แนวการดำเนินงาน
1. โครงการนี้ดำเนินการโดย งานบริหารวิชาการโดยอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรทุกคน
2. โครงการนี้เป็นโครงการเสริมเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีกิจกรรมสนับสนุนโครงการ 5 กิจกรรม ดังนี้
2.1 กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน
2.2 กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
2.3 กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ
2.4 กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน
2.5 กิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย
3. ระยะเวลาดำเนินการ
ตลอดปีการศึกษา 2563
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
4.1 ประชุมปรึกษาหารือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อกำหนดรายละเอียดในการดำเนินโครงการ
4.2 เสนอขออนุมัติโครงการ
4.3 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
4.4 ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
4.5 ดำเนินการจัดกิจกรรมสนับสนุนโครงการ ดังนี้
1. กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน
ผู้รับผิดชอบ นางสาวอุทัย ใจหมั่น
กิจกรรมเกษตรเพื่อการเรียนรู้ กิจกรรมการเกษตรเพื่อการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา สำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร น้อมรับกระแสพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกิจกรรมเกษตรเพื่อการเรียนรู้เป็นกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการบริการอาหารกลางวันแก่นักเรียน โดยให้นักเรียนเรียนรู้การเพาะปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อนำผลผลิตที่ได้ไปสนับสนุนการบริการอาหารกลางวันแก่นักเรียน นอกจากนั้นโรงเรียนยังได้น้อมนำ แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักคิดและหลักปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ชีวิตโดยใช้กิจกรรมการเกษตรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อรู้จักประหยัด ใช้ กินอย่างประมาณตน มีเหตุผล ไม่ฟุ่มเฟือย เรียนรู้เกี่ยวกับการพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ โดยการผลิตหรือสร้างรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรเรียนรู้การช่วยเหลือสังคมและชุมชน โดยการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่เหมาะกับสภาพภูมิสังคมและบริบทของโรงเรียน ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้จะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนต่อไปในอนาคต
2. กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
ผู้รับผิดชอบ นางดารุณี เพ็งพุฒ
กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน มีดำเนินงานตามหลักการ วิธีการทางสหกรณ์และอุดมการณ์สหกรณ์ โดยจัดกิจกรรมค่ายสหกรณ์ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ วิธีการทางสหกรณ์และอุดมการณ์สหกรณ์ และได้น้อมนำแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับการออมเงิน และกลไกลลด ความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจและ โดยจัดกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของสมาชิก จัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นจำหน่ายในราคาถูก สนับสนุนให้นักเรียนรู้จักการใช้จ่ายของตนเองอย่างมีเหตุผล อย่างพอประมาณ ประหยัดเท่าที่จำเป็น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย และจัดให้มีกิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการออมอย่างมีระบบและต่อเนื่อง เพื่อเป็นการปลูกฝังและเสริมสร้างความมีวินัย ทางการเงินของนักเรียน นอกจากนั้นยังจัดกิจกรรมให้คณะกรรมการกิจกรรมสหกรณ์ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานที่เป็นระบบ รู้จักวิธีการจัดทำบัญชี การประชุม การบันทึกการประชุม ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม เห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้รักสามัคคี ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนและสังคมต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ในการบริหารจัดการและดำเนินการกิจกรรมสหกรณ์ของโรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยานั้น ยึดหลักความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน ใช้หลักความรู้ คู่คุณธรรมเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กและเยาวชน
3. กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ นางสาวมลิวัน นนเลาพล
เป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพให้กับนักเรียนตามความสนใจ โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรท้องถิ่นมาให้ความรู้และฝึกทักษะให้กับนักเรียนในงานด้านต่างๆ เช่น งานจักสานเส้นพลาสติก งานร้อยลูกปัด รี งานลวดดัด งานริบบิ้น งานตัดเย็บ งานเสริมสวย งานดนตรีสากล งานเกษตร งานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
4. กิจกรรมการจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียน
ผู้รับผิดชอบ นางสาวฐิติมา วรรณมณฑา
เป็นกิจกรรมที่จัดบริการอาหารเช้า อาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม) ให้กับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารเช้า อาหารกลางวันอย่างเพียงพอ ถูกหลักโภชนาการ อาหารสะอาด ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน ให้บริการอาหารเสริม (นม) และส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคและเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัย ตลอดจนปลูกฝังวินัยในการรับประทานอาหาร นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตรฐานการให้บริการอาหารกลางวัน ให้มีสถานที่ปรุงอาหารที่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาล มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบอาหาร ตรวจสุขภาพของผู้ปรุงอาหาร ซึ่งมีทั้งในส่วนที่โรงเรียนดำเนินการเองและหน่วยงานภายนอกดำเนินการ โรงเรียนคาดหวังว่าการดำเนินกิจกรรมนี้จะส่งผลให้นักเรียนมี ภาวะโภชนาการที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน ลดความเสี่ยงใน การประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ในนักเรียน
5. กิจกรรมการเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ นางสาวสุปราณี เปลรินทร์
กิจกรรมการสำรวจภาวะโภชนาการและสุขภาพเป็นการจัดกิจกรรมที่ สำรวจภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกระดับชั้น ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน ให้มีสมรรถภาพทางกาย ส่วนสูง และน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ นักเรียนกลุ่มที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ให้ความรู้และปลูกฝังเจตคติที่ถูกต้องในการบริโภคที่ปลอดภัยและการออกกำลังกายให้ถูกต้องและประสานงานผู้ปกครองของเด็กนักเรียนให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโภชนาการของเด็ก และมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
4.6 ผู้รับผิดชอบโครงการประสานงานเพื่อกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่อง
4.7 คณะกรรมการผู้รับผิดชอบกิจกรรมสรุปผลการดำเนินกิจกรรม รายงานต่อผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ดำเนินโครงการได้ประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ
ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ และกระบวนการของโครงการ และมีผลการประเมิน ดังนี้
ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ
เพื่อประเมินความเหมาะสมสอดคล้องของวัตถุประสงค์
เป้าหมาย นโยบาย ประโยชน์ของโครงการและความเป็นไปได้ของโครงการ
คิดเป็นร้อยละ 100.00 โดยมีระดับความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ
เพื่อประเมินความพร้อมของปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
ด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านงบประมาณและด้านการบริหารจัดการ
คิดเป็นร้อยละ 94.00 โดยมีระดับความพร้อมมากที่สุด
ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ
เพื่อประเมินความเหมาะสมในการดำเนินการ ด้านกระบวนการของโครงการ
ตั้งแต่การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ การดำเนินการตามแผนที่กำหนด การประเมินผลและ การรายงานผล
คิดเป็นร้อยละ 100.00 โดยมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด
นอกจากนั้นการดำเนินงานได้นำใช้กระบวนการทำงานแบบ
PDCA และใช้อุดมการณ์ร่วมของโรงเรียน
“หกร่วมรวมใจ” ประกอบด้วย ร่วมคิด
ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมแก้ไข ร่วมชื่นชมมาใช้ในการดำเนินโครงการ
ดังนี้
1.
