การพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
เกิดจากผู้บริหาร คณะครูบุคลากรทางการศึกษา
และนักเรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดี และความจำเป็นในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
รวมทั้งมุ่งมั่นสร้างให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาความเป็นอยู่อย่างมีสุขภาพดีของทุกคนในชุมชน
โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับต่างๆ ให้การสนับสนุน ร่วมดำเนินการ และร่วมแก้ไขปัญหาในโรงเรียน
ตามขั้นตอนดังนี้
1.
สร้างความความร่วมมือของชุมชน โดยผู้บริหารโรงเรียนชี้แจงแก่ครูนักเรียน ผู้ปกครอง
ผู้นำชุมชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับความสำคัญและความจำเป็นในการดำเนินงานสร้างสุขภาพเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน
๒.
จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน ประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรสาธารณสุข
เพื่อทำหน้าที่กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
๓. จัดทำแผนปฏิบัติการ โดยกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาพร้อม
ทั้งกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน
รูปแบบกิจกรรม บทบาทที่เกี่ยวข้อง
๔.
ติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าในการดำเนินงาน โดยจัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้เกี่ยวข้อง
มีการประเมินผลการดำเนินงาน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จ และการปรับ
แผนงานเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
๕. ครู สำรวจข้อมูลการดูแลสุขภาพนักเรียนและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
เช่น จำนวนนักเรียน ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในโรงเรียน สภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนด้านต่างๆ
ที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพนักเรียน
๖. ครูให้บริการรักษาพยาบาลในรายที่ตรวจพบมีปัญหาสุขภาพและติดตามผลการรักษา
พร้อมบันทึกในบัตรบันทึกสุขภาพ
๗.
ส่งต่อนักเรียนเข้ารับการรักษาตามระบบการส่งต่อผู้ป่วย กรณีเกินขีดความสามารถของสถานบริการสาธารณสุขนั้นๆ
๘. โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
การให้ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัย การดูแลตนเองในสถานการณ์ต่างๆ
อย่างต่อเนื่องเพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักและระมัดระวังตนเอง
ผลจากการปฏิบัติ
1.นักเรียนได้รับการแก้ปัญหา
ภาวะโภชนาการ การดูแลรักษาสุขภาพอนามัย และภาวะสุขภาพในนักเรียน และพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนอย่างถูกต้องและทั่วถึง
2.โรงเรียนมีนักเรียนแกนนำ ที่สามารถดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันและเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้
3.โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและมีการจัดระบบสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้มาตรฐาน
และเอื้อต่อการเรียนรู้ต่อการส่งเสริมสุขภาพกายสุขภาพจิต ของ นักเรียน บุคลากร ในโรงเรียน
4.ผู้ปกครองนักเรียนมีบุตรหลานของตนเองที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ด้านสุขภาวะร่างกาย
โภชนาการ สุขภาพกายและสุขภาพจิต
5.ชุมชนมีโรงเรียนที่เป็นแบบอย่างทางด้านโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและบุคลากร
6.เครือข่ายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ได้ร่วมกันดูแล
ส่งเสริม สนับสนุน แก้ไขปัญหา พัฒนาสุขภาพอนามัย ภาวะสุขภาพของนักเรียน ปลูกฝังทัศนคติ
ให้ความรู้ และเสริมสร้างทักษะ ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและยั่งยืน