1 เสนอโครงการกับผู้บริหาร
2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และประชุม
3. แผนการดำเนินงาน มีดังนี้
3.1 แผนการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการอ่านในโรงเรียน การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการส่งเสริมและพัฒนาการอ่าน ทั้งผู้บริหารโรงเรียนและกรรมการสถานศึกษา
1) โครงการโรงเรียนรักการอ่าน ผู้รับผิดชอบ นางรังสิมา ถนอมเวช ประกอบด้วย
กิจกรรมดังนี้ (1) กิจกรรมผู้นำเยาวชนรักการอ่าน ผู้รับผิดชอบ นางรังสิมา ถนอมเวช
(2) กิจกรรมแรลลี่การอ่าน ผู้รับผิดชอบ นางรังสิมา ถนอมเวช
(3) กิจกรรมนิทานมีชีวิต ผู้รับผิดชอบ นางรังสิมา ถนอมเวช
(4) กิจกรรมยอดนักอ่าน ผู้รับผิดชอบ นางรังสิมา ถนอมเวช
(5) กิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลป์ ผู้รับผิดชอบ นางรัชดาวรรณ จันทร์เอี่ยม
(6) กิจกรรมภาษาน่ารู้ ผู้รับผิดชอบ นางอรัญญา ไชยสมบัติ
(7) กิจกรรมค้นพบฉับไว ด้วยระบบ ไอ.ที. ผู้รับผิดชอบ นางสาวธีรารัตน์ จันทร์ใสย์
(8) กิจกรรมเรื่องน่ารู้จากสารานุกรม ผู้รับผิดชอบ นางจุไรรัตน์ ลิ้มสมบัติ
(9) กิจกรรมหมอภาษา แก้ปัญหาการอ่าน ผู้รับผิดชอบ นางขจาริน มณีนิล
(10) กิจกรรมจุลสารทองราชพฤกษ์ ผู้รับผิดชอบ นางรังสิมา ถนอมเวช
(11) กิจกรรมการประกวดมุมรักการอ่าน ผู้รับผิดชอบ นางรังสิมา ถนอมเวช
(12) กิจกรรมบันทึกตามรอยพระจริยวัตร ผู้รับผิดชอบ นางอรัญญา ไชยสมบัติ
2) โครงการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบ นางรังสิมา ถนอมเวช
3.2 การให้บริการชุมชนหรือชุมชนมีส่วนในการส่งเสริมการอ่าน
- กิจกรรมหนังสือสู่ชุมชน ผู้รับผิดชอบ นางรังสิมา ถนอมเวช
3.3 การจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมหรือแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาการอ่าน
- โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ผู้รับผิดชอบ นางจุไรรัตน์ ลิ้มสมบัติ
3.4 การบริหารจัดการห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาการอ่าน
- โครงการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ รับผิดชอบโดย นางรังสิมา ถนอมเวช
3.5 การผลิตสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาการอ่าน การสร้างนวัตกรรมในการสอนอ่าน
- โครงการผลิตสื่อการเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบ นางสาวบรรจงจิต เรืองณรงค์
- การสร้างนวัตกรรมในการสอนอ่าน ผู้รับผิดชอบ นางรังสิมา ถนอมเวช
3.6 ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- โครงการแก้ปัญหาการอ่านและพัฒนาการอ่านของนักเรียน ผู้รับผิดชอบ นางอรัญญา ไชยสมบัติ
4. ประเมินผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
5. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
โรงเรียนวัดทองสุทธารามได้ดำเนินโครงการโรงเรียนรักการอ่าน โครงการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ โครงการแก้ปัญหาการอ่านและพัฒนาการอ่านของนักเรียน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การเขียน สร้างความตระหนักให้ผู้เรียนรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ถูกบังคับให้อ่านหนังสือ เสริมแรงด้วยการมอบรางวัลให้แก่ยอดนักอ่าน โดยจัดกิจกรรมการบันทึกการอ่านให้กับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 และจัดมุมรักการอ่านในห้องเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 - ชัั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในแต่ละวัน แล้วนำเรื่องที่อ่านมาบันทึกลงสมุดบันทึกการอ่านและมีการจัดประกวดแข่งขันเพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียนและให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านและการเขียนและการสื่อสารอีกด้วย โดยมีตัวแทนที่เป็นผู้นำเยาวชนรักการอ่านและผู้นำเยาวชนรักการอ่านดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับคณะครู เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเขียน การจัดกิจกรรมรักการอ่านช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้การอ่านด้วยความเพลิดเพลิน ดำเนินกิจกรรม 12 กิจกรรมนำสู่นิสัยรักการอ่าน อาทิ กิจกรรมผู้นำเยาวชนรักการอ่าน กิจกรรมแรลลี่การอ่าน กิจกรรมนิทานเพื่อชีวิต กิจกรรมยอดนักอ่าน กิจกรรมหยุดทุกงานอ่านทุกคน (กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่) เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ก่อนดำเนินกิจกรรมภาคเช้าหน้าเสาธง ฯลฯ อีกทั้งดำเนินกิจกรรมซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้คำพื้นฐานและแบบฝึกอ่านของแต่ละชั้นเพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ และกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ในการซ่อมเสริมการอ่านอีกแนวทางหนึ่งสอดคล้องกับสมรรถนะของผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนสื่อความ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ จากผลการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนรักการอ่าน โครงการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ โครงการแก้ปัญหาการอ่านและพัฒนาการอ่านของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้เรียนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียนสื่อความ ผ่านทุกคน สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของโรงเรียน คือ “นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน” และความเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียน คือ “โรงเรียนรักการอ่านยอดเยี่ยม” ได้อย่างลงตัว
สรุปผลการดำเนินโครงการโรงเรียนรักการอ่าน มีผลการประเมินโครงการ คิดเป็นร้อยละ 99.91
สรุปผลการดำเนินโครงการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ มีผลการประเมินโครงการ คิดเป็นร้อยละ 99.98
สรุปผลการดำเนินโครงการแก้ปัญหาการอ่านและพัฒนาการอ่านของนักเรียน มีผลการประเมินโครงการ คิดเป็นร้อยละ 95.12