วิธีการปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ Best Practice “โรงเรียนสองภาษา Bilingual Thai – English”
1. ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.1 ศึกษาข้อมูลการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนสองภาษา
1.2 ประชุม ปรึกษา สำรวจความพร้อมและความประสงค์เข้าร่วมโครงการ
1.3 ดำเนินการทำเอกสารประชาสัมพันธ์ต่อผู้ปกครอง
1.4 ศึกษาดูงานโรงเรียนสองภาษาที่เปิดมาก่อน
1.5 พัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนตามโครงการสองภาษา
1.6 ผู้บริหารควบคุม นิเทศ กำกับ ติดตาม
1.7 คณะครูรายงานผลการดำเนินงาน และประเมินผล อย่างต่อเนื่อง
2. ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน
2.1 ศึกษาข้อมูลการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนสองภาษา (Bilingual
Thai –English)
ตามนโยบายการจัดการศึกษาของสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
2.2 ประชุมผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา
คณะกรรมการเครือข่าย คณะครู
เพื่อสำรวจความพร้อมและความประสงค์ในการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนสองภาษา (Bilingual
Thai –English) สรุปผลและจัดทำรายงาน
2.3 จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ
และสำรวจความเห็นและความสนใจเข้าร่วมเรียนในโครงการโรงเรียนสองภาษา (Bilingual
Thai –English)
ต่อผู้ปกครองและชุมชน สรุปผลและจัดทำรายงาน
2.4 ศึกษาดูงานโรงเรียนสองภาษา (Bilingual Thai –English) และจัดทำแผนงานโครงการสองภาษา และพัฒนาบุคลากรและอาคารสถานที่
สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการการศึกษาโรงเรียนสองภาษา
(Bilingual Thai –English)
2.5 พัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
โปรแกรมสองภาษา (Bilingual Thai –English)
ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ศิลปะ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) และภาษาอังกฤษ จัดทำแผนการสอน สื่อ และกำหนด
เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการเรียน
2.6 เสนอเรื่องขอเข้าร่วมโครงการโรงเรียนสองภาษา
(Bilingual
Thai –English) ต่อสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
2.7 เตรียมพร้อมการประเมินเข้าร่วมโครงการโรงเรียนสองภาษา(Bilingual
Thai –English) จากสำนักการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
2.8 รับการประเมินเข้าร่วมโครงการโรงเรียนสองภาษา(Bilingual Thai –English)
2.9 ดำเนินโครงการโรงเรียนสองภาษา(Bilingual Thai –English)ตามแผนงานโครงการโรงเรียนสองภาษา โดยแต่ละปีการศึกษามีกิจกรรมเสริมหลักสูตร๒กิจกรรม การพัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษ Phonic ( word Family)ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 และ EP English Camp ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5
กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เป็นเลิศ
1.การพัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษ Phonic
( word Family)ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5
การปฏิบัติ
1. สอนเรื่องพยัญชนะ สระ
การผสมคำ โดยแยกแยะให้นักเรียนรู้เกี่ยวกับตัวอักษรภาษาอังกฤษว่ามีทั้งหมดเท่าไร
แบ่งรูปการเรียนออกเป็นกี่ชนิด และแต่ละชนิดใช้สำหรับอะไร
2. สอนการถอดเสียงสระและพยัญชนะโดยอักษรภาษาอังกฤษเมื่อนำมาใช้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม1 กลุ่มที่เป็นพยัญชนะ 21 ตัว(มีเสียงพยัญชนะ 24 เสียง) กลุ่ม 2 กลุ่มที่เป็นสระ มี 5 ตัว คือ A E I O U (มีเสียงสระ
20 เสียง) รวมแล้วตัวอักษรภาษาอังกฤษมี 26 ตัว และสอนการถอดเสียง เป็นพยัญชนะก่อน
ต่อจากนั้นจึงถอดเสียงสระทีหลัง
3.สอนการออกเสียงสระภาษาอังกฤษและวิธีใช้สระในภาษาอังกฤษที่มีอยู่ทั้งหมด 5 ตัว
4.สอนการอ่านสะกดคำโดยใช้
Word Family List
5. ผู้สอนจัดทำ Word Family List Chart ให้นักเรียนฝึกอ่านที่โรงเรียน และทำสมุดคำศัพท์ให้นักเรียนไปอ่านที่บ้าน
6. ฝึกและทดสอบการอ่านคำศัพท์ในชั่วโมง Activity ทุกๆสัปดาห์ นำสู่การจัดกิจกรรมการแข่งขันเล่นเกมสะกดคำศัพท์ กิจกรรม Spelling bee Contest
ขั้นตอนดำเนินกิจกรรมพัฒนา
Phonic
1.
*ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษในห้องเรียนและการหาทางแก้ไข
2.
*สอนเรื่องพยัญชนะ
สระ การผสมคำ การออกเสียง การถอดเสียงสระและพยัญชนะ
*จัดทำ Word Family List และสอนการสะกดคำ
3.
*ฝึกและทดสอบการอ่านคำศัพท์
ใน Word Family List
*จัดทำแบบฝึกเสริมบทเรียนให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการอ่าน
4.
