ตามโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย
Check
-
ครูผู้รับผิดชอบรายงานผลการดำเนินกิจกรรม
- ผู้บริหาร กำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่อง
- สำรวจความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน
Action
- ครูผู้รับผิดชอบสรุปรายงานผล
- จำทำเล่มรายงานผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ตามโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย
- นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อที่จะได้นำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
การดำเนินงานการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ตามโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย
ให้โอกาสเด็กได้ใช้ความคิดของตนเองผ่านกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์บนกระบวนการสืบเสาะ
ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 อากาศและน้ำ (กู้เรือดำน้ำ) ผลที่เกิดกับเด็ก(ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม) เด็กมีทักษะการสังเกต
การใช้คำถามและการคาดเดาคำตอบได้ เรียนรู้ในเรื่องของการจุ่มขวดลงน้ำ
ฟองอากาศที่อยู่ภายในขวดจะผุดขึ้นมา น้ำไหลเข้าไปเต็มขวดแล้วขวดก็จะจม
แต่ถ้าหากเราใช้หลอดเป่าลมเข้าไปในขวด ขวดจะลอยขึ้นอีกครั้ง
และสามารถนำไปเชื่อมโยงในสถานการณ์ปัจจุบัน กิจกรรมที่ 2 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (การเผาไหม้) ผลที่เกิดกับเด็ก(ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม) เด็กมีการสังเกต ค้นหาคำตอบด้วยตนเองได้
เรียนรู้การเผาไหม้ว่ามีสารตั้งต้น คือ เชื้อเพลิงและออกซิเจน ซึ่งการเผาไหม้จะไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้
ต้องมีสารกระตุ้น
และกระบวนการเผาไหม้จะสิ้นสุดลงเมื่อสารตั้งต้นตัวใดตัวหนึ่งหมด
เช่นออกซิเจน โดยหลังการเผาไหม้พื้นที่บางส่วนในแก้วจะถูกแทนที่ด้วยน้ำ
แต่น้ำซึ่งเป็นของเหลวต้องการพื้นที่ไม่มาก ทำให้ภายในแก้วยังมีพื้นที่ว่าง
อากาศที่เหลืออยู่ในแก้วจึงกระจายตัวไปทั่วแก้ว
ทำให้มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อยลง เป็นผลให้ภายในแก้วมีแรงดันอากาศน้อย
อากาศด้านนอกซึ่งมีแรงดันมากกว่าจึงดันน้ำเข้าไปในแก้ว
และนอกจากนี้เด็กยังได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม กิจกรรมที่ 3 หายใจให้ทั่วท้อง ผลที่เกิดกับเด็ก(ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม) เด็กมีทักษะการสังเกต
การใช้คำถามและการคาดเดาคำตอบได้ เรียนรู้การหายใจผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย เด็กมีความสุข
สนุกสนาน ช่างพูด และช่างสังเกตมากขึ้น กิจกรรมที่ 4 ลมหายใจและอากาศ ผลที่เกิดกับเด็ก(ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม) เด็กมีการสังเกต ค้นหาคำตอบด้วยตนเองและทำงานเป็นกลุ่มได้เรียนรู้ว่าอากาศเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยตา
แต่เราสามารถสัมผัสได้ และเราหายใจเอาอากาศเข้าปอดตลอดเวลาตลอดช่วงชีวิตของเรา
เด็กได้ลงมือปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีความสุขและสนุกสนาน
ผลจากดำเนินงาน
1. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาสมวัย
1.2 เด็กมีทักษะกระบวนการคิด คิดแก้ปัญหา และคิดอย่างสร้างสรรค์
1.3 เด็กรักการอ่าน มีพัฒนาการทางภาษาและแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมตามวัย
1.4 เด็กมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจากประสบการณ์ตรง
1.5 เด็กมีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย
และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
1.6 เด็กผ่านกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย
2. ผลที่เกิดขึ้นกับครู
2.1 ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดและใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
เช่น
-ครูพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
วัดประเมินผลผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน
2.2
ครูได้รับการยอมรับเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
2.3 ครูผ่านการประเมินกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย
3. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ปกครอง
3.1 ผู้ปกครองให้ความร่วมมือสนับสนุนการจัดกิจกรรมของเด็กในระดับปฐมวัยทั้งในห้องเรียน/โรงเรียน
3.2 ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวครูในการสนับสนุน
เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องด้วยความเต็มใจและร่วมพัฒนาเด็กได้อย่างดียิ่ง
3.3 ผู้ปกครองให้ความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการของโรงเรียน
โดยส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน
4. ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
4.1 โรงเรียนเป็นที่ยอมรับและศรัทธาต่อผู้กครองและชุมชน
5. ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน
5.1 ชุมชนมีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
5.2 ชุมชนมีความภาคภูมิใจ ศรัทธาต่อโรงเรียน
และช่วยกันพัฒนาโรงเรียนเพิ่มขึ้น
5.3 เป็นศูนย์กลางของชุมชน
5.4 องค์กรท้องถิ่น เครือข่ายผู้ปกครอง
กรรมการโรงเรียน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนกิจกรรมทุกด้าน