สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โรงเรียนธนาคารเพื่อการออม
โรงเรียนวัดพลมานีย์
กระบวนการพัฒนา

        ได้ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น ๕ ขั้นตอน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม ดังนี้

    ขั้นที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงเรียนธนาคารเพื่อการออม โดยมีการประชุม วางแผน หาแนวทาง ศึกษาบริบท สภาพปัญหาของโรงเรียน โดยการรับข้อมูล รับฟังข้อคิดเห็นจากครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีการสอบถามและเปิดโอกาสให้แสดงความเห็นถึงปัญหาและความต้องการ แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน

        ขั้นที่ 2.ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการดำเนินงานนำข้อมูลที่ได้รับจากทุกฝ่ายมาวิเคราะห์สภาพปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ และประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่อดีตเพื่อร่วมกันวางแผนและกำหนดแนวทางการดำเนินงานในอนาคต

        ขั้นที่ 3 ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันปฏิบัติ โดยพิจารณาเลือกแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม นำไปสู่การตัดสินใจในการปฏิบัติงานของโรงเรียน โดยใช้กระบวนการ PDCA นำข้อมูลที่ได้รับเข้าประชุมชี้แจง ระดม ความคิด เน้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพิจารณา ร่วมกันปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุ ตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด เริ่มตั้งแต่นำเสนอโครงการต่อผู้บริหารสถานศึกษา เพื่ออนุมัติโครงการ ติดต่อประสานงานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อเข้าร่วมโครงการ ประชาสัมพันธ์โครงการให้คณะครู บุคลากร ผู้ปกครอง ได้รับทราบ เปิดรับสมัครเจ้าหน้าที่ ธนาคารโรงเรียนฝ่ายนักเรียน จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการฝ่ายต่าง ๆ เชิญเจ้าหน้าที่ธนาคารมาให้เป็นพี่เลี้ยงคำแนะนำวิธีการดำเนินงานโรงเรียนธนาคาร พร้อมจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการโรงเรียนธนาคาร ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการดำเนินการ เปิดทำการรับสมัครสมาชิกโรงเรียนธนาคาร ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดย เปิดทำการในวันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี เวลา 07.00--07.50 น.และ 11.45--12.20 น. เปิดบัญชีขั้นต่ำ 50 บาท ฝากขั้นต่ำ 5 บาท มุ่งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรับผิดชอบ ด้านระเบียบวินัยให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่ให้ประสบการณ์ตรง

        ขั้นที่ 4 ใช้กระบวนการร่วมประเมินผล ตรวจสอบ ทบทวน และประเมินกระบวนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานและประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู ชุมชน นำผลการประเมินไปวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมให้ตรงกับความต้องการ แก้ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน เพื่อพัฒนางานต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

        ขั้นที่ 5 ขยายผลและเผยแพร่ผลงาน ความภาคภูมิใจในความสำเร็จของโครงการให้ผู้ปกครอง ชุมชมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และต่อโรงเรียนต่าง ๆ ได้ร่วมชื่นชม และรายงานผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นปีการศึกษา


ผลจากการปฏิบัติ

๑) ผู้เรียนมีนิสัยรักการออม คิดเป็นร้อยละ 95.60 และผู้เรียน ผู้ปกครอง ครู บุคลากร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมของโครงการโรงเรียนธนาคารเพื่อการออม คิดเป็นร้อยละ 98.40 สรุป ความสำเร็จของโครงการ คิดเป็นร้อยละ 97.43

        ๒) ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านการประหยัด มัธยัสถ์ และซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย รู้จักการวางแผนการใช้เงิน มีประสบการณ์จริงในการฝากเงิน และการทำงาน มีทักษะชีวิต สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

        ๓) โรงเรียนธนาคารของโรงเรียนวัดพลมานีย์ ได้รับความเชื่อถือ เชื่อมั่นจากผู้ปกครอง การดำเนินงานของโรงเรียนมีความถูกต้อง เชื่อถือ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ระบบการทำงานถูกต้องตามระบบของธนาคาร

        ๔) โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านการเงิน


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]