1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
2. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครูและบุคลากรเกี่ยวกับการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน
(Lesson Study) ด้วยรูปแบบการสอบแบบ Active Learning โดยมีการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5 STEPS ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพใน
3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้น Plan Do See โดยมีผู้อำนวยการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์
และผู้เชี่ยวชาญเป็นวิทยากรให้ความรู้
3. ประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อวางแผนในการกำหนดทีม PLC ในการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน
ในแต่ละทีมประกอบไปด้วยครูผู้สอน (Model Teacher) เพื่อนครู (Buddy Teacher) และผู้อำนวยการสถานศึกษา
(Administrator)
กำหนดปฏิทินและตารางการทำ Lesson Study 1 – - ในปีการศึกษา 2563
4. ดำเนินงานตามแผน โดยทีม PLC ปฏิบัติการ Lesson Study 1 (LS 1) ใน 3 ขั้นตอน ได้แก่
- ขั้น
Plan เป็นกระบวนการทำงานแบบร่วมมือรวมพลังของทีม PLC ในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และใช้สุนทรียสนทนาในการพูดคุยกันเพื่อให้ได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ในการนำไปใช้
ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ครูผู้สอน (Model Teacher)
ตกผลึกความคิดในการที่จะนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้อย่างมั่นใจ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ
Active Learning โดยมุ่งเป้าหมายที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ขั้น
Do เป็นขั้นตอนที่ครูผู้สอน (Model
Teacher) นำแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5STEPS
ไปใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยมีเพื่อนครู (Buddy Teacher) และผู้อำนวยการสถานศึกษา (Administrator) ปฏิบัติหน้าที่ในการร่วมสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียน
พร้อมทั้งบันทึกจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และสภาพการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามสภาพจริงในชั้นเรียน
ด้วยการจดบันทึก การถ่ายภาพ หรือถ่ายคลิปวีดิโอ
โดยไม่เข้าไปให้คำแนะนำหรือรบกวนการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนโดยเด็ดขาด
- ขั้น
See หรือ Reflection เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นภายหลังการจัดการเรียนการสอนไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทีม PLC จะร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั่วโมงเรียน
และให้ข้อคิดเห็นสะท้อนกลับ เพื่อให้ครูผู้สอน (Model Teacher)
นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
รวมถึงนำบทเรียนที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพยิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกันเพื่อนครู (Buddy Teacher) และ
ผู้อำนวยการสถานศึกษา (Administrator)
ก็จำได้รับบทเรียนที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพของการบริหารและการปฏิบัติงานในการส่งเสริมการเรียนรู้และการปฏิบัติงานของครูด้วยเช่นเดียวกัน
5. การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การทำ LS 1 ในวันประชุมประจำเดือนของโรงเรียน ซึ่งผู้อำนวยการ
สถานศึกษาจะเป็นประธานในการประชุม และเปิดโอกาสให้ทีม PLC ทุกทีมในโรงเรียนได้นำเสนอมุมมอง
ความคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาพรวมของทั้งโรงเรียน
6
ทีม PLC ปฏิบัติการ Lesson Study 2 (LS 2) ถึง Lesson Study 3 (LS 3) ในลักษณะเดียวกับ
Lesson Study 1 (LS
1) ตามตารางที่กำหนด
7. ครูผู้สอนจัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม
สรุปผลการเรียนรู้จากการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson
Study)
8. จัดกิจกรรมสัมมนาวิชาการ
ให้ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ (Symposium)
ทั้งในระดับโรงเรียน
และในเครือข่ายโรงเรียนเดียวกัน
1. ครูมีการปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนจาก Passive Learning เป็น Active Learning โดยใช้แผนการจัดการเรียนนรู้แบบ
5STEPS
2. บรรยากาศของการเรียนรู้มีความสนุกสนาน มีชีวิตชีวา
เป็นห้องเรียนเชิงบวก ที่นักเรียนทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการได้รับโอกาสที่จะพัฒนาตนเองตามธรรมชาติ
เต็มตามศักยภาพและตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
8
กลุ่มสาระการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET)
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ
และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2562 จากที่ผ่านมาไม่ผ่านทั้ง 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในปีการศึกษา
2561-2562
4. ครูมีการพัฒนาวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนร่วมมือรวมพลัง
เป็นผู้ร่วมเรียนรู้ พูดคุยกันแบบสุนทรียสนทนา เปิดใจที่จะรับฟังกันมากขึ้น และช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการปฏิบัติงาน
โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
6. ผู้บริหารได้พัฒนาบทบาทของการเป็นผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ
เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยความร่วมมือร่วมใจของครูและบุคลากรทุกคน ส่งผลให้สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษาและตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร