กระบวนการและขั้นตอนตามกระบวนการปฏิบัติการ
(PAOR)
ขั้นที่ ๑ ขั้นวางแผน
(Plan)
๑. ประชุมและวางแผนการดำเนินงาน
๒. จัดทำแผนพัฒนาทักษะและความสามารถของผู้เรียนทางด้านดนตรีไทย
ขั้นที่ ๒ ขั้นปฏิบัติ
(Action)
๑. สำรวจผู้เรียนที่สนใจพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีไทย
๒. ทดสอบความสามารถของผู้เรียนทางด้านดนตรีไทย
๓. ทำการฝึกซ้อมตามตารางที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีไทย
๔. คุณครูประจำชั้น ประจำวิชา มีส่วนช่วยในการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านดนตรีไทย
ขั้นที่ ๓ ขั้นสังเกตการณ์
(Observation)
๑. ส่งเสริมผู้เรียนได้แสดงออกในความสามารถและความมีสุนทรียภาพทางด้านดนตรีไทยในช่วงพักกลางวัน และช่วงเย็นหลังเลิกเรียน
๒. จัดการนิเทศการแสดงของผู้เรียนภายในโรงเรียน
๓. นำผลที่ได้จากการนิเทศไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงการจัดกิจกรรม
ขั้นที่ ๔ ขั้นสะท้อนผลงาน
(Reection)
๑. รายงานผลการพัฒนาตามแผนที่ได้ออกแบบไว้
๒. จัดกิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนได้แสดงออกในความสามารถและความมีสุนทรียภาพทางด้านดนตรีไทยในวันสำคัญต่างๆ
ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
๓. ยกย่องชมเชยครู/นักเรียน
๔. เผยแพร่ผลงานครู/นักเรียน
ผลที่ปรากฏแก่นักเรียน
๑.
ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีความรู้จากประสบการณ์จริงมากยิ่งขึ้น
๒.
ผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในการร่วมกิจกรรมต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง
๓.
ผู้เรียนมีสุนทรียภาพด้านดนตรี ส่งผลให้ผู้เรียนมีอารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
ห่างไกลจากยาเสพติด
๔.
ผู้เรียนได้รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์และมีโอกาสประสบความสำเร็จในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และเกิดความชื่นชมยินดีต่อความสำเร็จนั้นๆ
ผลที่ปรากฏแก่ครู
๑.
ครูได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
๒.
ครูได้รับการพัฒนาความรู้ สร้างความตระหนัก ในการนำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
มาใช้ในการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น
ผลต่อการบริหารวิชาการ
๑.
กิจกรรมและโครงการต่างๆ ภายในโรงเรียนถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
๒.
มีการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมและท้องถิ่น และสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน