กระบวนการปฏิบัติการบูรณาการแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตแบบพอเพียงในเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 1. สำรวจแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติในโรงเรียน โดยสำรวจสิ่งแวดล้อมธรรมชาติต่างๆในโรงเรียนตามความสนใจของเด็ก
ขั้นที่ 2. รวบรวมรายชื่อแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติในโรงเรียน ได้แก่ ห้องเรียนธรรมชาติ สวนพืชผักสวนครัว สวนสมุนไพร บ่อเลี้ยงปลา
ขั้นที่ 3. ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ รู้จักการสังเกต เปรียบเทียบ วิเคราะห์เห็นความแตกต่าง รู้ถึงความหลากหลาย
ขั้นที่ 4. การนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน โดยการจัดประสบการณ์จริง ฝึกให้คิดเป็น แก้ปัญหาเป็นและลงมือกระทำด้วยตนของเด็กเอง
ขั้นที่ 5. ศึกษาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาตินอกโรงเรียน การนำเด็กไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น วัดใกล้โรงเรียน แหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ขั้นที่ 6. สรุปผลความรู้ร่วมกัน และนำความรู้ของเด็กมาพัฒนาต่อยอด โดยเด็กปลูกพืชผักสวนครัวเอง
ขั้นที่ 7. ตรวจซ้ำเพื่อพัฒนาปรับปรุง Best Practice ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง
1. ผลสำเร็จเชิงปริมาณ เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ได้เรียนรู้แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและนำผลมาพัฒนาต่อยอดปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันร้อยละ 95
2. ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ด้านร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 92 ด้านอารมณ์ - จิตใจ คิดเป็นร้อยละ 91 ด้านสังคม คิดเป็นร้อยละ 94 ด้านสติปัญญาคิดเป็นร้อยละ 91
ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 97