สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การบูรณาการแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตแบบพอเพียงในเด็กปฐมวัย
โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
กระบวนการพัฒนา

    1 กลุ่มเป้าหมายในการนำ Best Practice ไปใช้ (ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทและจำนวน กลุ่มเป้าหมาย) เป็นเด็กชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม จำนวน 91 คน

      2 ขั้นตอนการพัฒนา Best Practice การดำเนินงาน

          2.1 ประชุมรับทราบ วางแผนการดำเนินงาน

          2.2 เสนอโครงการ

          2.3 ประชุมชี้แจงแนวการดำเนินงาน

          2.4 ดำเนินงานตามขั้นตอน

          2.5 สรุปผลการดำเนินงาน

กระบวนการปฏิบัติ

             ขั้นที่ 1 สำรวจแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติในโรงเรียน

             ขั้นที่ 2 รวบรวมรายชื่อแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติในโรงเรียน

             ขั้นที่ 3 ศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ

             ขั้นที่ 4 การนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

             ขั้นที่ 5 ศึกษาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาตินอกโรงเรียน

             ขั้นที่ 6 สรุปความรู้ร่วมกัน และนำความรู้ของเด็กมาพัฒนาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

      3 การตรวจสอบคุณภาพ Best Practice (ระบุวิธีการและผลการตรวจสอบคุณภาพที่ได้) โดยใช้แบบบันทึกการสังเกต และแบบสอบถามจากผู้ปกครอง

     4 แนวทางการนำ Best Practice ไปใช้ประโยชน์ จากการสอนบูรณาการแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตแบบพอเพียงในเด็กปฐมวัยนั้น ทำให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านอย่างสมบูรณ์ ได้แก่ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้าน สติปัญญา เด็กปรับตัวเข้ากับธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์จนทำให้รู้สึกตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ รักษ์สิ่งแวดล้อมรอบตัว รักธรรมชาติเด็กได้สังเกต ทดลอง สัมผัสกับธรรมชาติและดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข เมื่ออยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง และเด็กนำความรู้มาพัฒนาต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


ผลจากการปฏิบัติ

        1 ผลสำเร็จเชิงปริมาณ เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ และนำผลมาพัฒนาต่อยอดปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันร้อยละ 95

        2 ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้านอย่าง ได้แก่ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เรียนรู้จากของจริง การสัมผัสกับธรรมชาติ การทดลอง การสังเกตด้วยตัวเอง ทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้ได้รวดเร็ว เพราะเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก ตลอดเวลา

      ด้านร่างกาย เด็กมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ใหญ่ จากการเดินสำรวจ วิ่งเล่น และ สัมผัส หิน ดิน ทราย ต้นไม้และธรรมชาติรอบตัวของเด็ก ออกกำลังกายสนุกกับธรรมชาติรอบตัวของเด็ก คิดเป็นร้อยละ 85.80

     ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีความสุขกับบรรยากาศที่ครูจัดกิจกรรมและธรรมชาติรอบตัว จากการสัมผัสธรรมชาติ ชื่นชมความสวยงามของผลงานตัวเอง ฟังเพลงที่กระตุ้นคลื่นสมองของเด็ก การสัมผัส การโอบกอดด้วยความรักทำให้เด็กรู้สึกมีความมั่นคง มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 86.31    

    ด้านสังคม เด็กกล้าแสดงออก สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ  84.16

    ด้านสติปัญญา เด็กสามารถรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ดีขึ้น มีพัฒนาการทักษะการ สังเกตสิ่งรอบตัว การฟัง การสัมผัส การรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัว ทางด้านมิติสัมพันธ์ เกิดการเรียนรู้จากนามธรรมเป็นรูปธรรมผ่านการบูรณาการแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติได้ดีขึ้น มีพัฒนาการด้านภาษาเพิ่มมากขึ้น ทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้ได้เร็วขึ้น คิดเป็นร้อยละ  83.78

        3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ Best Practice (ระบุค่าร้อยละของความพึงพอใจจากผู้เกี่ยวข้องและ วิธีการได้มาเกี่ยวกับข้อมูลความพึงพอใจ)ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องและร่วมกิจกรรม Best Practice นี้ อยู่ในระดับดีมาก 97% ระดับดี 3% โดยคิดจากแบบสอบถาม

        7.4 ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนา Best Practice / ประสบการณ์เรียนรู้จากการนำ Best Practice ไปใช้วิธีการ ได้มาเกี่ยวกับข้อมูลความพึงพอใจ

           7.4.1 ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะเป็นผู้นำ ให้คำปรึกษาและสนับสนุน

           7.4.2 คณะครูให้การสนับสนุนและร่วมใจกันทำงาน

           7.4.3 ผู้ปกครอง สามารถนำกระบวนการบูรณาการแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติไปปรับใช้ที่บ้านได้ เพราะบ้านเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ของเด็ก สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กสามารถสร้างให้เกิดการเรียนรู้ได้ ทั้งนั้นเช่น ให้เด็กช่วยรดน้ำต้นไม้ และปลูกพืชผักสวนครัวไว้ทานเองที่บ้าน จึงทำให้ผลการดำเนินงาน ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

           7.4.4 เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เรียนรู้จากของจริง การสัมผัส การทดลอง สังเกตด้วยตัวเอง ทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้ได้เร็ว เพราะเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กและอยู่กับเด็กตลอดเวลา จึงทำให้ผลการดำเนินประสบความสำเร็จ

           7.4.5 ครูมีการประเมินพัฒนาการและปรับปรุงผลงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง