กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการ วิธีการและนวัตกรรมที่เป็นBest Practice
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการ Flow แผนภูมิ ของระบบ วิธีการและนวัตกรรมที่เป็น Best Practice
ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์
:
1.
จากการดำเนินงานโครงการ โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์ได้จัดกระบวนการเรียนรู้โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชามาจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไปสู่การปฏิบัติ โดยการให้ความรู้หลักการของศาสตร์พระราชา
ที่เป็นแนวทางการพัฒนาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มีความลุ่มลึก รอบด้าน มองการณ์ไกล
และเน้นความยั่งยืนยาวนาน ก่อนที่ประชาคมโลกจะตื่นตัวในเรื่องนี้
เป็นแนวทางการพัฒนาที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกหมู่เหล่า
องค์ประกอบของศาสตร์พระราชา คือ การศึกษาและสุขภาพ การเพิ่มผลิตภาพการผลิต
การค้นคว้าวิจัยการบริหารความเสี่ยง การอนุรักษ์ธรรมชาติ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แต่ละองค์ประกอบล้วนมีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกผู้ทุกคน โดยเฉพาะ
คนจนผู้ยากไร้ ศาสตร์พระราชา มีนัยยะที่กว้างขวางมาก คำว่า”ศาสตร์” แปลว่า
ความรู้ที่เป็นระบบ เชื่อถือได้ ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว
ความรู้ของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ มีทั้งด้านที่เป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
มีทั้งวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มีทั้งสังคมศาสตร์ มีทั้งมานุษยวิทยา มนุษยศาสตร์ คือ
มีทุกมิติ ถ้าเราติดตาม/ดูงานที่พระองค์ท่านทรงงานมามากว่า 70 ปี
พระองค์ทรงทาเป็นตัวอย่างมาให้ดู ทั้งหมด 1,500 กว่าแห่ง มีทุกศาสตร์
มีทั้งจริยธรรมศาสตร์ ศาสนา มีทุกมิติ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนามนุษย์ที่สำเร็จที่สุดในโลก มีศาสตร์ว่าด้วยการเกษตร
ศาสตร์ว่าด้วยเรื่องดิน ศาสตร์เรื่องน้า เรื่องดินพระองค์ท่านทรงมีความเชี่ยวชาญ
จนทั่วโลกยกย่อง ให้วันเกิดพระองค์ท่าน คือวันที่ 5 ธันวาคม เป็น “วันดินโลก” หรือแม้แต่น้า ศาสตร์ว่าด้วยเรื่องน้ำ “ฝนหลวง” ที่ทรงศึกษาวิจัยในการให้เมฆรวมตัวกันเป็นก้อนโต
แล้วทาให้เป็นฝนตกลงมาได้ พระองค์ทรงทาสำเร็จจนได้รางวัล การสร้างเขื่อน
ฝายชะลอน้ำ ศาสตร์เรื่องป่าไม้ ที่เป็น “พื้นที่ต้นน้ำ”
ช่วยสร้างความชุ่มชื่น ศาสตร์เรื่องการจัดการดิน
การป้องกันชะล้างหน้าดิน เก็บความสมบูรณ์ของดิน บนเขา บนพื้นที่ลาดชัน ด้วย “หญ้าแฝก ที่เปรียบเสมือนกาแพงที่มีชีวิต” พระองค์เข้าใจเรื่องการใช้หญ้าแฝก
อย่างลึกซึ่ง ในการป้องกันความเสื่อมโทรมของดิน เก็บน้าและความอุดมสมบูรณ์
ให้คงอยู่ตลอดไป แม้แต่น้าที่ไหลบ่าท่วมบ้านเรือน ทรงคิดวิธีกักเก็บด้วยโครงการ “แก้มลิง” การบาบัดน้าเสียด้วยเครื่องกลเติมอากาศ “กังหันชัยพัฒนา” ทรงทางานวิจัยทั้งในวังและในไร่นาเกษตรกร
ทรงคิดค้น “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ“เกษตรทฤษฎีใหม่” ที่มีการปรับใช้ทั้งในพื้นที่ราบลุ่มและบนพื้นที่สูงชัน
บางคนก็เรียก ศาสตร์พระราชาศาสตร์ ว่าเป็นศาสตร์แห่งการพัฒนา ที่ยิ่งใหญ่
ทรงให้ความสำคัญกับทุกปัญหาทุกความทุกข์ของพสกนิกร จนเกิดศาสตร์พระราชามากกว่า 4,500 กรณีศึกษาโรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์จึงได้บูรณาการการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าต่อแนวทางของ แนวทางการพัฒนาของในหลวงรัชกาลที่
9 ซึ่งทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่าหาที่สุดมิได้
2. การดำเนินงานโครงการศาสตร์พระราชา
ทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาส่งเสริมทั้งทักษะ
การเรียน การอยู่ในสังคม รวมถึงการดำเนินชีวิตของนักเรียน นำมาใช้ในการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ตั้งแต่ การรักชาติศาสน์กษัตริย์ไปจนถึงการให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ
ไม่ว่าจะเป็น การอยู่ในสังคม เป็นพลเมืองที่ ดีของชาติยึดมั่นและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา
เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ประพฤติตนตาม ข้อตกลงกฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว
โรงเรียน สังคม รักความเป็นไทย มีความภาคภูมิใจใน ขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปวัฒนธรรม
มีความกตัญญูกตเวทีเห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม
ด้านการเรียน ตามคุณลักษณะข้อ 4 ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
เน้นให้นักเรียนมีความตั้งใจเพียร พยายามในการเรียน
รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนตลอดจน การดำรงชีวิต
ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม
ปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีจิตสาธารณะ
รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ การที่โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์ดำเนินโครงการศาสตร์พระราชา
เปรียบเสมือนสังคมจําลองที่ฝึกให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่ดีก่อนออกไปสู่สังคมภายนอก
โดย มีแนวทางหรือกรอบให้กับผู้เรียนได้พัฒนาและฝึกฝนต่อไป ผู้เรียนในยุคนี้ที่ต้องการหาคําตอบของพฤติกรรม
ต่าง ๆ ที่ตนเองได้ถูกวางไว้ดังนั้นจึงทําให้ผู้เรียน ได้รับคําตอบและปฏิบัติตนได้อย่างเต็มใจ ซึ่งผลจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียน
พบว่านักเรียนมีพฤติกรรมตามคุณลักษณ์ที่พึ่งประสงค์ เช่น
นักเรียนมีจิตอาสาในการช่วยงานที่บ้าน มีความรับผิดชอบ เช่น
การทำการบ้านเองโดยที่ผู้ปกครองไม่ต้องบอก หรือเตือนเหมือนดังที่ผ่านมา
นักเรียนมีความสามารถนำทักษะด้านการเกษตรไปขยายผลในระดับครอบครัว
และการรู้จักวางแผนการออมเงินและแผนการใช้เงิน เป็นต้น
3. การดำเนินโครงการศาสตร์พระราชา
นักเรียนได้ปฏิบัติจริงในการทำเกษตรกรรมแบบพึ่งพาตนเอง
โดยได้มีการเพาะปลูกผักปลอดสารเคมี ทำนาปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในรูปแบบแปลงสาธิต
ซึ่งมีความสอดคล้องกับบริบทของครอบครัวของนักเรียน
ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ผลสัมฤทธิ์ของงาน : จากการดำเนินโครงการในการทำเกษตรกรรมแบบพึ่งพาตนเอง
ส่งผลให้นักเรียนเกิดทักษะ ความสามารถในการทำน้ำยาเอนกประสงค์
น้ำหมักชีวภาพจากเศษเปลือกผลไม้ การทำดินปลูกพืชจากเศษอาหาร การปลูกผักปลอดสารเคมี
และเรียนรู้ฝึกการเป็นผู้ประกอบการร้านค้าจากกิจกรรมสหกรณ์
8. ปัจจัยความสำเร็จ
การดำเนินงานโครงการมีปัจจัยที่ผลักดันให้ประสบความสำเร็จมีดังต่อไปนี้
1.
ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินโครงการ
2.
การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
3.
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
4. ความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
5.
ผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อมและความตั้งใจที่นำประสบการณ์การทำงานมาพัฒนาปรับปรุงระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง
6.
ผู้เชี่ยวชาญให้ความช่วยเหลือชี้แนะ
6. บทเรียนที่ได้รับโดยการสรุปบทเรียนการทำงานผ่านกระบวนการ
PLC เพื่อพัฒนาและยกระดับการทำงานต่อไป
9. บทเรียนที่ได้รับ
9.1. การดำเนินการตามแนวทางศาสตร์พระราชา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสถานศึกษา
โดยบุคลากรมีการปรับเปลี่ยนกับการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในพัฒนาเพิ่มมากขึ้น
2. การปฏิบัติงานที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีการสนับสนุน
ส่งผลให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
๓. การพัฒนางานร่วมกัน ความจริงจังในการปฏิบัติงาน การทำงานเป็นทีม
การมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันในการปฏิบัติงาน ความร่วมมือร่วมใจ การเอาใจใส่ เสียสละ การอุทิศตนของบุคลากร
ส่งผลให้งานประสบผลสำเร็จได้ผลงานที่มีคุณภาพ
4.
เมื่อความสำเร็จสู่เป้าหมายความภาคภูมิใจก็คือการที่ได้ทำหน้าที่ที่รับผิดชอบอย่างสมบูรณ์สามารถพัฒนางานได้ตามเป้าหมายและการนำองค์กรสู่การน้อมนำหลักศาสตร์พระราชา
เป็นเข็มมุ่งนำทาง เป็นที่ยอมรับของบุคลากรในหน่วยงาน สถานศึกษาในสังกัด
และหน่วยงานภายนอก
7. การเผยแพร่
1.
เผยแพร่ผลงานผ่านเว็บไซต์สำนักงานโรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
http://www.watmaicharoenrad.ac.th/mainpage
https://www.facebook.com/watmai.chareonrad
2.
เผยแพร่ผลงานให้กับ สำนักงานเขตหนองจอก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
ได้รับการยอมรับการศึกษาดูงานจากเครือข่ายองค์กรชุมชนต่างๆ