คณะผู้บริหารและคณะครูได้ประชุมวางแผนการดำเนินงานในปีการศึกษา 2563
โดยได้กำหนดโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโครงการพิเศษเพื่อใช้ในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะตามนโยบาย
จุดเน้น ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา และสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงบนวิถีชุมชนและความเป็นไทย แผนงานที่
5.1 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตตมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในด้านสังคม
ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อม
ตามแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนระยะแผน ปี พ.ศ. 2563 – 2565 เป็นกิจกรรมที่สนองมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ และเป็นกิจกรรมที่สนองมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
และเป็นโครงการตลอดปีการศึกษา มีกิจกรรมสนับสนุนโครงการจำนวน 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน
กิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย โดยได้กำหนดผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรมประกอบโครงการดังนี้
1.1 นายศักดิ์สิทธิ์ สุขบรม
เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ฯ
1.2 นางสาวอุทัย ใจมั่น
เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน
1.3 นางดารุณี เพ็งพุฒ เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
1.4 นางสาวมลิวรรณ นนเลาพล
เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ
1.5 นางสาวฐิติมา วรรณมณฑา
เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมกิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน
1.6
นางสาวสุปราณี เปลรินทร์
เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย
2. คณะครูที่รับผิดชอบโครงการ
ฯ และกิจกรรมสนับสนุนโครงการ ฯ ได้วางแผนการดำเนินงานและดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้
เช่น
-
การกำหนดปฏิทินการปลูกผักสวนครัวและกำหนดพื้นที่รับผิดชอบ
-
การสำรวจความต้องการสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ การจัดค่ายสหกรณ์
จำหน่ายสินค้าที่จำเป็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน การส่งเสริมการออม
(ธนาคารโรงเรียน)
- การกำหนดรายการอาหารหมุนเวียน
ตามรายการอาหารของสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร มีการตรวจสอบคุณภาพอาหาร วัสดุอุปกรณ์
วัตถุดิบและสถานที่ประกอบอาหาร มีการตรวจสุขภาพผู้ประกอบและสัมผัสกับอาหาร
-
การสำรวจและคัดเลือกอาชีพที่นักเรียนสนใจ จัดหาวิทยากรท้องถิ่น และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน
- การติดตามภาวะโภชนาการภาคเรียนละ 1 ครั้ง และการทดสอบสมรรถภาพทางกายภาคเรียนละ
1 ครั้ง
- การจัดห้องพยาบาลที่ได้มาตรฐาน
มีการกำหนดครูเวรดูแลตลอดทั้งวัน (จัดตามชั่วโมงว่างของ
ครู) มีการให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
มียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น มีการประสานงานกับสถานพยาบาล
ใกล้เคียงเพื่อการส่งต่อนักเรียนกรณีจำเป็น
มีการประสานงานกับผู้ปกครอง
- การรณรงค์ให้ความรู้
เช่น การทำเกษตรแบบสังคมชุมชนเมือง การดูแลสุขภาพในด้านต่าง ๆ การออกกำลังกาย
โรคติดต่อตามฤดูกาล โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เป็นต้น
- กำหนดมาตรการควบคุมความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด 19) เช่น
เว้นระยะห่างในการรับประทานอาหาร และรับประทานอาหารเป็นรอบ ๆ ตรวจวัดอุณหภูมิ 3
ครั้ง (เช้า กลางวัน และก่อนกลับบ้าน)
เพิ่มจุดติดตั้งเจลหรือแอลกอฮอล์ สำหรับล้างมือ จัดนักเรียนห้องละไม่เกิน 25
คน เป็นต้น
3. คณะครูที่รับผิดชอบโครงการ
ฯ คณะผู้บริหาร ได้มีการตรวจสอบผล นิเทศติดตาม
การดำเนินงาน และให้คำแนะนำ เช่น
-
เมื่อปลูกผักสวนครัวไปแล้วมีปัญหาเกี่ยวกับโรค แมลง
และสัตว์ศัตรูพืชอะไรบ้างที่ทำให้ผักสวนครัวเสียหายและจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรที่จะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและไม่ใช้สารเคมี
-
เมื่อกำหนดรายการอาหารไปแล้วแต่ไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบได้ จะแก้ไข้อย่างไรบ้าง
-
เมื่อวิเคราะห์ภาวะโภชนาการของนักเรียนแล้ว จะแจ้งผลให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบ หากนักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการ
จะนำนักเรียนและผู้ปกครองมาให้ความรู้ และจัดให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย
-
ภายหลังการสำรวจสินค้าที่นักเรียนต้องการแล้ว คณะกรรมการได้จัดหาสินค้าตามที่นักเรียนต้องการโดยคำนึงถึงความจำเป็นและประโยชน์สำหรับนักเรียนมากที่สุด
- สถิติการนำผลิตทางการเกษตรสนับสนุนกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
หรือ กิจกรรมการจัดบริการอาหารกลางวัน
- ธนาคารโรงเรียนเปิดทำการ
วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 11.30 น ถึง 12.30 o.
โดยการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมมีคณะผู้บริหาร
ครู บุคลากร และนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
4. คณะครูที่รับผิดชอบโครงการ
ฯ และกิจกรรมประกอบโครงการ ฯ ได้นำปัญหาที่พบมาวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไข้ที่สามารถปฏิบัติได้และมีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
นักเรียน และชุมชน
ผลจากการดำเนินงานโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA และ
อุดมการณ์ร่วมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้นักเรียนได้รับการเสริมสร้างศักยภาพในด้านพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และ พลศึกษา
และส่งเสริมสร้างศักยภาพของโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาของนักเรียน
บุคลากร และชุมชน ทำให้มีผู้สนใจมาเยี่ยมชมการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
๕.
การประเมินด้านเป้าหมายของโครงการ
5.1
เป้าหมายด้านปริมาณ
- จำนวนกิจกรรมสนับสนุนโครงการฯ
ที่โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
สามารถดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างสมดุลรอบด้านทั้งด้านพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา
-
จำนวนนักเรียนเข้าร่วมโครงการ
ฯ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
-
การดำเนินงานกิจกรรมสนับสนุนโครงการ ฯ ครบทุกกิจกรรม
-
ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ
ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในด้านปริมาณ
โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยาได้ดำเนินกิจกรรมสนับสนุนโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน
ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามแนวพระราชดำริ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ครบทุกกิจกรรม ได้แก่กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน
กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ
กิจกรรมการจัดบริการอาหารของโรงเรียน และกิจกรรมเสริมสร้างโภชนาการและสุขภาพอนามัย
และนักเรียนเข้าร่วมโครงการ ฯ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์และบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
5.2 เป้าหมายด้านคุณภาพ
-
ความพึงพอใจของนักเรียน บุคลากร และชุมชนต่อการดำเนินงานการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน
ในพื้นที่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
- ร้อยละของความพึงพอใจของนักเรียน
บุคลากร และชุมชนต่อการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน
ในพื้นที่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป
ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในด้านคุณภาพ
- นักเรียน บุคลากร และชุมชนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน
ในพื้นที่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ
100.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์และบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
๖. ค่าใช้จ่าย
๖.๑ R มีค่าใช้จ่าย
โดยใช้เงิน
? เงินบำรุงการศึกษา
R งบประมาณที่กรุงเทพมหานครจัดสรรให้
๖.๒ R เบิกวัสดุที่ได้รับจัดสรรจากงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลและงบ
กทม.
R ได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ จากกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมประมง
๗. ปัญหาและอุปสรรค
7.1 พื้นที่สำหรับการปลูกผักสวนครัวน้อยทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอกับปริมาความต้องการของบุคลากรนักเรียนและผู้ปกครอง
7.2 ผู้ปกครองบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจในการบริโภคและไม่ให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องจึงทำให้นักเรียนบางคนมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม
7.3
เกิดภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
และการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด 19) ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียนไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติ
๘. แนวทางที่ได้ดำเนินการแก้ไข
8.1. ครูนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรมาถ่ายทอดให้กับนักเรียน เช่น
การปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน กิจกรรมการปลูกพืชแบบสวนแนวตั้งและกิจกรรมการเพาะเมล็ดงอก
ได้แก่ ถั่วงอก ต้นอ่อนทานตะวัน ต้นอ่อนผักบุ้ง ไควาเระ โต้เหมี่ยว การเพาะเลี้ยงเห็ด
ที่สอดคล้องกับชุมชนของนักเรียนทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้รูปแบบการทำเกษตรในชุมชนสังคมเมืองและใช้พื้นที่น้อย
เพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ
8.2
จัดกิจกรรมให้รณรงค์ความรู้และแนวทางในการออกกำลังกายที่ถูกต้องแก่นักเรียนและผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง
และเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ
8.3
รณรงค์
ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่วงที่เกิดภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM
2.5) และการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด 19)
8.4
จัดทำจุดคัดกรอง จัดหาหน้ากากอนามัย เจลหรือแอลกอฮอล์ล้างมือให้เพียงพอกับนักเรียน
ตรวจวัดอุณหภูมิ 3 เวลา
คือ เช้าก่อนเข้าโรงเรียน กลางวัน และตอนเลิกเรียน
2.5
จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
๙. ข้อเสนอแนะ
ครูนำกิจกรรมสนับสนุนโครงการ
ฯ มาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้