*ขยายผลการฝึกกิจกรรมไปสู่ห้องเรียนสามัญ
*นำสู่การจัดกิจกรรมการแข่งขัน Spelling Bee Contestจากการเรียนรู้เทคนิค
การอ่าน สะกดคำโดยใช้ Word Family
ผลการดำเนินงาน / ผลสำเร็จที่ดีเด่น
1. ผลการดำเนินงานจากผลการดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนมีความสามารถทางภาษาอังกฤษ ดังนี้
1.1 ความสามารถด้านการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนดีขึ้น
1.2 ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและให้ความร่วมมือกับ โรงเรียน
1.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
1.4 นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านภาษาอังกฤษ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยี
1.5 ผู้ปกครองให้ความมั่นใจ พึงพอใจในการจัดการศึกษาของห้องเรียนสองภาษาจากการสมัครสอบมาเพิ่มมากขึ้นของทุกปี
1.6 คณะครูและบุคลากรช่วยสอนชาวต่างชาติมีความตั้งใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2.ความคาดหวังในปีการศึกษาต่อๆไปนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ทักษะคือทักษะการฟัง(Listening Skill) ทักษะการพูด (Speaking Skill) ทักษะการเขียน(Writing Skill) และทักษะด้านการเขียน(Writing Skill) ได้ดีสัมพันธ์กันของแต่ละระดับชั้น และผู้ปกครองเห็นความสำคัญและสามารถทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมที่บ้านได้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโครงการโรงเรียนสองภาษา ปีการศึกษา ๒๕๖๑
โรงเรียนวัดดอนเมือง(ทหารอากาศอุทิศ) หลักสูตร ไทย-อังกฤษ( ข้อสอบกลาง)
ระดับชั้น/จำนวน |
รายวิชา |
รวม ร้อยละ |
เฉลี่ย ร้อยละ |
เกรด |
||||
1 คณิตศาสตร์ (ร้อยละ) |
2 วิทยาศาสตร์ (ร้อยละ) |
3 ภาษาอังกฤษ (ร้อยละ) |
4 สุขศึกษา (ร้อยละ) |
5 ศิลปะ (ร้อยละ) |
||||
ป.1 35 คน |
82.28 |
81.28 |
77.90 |
61.57 |
71.71 |
734.74 |
74.94 | 3 |
ป.2 30 คน |
75.71 |
68.77 |
88.33 |
74.50 |
79.50 |
386.21 |
77.24 |
3 |
ป.3 31 คน |
91.50 |
73.54 |
92.47 |
65.00 |
81.29 |
403.80 |
80.76 |
4 |
ป.4 35 คน |
68.95 |
63.04 |
75.52 |
51.71 |
54.28 |
313.50 |
62.70 |
3 |
ป.5 33คน |
70.30 |
59.59 |
64.24 |
39.84 |
50.51 |
224.27 |
56.85 |
2 |
รวม |
388.14 |
346.22 |
398.46 |
292.22 |
337.06 |
|
||
เฉลี่ย ร้อยละ |
77.62 |
69.24 |
79.69 |
58.52 |
67.41 |
|||
เกรด |
3 |
3 |
3 |
2 |
3 |
จุดเด่นและภาพความสำเร็จด้านภาษาอังกฤษของโรงเรียน
ด้านผู้บริหาร
1. ให้ความสนใจในการบริหารจัดการให้บรรลุตามหลักสูตรสองภาษาอย่างใกล้ชิด
ติดตามการดำเนินงาน
และมีมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโดยตลอด
2. ส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพของนักเรียนให้มีความรู้ด้านวิชาการภาษาต่างประเทศและสามารถใช้
ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. พัฒนาครูให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพโดยเน้นผลสัมฤทธิ์
ของผู้เรียนเป็นหลัก
ด้านครูผู้สอนคนไทย
1. มีการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตรสองภาษา
ติดตามการจัดการเรียนการสอนของครู
ชาวต่างประเทศและให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมต่างๆจนลุล่วงด้วยดี
2. ครูมีความตั้งใจในด้านการสอน
เอาใจใส่นักเรียน ดูและนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพในการการเรียนทั้ง
ภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ด้านครูผู้สอนชาวต่างประเทศ
1. มีความรู้ความสามารถในด้านการสอนนักเรียนในภาคภาษาอังกฤษได้ดี
2. มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสนับสนุนการสอนเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศของนักเรียน
ด้านนักเรียน
1. นักเรียนส่วนใหญ่มีความพร้อมในการเรียนตามหลักสูตรสองภาษามีความรับผิดชอบในการทำงาน
2. นักเรียนสนใจในกิจกรรมที่จัดขึ้นและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี
ด้านผู้ปกครอง
1. มีส่วนร่วมในการสนับสนุน
ด้านกิจกรรมต่างๆของกลุ่มสองภาษา มีการประสานงานโดยเครือข่าย
ผู้ปกครองที่ชัดเจน
2. ผู้ปกครองส่วนใหญ่ดูแลเอาใจใส่และให้ความช่วยเหลือในด้านการเรียนของนักเรียนดี