1. คัดกรองนักเรียนและแบ่งกลุ่มนักเรียน
1) ประเมินทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยครูผู้สอนวิชาภาษาไทย และครูประจำชั้น
2)
แบ่งกลุ่มนักเรียน
ตามผลการประเมินจากแบบคัดกรอง
เพื่อเป็นแนวทางแก้ไข และพัฒนาการอ่านและการเขียนด้วย
วิธีการและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละกลุ่ม โดยครูผู้สอนภาษาไทย
2. กำหนดกิจกรรมการพัฒนารายกลุ่ม เป็นการกำหนดวิธีการและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่ม เพื่อฝึกทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนให้เหมาะสมมากขึ้น
กลุ่มที่ 1 นักเรียนอ่านคล่อง / เขียนคล่อง
- อ่านนิทาน / บทความ / หนังสือ สรุปบันทึกผลจากการอ่าน
- เขียนตามคำบอกทั้งแบบเป็นคำและเป็นประโยค
- อ่านหนังสือให้ญาติผู้ใหญ่ฟัง
กลุ่มที่ 2 นักเรียนอ่านไม่คล่อง / เขียนไม่คล่อง
- อ่านนิทาน / บทความ / หนังสือ กับเพื่อนหรือครู บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านบันทึกลงในแบบบันทึกการอ่าน
- เขียนตามคำบอกทั้งแบบเป็นคำและเป็นประโยคสั้น ๆ
- อ่านหนังสือให้ญาติผู้ใหญ่ฟัง
กลุ่มที่ 3 นักเรียนอ่านไม่ออก / เขียนไม่ได้
- อ่านใบงานที่กำหนดเป็นรายบุคคล กับครู
- เขียนตามคำบอกจากคำที่ให้อ่านเป็นคำง่าย ๆ ที่ไม่ซับซ้อน
- อ่านหนังสือกับครู / เพื่อน ทุก ๆ วันอย่างน้อยวันละ 5 – 10 บรรทัด
- ศึกษาพัฒนาการ เปลี่ยนแบบฝึกการอ่านที่ยากขึ้นตามลำดับ
- อ่านหนังสือให้ญาติผู้ใหญ่ฟัง
- ซ่อมเสริมการอ่านเป็นรายบุคคลนอกเวลาเรียน
3. ดำเนินการพัฒนาการอ่าน การเขียน ตามกิจกรรมตามที่กำหนดตลอดปีการศึกษา
(C: ขั้นติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล)
4. ประเมินผลการอ่านการเขียนของนักเรียน เพื่อดูพัฒนาการ การอ่านและการเขียนของนักเรียน
- พัฒนาการของนักเรียน ( ดูจากผลกการประเมินการอ่านคล่อง เขียนคล่อง รายเดือน)
- แบบสรุปพัฒนาการของนักเรียน
- แบบบันทึกการการอ่าน / การเขียนของนักเรียน
- ผลสัมฤทธิ์ การเรียนภาษาไทยและกลุ่มสาระ อื่น ๆ ของนักเรียน
5. รวบรวมสรุปผลข้อมูลเพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
- นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านการเขียนดีขึ้นกว่าเดิม
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพัฒนาขึ้น
(A: ขั้นพัฒนา แก้ไข / ปรับปรุง)
นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไข โดยตรวจสอบกิจกรรมที่ควรปรับปรุง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้แก่ ปรับวิธีการที่ให้พ่อแม่ช่วยเหลือการเรียนของลูก / จัดให้มีกิจกรรมพี่ช่วยน้องในปีต่อไป ฯลฯ
1.
ผลการดำเนินงาน
1.1
ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
1)
ความสามารถด้านภาษาไทยด้านการอ่านการเขียนของ ทุกคน
ได้รับการพัฒนาจากการจัดกิจกรรมตามที่กำหนดครอบคลุมทุกกิจกรรม
2)ผลกการประเมินการอ่านคล่อง เขียนคล่อง รายเดือน มีผลการพัฒนา
1.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน
1)
ความสามารถด้านภาษาไทยด้านการอ่านการเขียนของนักเรียน สูงขึ้น
1.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
1) คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนมีคุณภาพสูงขึ้น
2) เสริมสร้างความสามัคคี ความร่วมมือในหมู่คณะครู ผู้บริหาร และผู้ปกครองนักเรียน
2. บทเรียนที่ได้รับ
2.1
การดำเนินงานที่เป็นระบบจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนที่ยั่งยืน
2.2 การดำเนินกิจกรรมต้องอาศัยปัจจัยหลายประการที่สำคัญคือ
ปัจจัยด้านบุคลากรในโรงเรียน
2.3
การดำเนินกิจกรรมที่บรรลุผลสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่าย
2.4
ผู้ปกครองนับเป็นเครือข่ายการพัฒนาที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน
3. ปัจจัยความสำเร็จ
3.1 ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและเอาใจใส่กับการดำเนินงาน
3.2 การดำเนินกิจกรรมมีเวลาที่เพียงพอ
3.3 บุคลกรทุกคนให้ความทุ่มเทในการดำเนินกิจกรรม
3.4 การร่วมกิจกรรมของนักเรียนมีความพร้อมทุกครั้ง
4.
การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
1.
จัดนิทรรศการเผยแพร่แก่นักเรียน ครูในโรงเรียน
2.
ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบของสารสัมพันธ์ของโรงเรียนให้ผู้ปกครองทราบ
3.
แจ้งคณะกรรมการสถานศึกษาในที่ประชุม
4.จัดนิทรรศการวิชาการแสดงผลงานนักเรียน
ในกิจกรรมนิทรรศการวิชาการเครือข่ายโรงเรียนที่ 36
ปีการศึกษา 2563 ณ โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา ในวันที่ 25-26 มีนาคม 2564 โดยมีการประกวดโครงงานนักเรียนประกวดครูผู้สอนดีเด่นกลุ่มสาระการเรียนรู้
ครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน ครูผู้ผลิตสื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้