สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การใช้สื่อ ICT เพื่อการพัฒนาระดับผลสัมฤทธฺิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระในการสอบ NT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ O-Net ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนวัดบางปะกอก
กระบวนการพัฒนา

วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) 

อะไรคือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (What?)วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของระบบการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดบางปะกอก คือ “การใช้สื่อ ICT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๘ กลุ่มสาระในการสอบNTของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และO – Net ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖”                

วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศทำอย่างไร (How?) วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) “การใช้สื่อ ICT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๘ กลุ่ม สาระในการสอบNTของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และ  O – Net ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๖ ”ของโรงเรียนวัดบางปะกอกมีขั้นตอนดังต่อไปนี้                                                                                                                 


. ขั้นเตรียมความพร้อม                                                                                                      

๑) เตรียมความพร้อมด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์  โรงเรียนวัดบางปะกอกมีห้องเรียน ICT เพื่อการเรียนรู้ จำนวน ๓ ห้อง เพื่อส่งเสริมให้ครูและนักเรียนได้รับความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยการใช้สื่อ ICT อย่างเต็มที่                                                                            

๒) เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เนื่องจากทางโรงเรียนได้ส่งครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สาระต่างๆ ทั้ง ๘ กลุ่มสาระ เข้ารับการศึกษาอบรมการผลิตและการใช้สื่อ ICT อย่างต่อเนื่อง จากสำนักการศึกษา จนครูมีทักษะการผลิตและการใช้สื่อ สามารถนำมาขยายผลแก่ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ของตนได้           


๒. ขั้นการพัฒนาและใช้สื่อ ICT เมื่อครูพบปัญหานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและจะแก้ปัญหาด้วยการใช้สื่อ ICT พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นนั้น การพัฒนาและใช้สื่อ ICT มีลำดับขั้นตอน ดังนี้

               ๑) ออกแบบบทเรียน เนื้อหาและแบบทดสอบ                                                  

              ๒) ผลิตสื่อด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น Authroware , PowerPoint, จัดการเรียนการสอนแบบ Online เป็นต้น                              ๓) ประเมินคุณภาพของสื่อ ICT ด้วยการใช้แบบประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของกระทรวงศึกษาธิการ นำมาปรับปรุงประเด็นข้อคำถามบางข้อให้มีข้อความที่สัมพันธ์กับเนื้อหาของวิชาที่จัดทำ     

             ๔) นำสื่อไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน                                                                   

         ๕) หาประสิทธิภาพของสื่อ ICT ที่นำมาใช้โดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละของแบบทดสอบระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ (หาค่า E1/E2)                           

๓. ขั้นสรุปผลรายงาน                                                                                                                        

          เมื่อครูใช้สื่อ ICT ในการจัดการเรียนรู้เสร็จสิ้น ต้องจัดทำบันทึกผล   การจัดการเรียนรู้แล้วสรุปผล รายงานต่อหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และผู้บริหารโรงเรียน เพื่อนำผลที่ได้ไปประเมินการพัฒนางานต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

จากผลการดำเนินงานดังกล่าวโรงเรียนมีการประเมินทบทวนอย่างต่อเนื่องโดยมีผลการประเมินทบทวนดังนี้                                                                                                          

๑) ด้านครู

ตารางที่ ๑ แสดงผลการประเมินทบทวนในปีการศึกษา ๒๕๖๒ และในปีการศึกษา ๒๕๖๓

           ด้านกระบวนการในขั้นตอนการวิเคราะห์ให้ผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอนตามตัวชี้วัดสำคัญดังต่อไปนี้

  

 

 ที่

 

 

ตัวชี้วัดสำคัญ

ผลการประเมิน

ทบทวน

เป้าหมาย                     ปี ๒๕๖๔

๒๕๖๒

๒๕๖๓

1

ร้อยละของครูนำโปรแกรมการวิเคราะห์แบบแผนการเรียนรู้ (Leaning Style) มาใช้ประกอบในขั้นตอนวิเคราะห์ผู้เรียน

๘๕

๑๐๐

๑๐๐

2

ร้อยละของครูนำสื่อ ICT มาใช้การจัดการเรียนการสอน

๘๕

๙๗

๑๐๐

3

ร้อยละของผลิตสื่อ ICT มาใช้การจัดการเรียนการสอน

๘๐

๘๖

๙๐

           ๒) ด้านนักเรียน

ตารางที่ ๒ แสดงผลการประเมินทบทวนในปี การศึกษา ๒๕๖๒ และในปี การศึกษา ๒๕๖๓

           ด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

 

ที่

 

ผลการประเมินทบทวน

1

ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ยในระดับดี (ระดับ ๓.๐๐ – ๔.๐๐)

๓๘.๙๗

๘๐.๘๕

2

ร้อยละของนักเรียนที่ผลการเรียน 0

๔.๕๒

 

           โรงเรียนวัดบางปะกอกมีการใช้สื่อ ICT เพื่อการพัฒนาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๘ กลุ่มสาระ ในการสอบNTของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และO – Net ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน ทั้งยังทำให้เป็นคนทันสมัยพร้อมก้าวทันเทคโนโลยีในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งได้แก่ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพไปพร้อมๆกันซึ่งทางโรงเรียน ได้คัดสรรครูที่มีความรู้ความสามารถด้านเนื้อหาวิชาตรงตามตัวชี้วัด และมีจิตวิทยากับนักเรียนในวัยนี้ทำการระดมสมองช่วยกันเลือกเนื้อหาที่เห็นว่าเหมาะสมกับนักเรียนและง่ายต่อความเข้าใจของนักเรียน ครูที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อ ICT ก็จะคัดเลือกสื่อ ICT ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและวัยของนักเรียน เมื่อนำมาใช้แล้วก็จะประเมินผล ปรับปรุงแก้ไข ซึ่งทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีคะแนนผลสอบNT สูงกว่าระดับประเทศทั้ง ๓ ด้าน และมีนักเรียนสอบได้ ๑๐๐ คะแนนเต็มในวิชาความสามารถด้านการคำนวณ และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีผลการทดสอบ O-Net ผ่านขีดจำกัดล่างทุกกลุ่มสาระสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินได้และรับรางวัลโล่เกียรติคุณ                ในฐานะที่เป็นโรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยผลการสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐา น ( O - Net) สูงกว่าระดับประเทศทุกวิชาต่อเนื่อง ๖ ปี คือ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ – ๒๕๖๓


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]